Development of Monitoring and Surveillance System on Marketing of Unhealthy Products
dc.contributor.author | นงนุช ใจชื่น | th_TH |
dc.contributor.author | Nongnuch Jaichuen | en_US |
dc.contributor.author | ธนพันธ์ สุขสอาด | th_TH |
dc.contributor.author | Thanaphan Suksa-ard | en_US |
dc.contributor.author | ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Siriwan Pitayarangsarit | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-06-28T02:51:35Z | |
dc.date.available | 2019-06-28T02:51:35Z | |
dc.date.issued | 2562-06 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 13,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2562) : 204-219 | th_TH |
dc.identifier.issn | 26729415 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5074 | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการศึกษาสถานการณ์ระบบการควบคุมการทำการตลาดของผลิตภัณฑ์ที่มีผลเสียต่อสุขภาพ ซึ่งมีอยู่ 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์ด้วยกัน คือ อาหารทั่วไป ผลิตภัณฑ์ทดแทนนมแม่ ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ช่องว่างและโอกาสในการพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ ใช้วิธีการทบทวนวรรณกรรมและการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทำการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ถึงปี พ.ศ. 2560 จากฐานข้อมูลองค์กรทั้งภาคนโยบาย ภาควิชาการและภาคประชาสังคม รวมทั้งใช้ Google search engine ส่วนการสัมภาษณ์นั้น ได้คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากภาคนโยบาย วิชาการและประชาสังคม จากนั้นวิเคราะห์เนื้อหาโดยใช้เกณฑ์การเฝ้าระวังของศูนย์พัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์แผนงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค ผลการศึกษาพบว่า จุดจัดการระบบการติดตามเฝ้าระวังการทำการตลาดของแต่ละผลิตภัณฑ์มีการทำงานทั้งเชิงรุกและเชิงรับเหมือนกัน แต่การมีส่วนร่วมของภาคส่วนอื่นแตกต่างกัน โดยด้านอาหารนั้น ขาดเครือข่ายภาคประชาสังคมและภาควิชาการในการเข้ามามีส่วนร่วมหรือมีบทบาทในการติดตามเฝ้าระวังฯ ในด้านเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ได้มีการประสานความร่วมมือเพื่อติดตามเฝ้าระวังฯ กับหน่วยงานรัฐนอกกระทรวงสาธารณสุข เช่น สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในด้านยาสูบมีการดำเนินงานเฝ้าระวังฯ หลายหน่วยงานแต่ขาดจุดจัดการภาพรวม ส่วนในด้านอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กนั้น เพิ่งจะมีระบบติดตามฯ ดังนั้น จึงควรมีการติดตามและประเมินระบบการติดตามฯ ว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การคุ้มครองผู้บริโภค | th_TH |
dc.subject | การส่งเสริมการขาย--การควบคุม | th_TH |
dc.subject | อาหาร--มาตรการความปลอดภัย | th_TH |
dc.title | การพัฒนาระบบเฝ้าระวังการตลาดของผลิตภัณฑ์ที่มีผลเสียต่อสุขภาพ | th_TH |
dc.title.alternative | Development of Monitoring and Surveillance System on Marketing of Unhealthy Products | en_US |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Monitoring and surveillance system of unhealthy products marketing is a part of the study on the situation of unhealthy products marketing control. Unhealthy products of this study included food, breast milk substitutes, tobacco and alcoholic beverage. The objective of this study was to analyze the gaps of and opportunities for monitoring and surveillance system of unhealthy products marketing. Literature review and interview with the stakeholders were undertaken. Searches were conducted through government, academia, and civil society database from 2012 to 2017 via Google search engine. Purposive sampling was used to select the key informants from government agencies, academia, and civil society for interview. Framework of analysis was the guideline of surveillance system of the Center for Policy Development, and Non-Communicable Disease Control Strategy Program, Department of Disease Control. The study found similar monitoring and surveillance systems including active and passive monitoring systems for all 3 types of products (except breast milk substitutes), but had different participations from other sectors. The control of food marketing lacked participation from academia, and civil society. Monitoring and surveillance system of alcohol marketing did not collaborate with other ministries such as the National Broadcasting and Telecommunication Commission, Ministry of Digital Economy and Society. Monitoring and surveillance system of tobacco marketing had many actors but with no coordinating agency. Monitoring and surveillance system of unhealthy products marketing including marketing of infant and baby food was recently set up. Therefore, there should be further evaluation on efficiency of these monitoring and surveillance systems. | en_US |
.custom.citation | นงนุช ใจชื่น, Nongnuch Jaichuen, ธนพันธ์ สุขสอาด, Thanaphan Suksa-ard, ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ and Siriwan Pitayarangsarit. "การพัฒนาระบบเฝ้าระวังการตลาดของผลิตภัณฑ์ที่มีผลเสียต่อสุขภาพ." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5074">http://hdl.handle.net/11228/5074</a>. | |
.custom.total_download | 1109 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 22 | |
.custom.downloaded_this_year | 273 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 71 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ