แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การพัฒนาความฉลาดด้านสุขภาพของผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ จังหวัดอุตรดิตถ์ (ระยะที่ 1)

dc.contributor.authorผาสุข แก้วเจริญตาth_TH
dc.contributor.authorPhasuk Kaewcharoentaen_US
dc.contributor.authorธวัชชัย นาคสนองth_TH
dc.contributor.authorTawatchai Naksanongen_US
dc.contributor.authorสุวพิชญ์ ซ้อมจันทราth_TH
dc.contributor.authorSuvapit Somjantraen_US
dc.date.accessioned2019-08-06T02:41:08Z
dc.date.available2019-08-06T02:41:08Z
dc.date.issued2561-12
dc.identifier.otherhs2507
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5087
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความฉลาดทางสุขภาพและกรณีศึกษาเกษตรกรผู้ผลิตแบบอินทรีย์ เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้สารเคมี ความเสี่ยงต่อการได้รับสารเคมีและความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคในการผลิตและบริโภคอาหารจากผลผลิตเกษตรอินทรีย์ของประชาชนและพัฒนาแนวทางการให้ความรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพให้กับเกษตรกรผู้ผลิตอินทรีย์ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยรายงานผลการศึกษาครั้งนี้ อยู่ในระยะที่ 1 ในขั้นตอนการศึกษาสถานการณ์ปัญหาและกำหนดแนวทางในการออกแบบการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพให้กับเกษตรกร ผลการศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางสุขภาพของเกษตรกรด้านการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ในขั้นพื้นฐานและขั้นการมีปฏิสัมพันธ์ อยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ความฉลาดทางสุขภาพระดับขยายผลในภาพกว้างอยู่ในระดับน้อย ความสัมพันธ์ของระดับการศึกษากับความรู้เรื่องการป้องกันตนเองของเกษตรกรมีความสัมพันธ์ไปในทางเดียวกันทั้งในเรื่องการป้องกันตนเอง ไม่เห็นด้วยกับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.00 มีพฤติกรรมการป้องกันตนเองที่ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 การศึกษามีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสุขภาพของเกษตรกรที่ผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ โดยพบว่า เกษตรกรที่มีระดับการศึกษาสูงจะมีความฉลาดทางสุขภาพสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.00 การอบรมการใช้สารเคมีมีความสัมพันธ์กับความรู้เรื่องการป้องกันตนเองของเกษตรกรโดยพบว่า กลุ่มที่เคยอบรมจะมีความรู้ที่ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.00 การอบรมการใช้สารเคมีมีความสัมพันธ์กับทัศนคติของเกษตรกรต่อการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.005 การศึกษามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองของเกษตรกรต่อการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.001 การอบรมการใช้สารเคมีไม่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสุขภาพของเกษตรกรด้านการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ อายุ มีความสัมพันธ์ทางลบกับความรู้เรื่องการป้องกันตนเองของเกษตรกร ทัศนคติของเกษตรกรต่อการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและความฉลาดทางสุขภาพของเกษตรกรด้านการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ ที่ค่าสัมประสิทธ์ p < .01 รายได้ ไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้เรื่องการป้องกันตนเองของเกษตรกรและความฉลาดทางสุขภาพของเกษตรกรด้านการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์และมีความสัมพันธ์ต่ำมากกับทัศนคติของเกษตรกรต่อการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและพฤติกรรมการป้องกันตนเองของเกษตรกร ที่ค่าสัมประสิทธิ์ p<.01 ปัจจัยหนุนเสริมและพัฒนาการการสร้างความฉลาดของเกษตรกรผู้ผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ประกอบด้วย บริบทสังคม ความเชื่อ ทัศนคติ อายุ การแสวงหาความรู้ การฝึกอบรม สื่อ/หนังสือ การรับรู้ประโยชน์ต่อครอบครัวและต่อสุขภาพ การมีเครือข่ายเรียนรู้ การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ โดยข้อเสนอแนวทางการให้ความรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อพัฒนาความฉลาดด้านสุขภาพของผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ ควรมีการสนับสนุนชุดความรู้และการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ตามประเภทของการผลิต สนับสนุนความรู้และทักษะด้านการบริหารจัดการ สร้างระบบรับรองคุณภาพ การสนับสนุนจากภาครัฐ การจัดตั้งเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ในระดับตำบล การจำหน่าย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Literacyen_US
dc.subjectความรอบรู้ทางสุขภาพth_TH
dc.subjectเกษตรอินทรีย์th_TH
dc.subjectOrganic Fooden_US
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการพัฒนาความฉลาดด้านสุขภาพของผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ จังหวัดอุตรดิตถ์ (ระยะที่ 1)th_TH
dc.title.alternativeThe Development of Health Literacy of Producers Organic Food, Uttaradit Province. (Phase 1)en_US
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study was to assess health literacy and case studies of organic producers to evaluated changes in a chemical behavior risk of chemical exposure, and responsibility to consumers in the production and consumption of food from people's organic produce, and develop guidelines for educating changing behavior in order to develop health literacy for organic farmers. The study is an action research and reporting the results in phase 1 of the process and determining guidelines for the development of health intelligence for farmers The study was found that : The average score of health literacy of farmers in the production of agro-based production in basic and interactions at a moderate level, while the level of health literacy was at a low level The relationship of educational level and knowledge of self-protection of farmers is related in the same way both in self-protection. Disagree with the use of pesticide chemicals at statistical significance of 0.00 with better self-protection behaviors with statistically significant at 0.05. The study was related to the health literacy of the farmers producing the form Organic agriculture, which found that farmers with higher education levels had higher health intelligence than statistically significant at 0.00 Chemical use training has a relationship with the knowledge of self-protection of farmers. The group that used to train will have better knowledge with statistically significant significance at 0.00. Training on chemical use has a relationship with the attitude of farmers towards the use of pesticides. With statistical significance at 0.005. The study was related to the self-protection behavior of the farmers on the use of pesticides with statistically significance at 0.001. Training on chemical use had no relationship with literacy Farmers' health in the production of organic agriculture has a negative relationship with Knowledge of self-protection of farmers. The attitude of farmers towards the use of pesticides and chemicals. Health literacy of farmers in organic production with the value of the coefficient p <.01. The revenue is not related to knowledge of self-protection of farmers and health literacy of farmers in organic production and has a very low relationship with farmers' attitudes towards the use of pesticides and self-protection behaviors of farmers where the coefficient p <.01. The factors and the development of literacy building of organic farmers, consisting of social context, beliefs, attitudes, age, knowledge seeking, media training / books, awareness of family benefits and health, learning network Support from government agencies by proposing guidelines for educating and changing behavior to develop health literacy of organic producers. There should be support for knowledge sets and potential development of farmers. According to the type of production Support knowledge and management skills Build quality certification system Government support Establishment of an organic agricultural network at the sub-district level.en_US
dc.identifier.callnoW84.1 ผ381ก 2561
dc.identifier.contactno61-033
dc.subject.keywordความฉลาดด้านสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordความรอบรู้ด้านสุขภาพth_TH
.custom.citationผาสุข แก้วเจริญตา, Phasuk Kaewcharoenta, ธวัชชัย นาคสนอง, Tawatchai Naksanong, สุวพิชญ์ ซ้อมจันทรา and Suvapit Somjantra. "การพัฒนาความฉลาดด้านสุขภาพของผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ จังหวัดอุตรดิตถ์ (ระยะที่ 1)." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5087">http://hdl.handle.net/11228/5087</a>.
.custom.total_download251
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year11
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2507.pdf
ขนาด: 1.368Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย