ช่วงเวลา เหตุผล และปัจจัยในการเริ่มต้นนมผงช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด
dc.contributor.author | นิศาชล เศรษฐไกรกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Nisachol Cetthakrikul | en_US |
dc.contributor.author | กิติพร ทัพศาสตร์ | th_TH |
dc.contributor.author | Kitiporn Tupsart | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-06-28T03:39:22Z | |
dc.date.available | 2019-06-28T03:39:22Z | |
dc.date.issued | 2562-06 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 13,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2562) : 220-233 | th_TH |
dc.identifier.issn | 26729415 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5076 | |
dc.description.abstract | ช่วง 6 เดือนแรกของชีวิตเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ทารกควรได้กินนมแม่อย่างเดียวเพื่อให้ทารกได้รับประโยชน์และภูมิคุ้มกันสูงสุดจากน้ำนมของแม่ อย่างไรก็ตาม มีเด็กจำนวนมากได้กินนมผงในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาช่วงเวลา เหตุผลและปัจจัยที่ทำให้แม่ตัดสินใจเสริมนมผงให้แก่ทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน การศึกษานี้เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม โดยเก็บข้อมูลจากแม่และผู้ดูแลหลักของทารกและเด็กเล็กอายุ 0 - 3 ปี จำนวน 1,147 คน ที่เข้ามาใช้บริการที่แผนกเด็กสุขภาพดีและคลินิกเด็กในโรงพยาบาลรัฐและเอกชนทั่วประเทศ และนำเสนอข้อมูลลักษณะประชากรเป็นสถิติร้อยละ เพื่อแสดงข้อมูลสถานการณ์ และเหตุผลในการเริ่มต้นนมผงช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด และใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบทวิ (binary logistic regression) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในการเริ่มต้นนมผงช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด ผลการศึกษาสรุปได้ว่า เด็กร้อยละ 64.8 มีแม่เป็นผู้ดูแลหลักและทารกและเด็กเล็กร้อยละ 78.2 มีผู้ดูแลหลักคนเดียวตั้งแต่แรกเกิด มีเพียงร้อยละ 21.8 เท่านั้นที่มีการเปลี่ยนผู้ดูแลหลัก โดยสาเหตุหลักที่มีการเปลี่ยนผู้ดูแลหลักนั้น เนื่องจากแม่ซึ่งเป็นผู้ดูแลหลักคนเดิมต้องกลับไปทำงานหรือกลับไปเรียน ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มที่มีการเปลี่ยนผู้ดูแลหลักจากแม่เป็นคนอื่น พบว่า ยังมีแม่ถึงร้อยละ 67.6 ที่ได้อยู่กับลูกทุกวัน สำหรับการศึกษาช่วงเวลาและสาเหตุที่เด็กเริ่มกินนมผงก่อน 6 เดือน พบว่า เมื่อพิจารณาเป็นช่วงเวลาจะพบว่าเด็กเริ่มได้กินนมผงตั้งแต่วันแรกหลังคลอด เท่ากับร้อยละ 24.1 ซึ่งในเดือนแรกหลังคลอดมีเด็กได้เริ่มกินนมผงสะสมร้อยละ 44.5 โดยสาเหตุที่สำคัญที่สุดของการให้นมผงเสริมคือ การที่แม่คิดว่าตนเองมีน้ำนมไม่พอและการที่แม่ต้องกลับไปทำงาน/เรียน เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยการเริ่มนมผงในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอดพบว่า ทารกหรือเด็กเล็กที่มีแม่ที่มีระดับการศึกษาสูงหรืออยู่ในครอบครัวที่มีเศรษฐฐานะดีมีแนวโน้มที่จะกินนมผงก่อนอายุครบ 6 เดือน แต่ถ้าเด็กเล็กนั้นมีแม่เป็นผู้ดูแลหลัก ก็จะมีแนวโน้มที่จะกินนมผงน้อยกว่า นอกจากนี้ โอกาสที่ทารกและเด็กเล็กจะได้กินนมผงในช่วงก่อนอายุครบ 6 เดือน ยังมีความเกี่ยวข้องกับความตั้งใจของแม่ในช่วงตั้งครรภ์ที่จะให้ลูกกินนมผง และเกี่ยวข้องกับการเป็นลูกคนแรกของแม่ด้วย | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | th_TH |
dc.subject | การเลี้ยงลูก | th_TH |
dc.subject | Breast Milk | th_TH |
dc.subject | นมผง | th_TH |
dc.title | ช่วงเวลา เหตุผล และปัจจัยในการเริ่มต้นนมผงช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด | th_TH |
dc.title.alternative | When, Why and What Factors of Initiating Breast Milk Substitutes in the First 6 Months | en_US |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Exclusive breastfeeding is the most appropriate food for under-6-months old infants. However, some of them received infant formula during this first period of life. While previous studies focused on barriers to exclusive breastfeeding, this study examined when, why and what factors of initiation of breast milk substitutes (BMS) in the first 6 months. This study was quantitative research. Data were collected through a questionnaire from 1,147 mothers and caregivers of children under 3 years old at well-baby clinics in public and private hospitals. Characteristics of the sample, first exposure and reasons were presented using descriptive analysis. Factors of breast milk substitute initiation were analyzed by using binary logistic regression. The analysis used SPSS version 18. The study presented that most infants started breast milk substitutes in the first day after birth (24.1 percent), and in the first month, there was 44.5 percent of infants fed formula because mothers believed that “mothers’ breast milk was insufficient” and “mothers had to return to work or study”. The results of binary logistic regression illustrated that “education level of mothers” and “family-economic status” as well as “changing main caregivers” and “the negative attitude on breastfeeding” were associated with formula feeding before reaching 6 months. | en_US |
dc.subject.keyword | Breast Milk Substitutes | th_TH |
.custom.citation | นิศาชล เศรษฐไกรกุล, Nisachol Cetthakrikul, กิติพร ทัพศาสตร์ and Kitiporn Tupsart. "ช่วงเวลา เหตุผล และปัจจัยในการเริ่มต้นนมผงช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5076">http://hdl.handle.net/11228/5076</a>. | |
.custom.total_download | 1330 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 19 | |
.custom.downloaded_this_year | 336 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 66 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ