Show simple item record

Effect of Rational Drug Use Policy on Antibiotic Prophylaxis Use in Normal Vaginal Delivery in Mahasarakham Hospital

dc.contributor.authorชุติมาภรณ์ ไชยสงค์th_TH
dc.contributor.authorChutimaporn Chaiyasongen_US
dc.contributor.authorพิริยา ติยาภักดิ์th_TH
dc.contributor.authorPiriya Tiyapaken_US
dc.contributor.authorสุภาพร สุภาทวีวัฒน์th_TH
dc.contributor.authorSupaporn Supathaweewaten_US
dc.contributor.authorศราวุธ มิทะลาth_TH
dc.contributor.authorSarawut Mithalaen_US
dc.contributor.authorสุรศักดิ์ ไชยสงค์th_TH
dc.contributor.authorSurasak Chaiyasongen_US
dc.date.accessioned2019-09-26T07:47:20Z
dc.date.available2019-09-26T07:47:20Z
dc.date.issued2562-09
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 13,3 (ก.ค. - ก.ย. 2562) : 261-270th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5114
dc.description.abstractภูมิหลังและเหตุผล: กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ “การใช้ยาปฏิชีวนะในหญิงคลอดปกติครบกำหนดทางช่องคลอด” เป็นตัวชี้วัดหนึ่งของแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาการใช้ยาอย่างสมเหตุผล โดยมีเป้าหมายคือ อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะไม่เกินร้อยละ 10 ในการนี้ โรงพยาบาลมหาสารคามได้ดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าวตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 โดยได้จัดการประชุมชี้แจง กำหนดเป้าหมาย กำหนดแนวทางปฏิบัติ และติดตามประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานตามนโยบายฯ ต่ออัตราการใช้ยาปฏิชีวนะ มูลค่าการใช้ยาปฏิชีวนะ อัตราการติดเชื้อในหญิงคลอดปกติฯ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพต่อไป ระเบียบวิธีศึกษา: ทำการศึกษาแบบย้อนหลังโดยใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และการทบทวนเวชระเบียนของหญิงคลอดปกติฯ ระหว่างเดือนตุลาคม 2558 – เมษายน 2561 ในโรงพยาบาลมหาสารคาม โดยอัตราการใช้ยาและมูลค่าการใช้ยาปฏิชีวนะนั้น เก็บข้อมูลจากฐานข้อมูล 43 แฟ้ม ส่วนอัตราการติดเชื้อแผลฝีเย็บ เก็บข้อมูลจากแบบบันทึกการเข้านอนโรงพยาบาลซ้ำของแผนกสูตินรีเวชกรรม และรูปแบบการใช้ยาปฏิชีวนะช่วงหลังการดำเนินงาน เก็บข้อมูลโดยทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยในเดือนตุลาคม 2560 – เมษายน 2561 เปรียบเทียบอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะ มูลค่าการใช้ยาปฏิชีวนะ และอัตราการติดเชื้อระหว่างช่วงก่อน (ตุลาคม 2558 – ตุลาคม 2559) และหลังการดำเนินงาน (พฤศจิกายน 2559 – เมษายน 2561) ด้วย Mann-Whitney U test และประเมินผลของนโยบายด้วย segmented regression of interrupted time-series analysis ผลการศึกษา: เมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการดำเนินงาน อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะและมูลค่าการใช้ยาปฏิชีวนะในหญิงคลอดปกติฯ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่ามัธยฐานของอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะรายเดือนเท่ากับร้อยละ 100 vs ร้อยละ 13.2, p<0.001, ค่ามัธยฐานของมูลค่าการใช้ยาปฏิชีวนะต่อเดือน เท่ากับ 8,368 บาท vs 1,328 บาท, p<0.001) ส่วนอัตราการติดเชื้อแผลฝีเย็บไม่แตกต่างกัน (ค่ามัธยฐาน ร้อยละ 0 vs ร้อยละ 0, p=0.222) ผลการดำเนินงานตามนโยบายทำให้อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะลดลง -82.1% (95%CI: -87.3 to -76.9, p<0.001) และมูลค่าการใช้ยาปฏิชีวนะต่อเดือนลดลง -6,663.2 บาท (95%CI:-8,396.7 to -4,929.8, p<0.001) แต่ไม่ทำให้อัตราการติดเชื้อแผลฝีเย็บเฉลี่ยต่อเดือนเปลี่ยนแปลงไป (0.063%, 95%CI: -0.280 to 0.406, p=0.709) ในการทบทวนเวชระเบียนของหญิงคลอดปกติฯ ทั้งหมด 721 คน พบว่า มีการใช้ยาปฏิชีวนะ 45 คน (ร้อยละ 6.2) เหตุผลของการใช้ยาปฏิชีวนะส่วนใหญ่คือ มีแผลฉีกขาดระดับ 3-4 (14 คน, ร้อยละ 31.1) โดยยาปฏิชีวนะที่ใช้บ่อยที่สุดคือ Amoxycillin และ Cefazolin สรุปและข้อเสนอแนะ: การดำเนินงานตามนโยบายการใช้ยาปฏิชีวนะในหญิงคลอดปกติฯ ทำให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลมากขึ้น ส่งผลให้อัตราและมูลค่าการใช้ยาปฏิชีวนะของโรงพยาบาลลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยไม่ทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายจากการติดเชื้อเพิ่มขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการใช้ยาอย่างสมเหตุผลth_TH
dc.subjectPostnatal careth_TH
dc.subjectการดูแลหลังคลอดth_TH
dc.subjectการใช้ยาth_TH
dc.subjectDrug Utilizationth_TH
dc.subjectยาต้านจุลชีพth_TH
dc.subjectAntimicrobialth_TH
dc.titleผลการดำเนินงานตามนโยบายการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในหญิงคลอดปกติ โรงพยาบาลมหาสารคามth_TH
dc.title.alternativeEffect of Rational Drug Use Policy on Antibiotic Prophylaxis Use in Normal Vaginal Delivery in Mahasarakham Hospitalen_US
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground & Rationale: Ministry of Public Health introduced “antibiotic use in vaginal delivery of normal term labor” as an indicator of rational drug use (RDU) service plan with target goal of not more than 10% use. Mahasarakham Hospital implemented this RDU policy in October 2016 via meetings, setting a goal and practice guideline together with regular monitoring and evaluation. The objective of the present study was to examine effects of the RDU policy on antibiotic use, expenditure on antibiotic and infection rate after implementing the policy among vaginal delivery of normal term labor in Mahasarakham Hospital. Methodology: A retrospective study was conducted using hospital data of vaginal delivery of normal term labor during October 2015 to April 2018. Antibiotic use and expenditure were obtained from the 43-file standard dataset. Infection rate was collected from readmission record of obstetrics and gynecology department. Patterns of antibiotic use after implementing the policy were investigated from medical record reviews between October 2017 and April 2018. Mann-Whitney U test was performed to compare antibiotic use rate and expenditure and infection rate between before (October 2015 – October 2016) and after (November 2016 – April 2018) policy implementation. Segmented regression of interrupted time-series analysis was applied to examine policy effects. Results: Comparing before and after policy implementation, the antibiotic use rate and expenditure were declined significantly (median antibiotic use rate: 100% vs 13.2%, p<0.001 and median expenditure per month: 8,368 baht vs 1,328 baht, p<0.001). The infection rates were not significantly different (median: 0% vs 0%, p=0.222). From time-series analysis, the policy significantly decreased antibiotic use rate (-82.1%, 95%CI: -87.3 to -76.9, p<0.001) and decreased monthly-expenditure of antibiotic use (-6,663.2 baht, 95%CI: -8,396.7 to -4,929.8, p<0.001) but no effects on infection rate by month (0.063%, 95%CI: -0.280 to 0.406, p=0.709). From chart review of 721 vaginal normal deliveries, 45 women (6.2%) used antibiotics. The major reason of antibiotic use was the 3rd - 4th degree tear (14 women, 31.11%). Amoxycillin and Cefazolin were mostly used antibiotics. Conclusion: The findings of this study indicate that implementation of the RDU policy significantly reduced antibiotic use and expenditure and did not increase infection rate. The policy could improve rational use of antibiotic prophylaxis in vaginal delivery of normal term labor.en_US
.custom.citationชุติมาภรณ์ ไชยสงค์, Chutimaporn Chaiyasong, พิริยา ติยาภักดิ์, Piriya Tiyapak, สุภาพร สุภาทวีวัฒน์, Supaporn Supathaweewat, ศราวุธ มิทะลา, Sarawut Mithala, สุรศักดิ์ ไชยสงค์ and Surasak Chaiyasong. "ผลการดำเนินงานตามนโยบายการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในหญิงคลอดปกติ โรงพยาบาลมหาสารคาม." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5114">http://hdl.handle.net/11228/5114</a>.
.custom.total_download3297
.custom.downloaded_today4
.custom.downloaded_this_month51
.custom.downloaded_this_year485
.custom.downloaded_fiscal_year101

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v13n ...
Size: 404.1Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

Show simple item record