Show simple item record

Alcohol Drinking and Provincial Alcohol Problem Index (PAPI) in Thailand: The 2017 Survey

dc.contributor.authorอธิบ ตันอารีย์th_TH
dc.contributor.authorAthip Tanareeth_TH
dc.contributor.authorพลเทพ วิจิตรคุณากรth_TH
dc.contributor.authorPolathep Vichitkunakornth_TH
dc.date.accessioned2019-12-25T04:00:12Z
dc.date.available2019-12-25T04:00:12Z
dc.date.issued2562-12
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 13,4 (ต.ค. - ธ.ค. 2562) : 353-367th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5128
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์และปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เป็นรายภูมิภาคและรายจังหวัด โดยใช้ค่าดัชนีความเสี่ยงต่อปัญหาแอลกอฮอล์รายจังหวัด (Provincial Alcohol Problem Index, PAPI) ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มสุราของประชากร (สพบส.) พ.ศ. 2560 ซึ่งใช้แบบแผนการสุ่มตัวอย่างแบบ 2 ขั้นตอน (stratified 2-stage sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 120,003 คน วิเคราะห์ข้อมูลแบบถ่วงน้ำหนัก นำเสนอเป็นค่าร้อยละและค่าดัชนีความเสี่ยงต่อปัญหาแอลกอฮอล์รายจังหวัด ซึ่งคำนวณจาก 5 ประเด็นสถานการณ์แอลกอฮอล์ในแต่ละจังหวัดเทียบกับค่าเฉลี่ยของประเทศ มีค่าอยู่ระหว่าง 0 (ความเสี่ยงต่ำที่สุด) ถึง 1 (ความเสี่ยงสูงที่สุด) ผลการศึกษาพบว่า ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความชุกของนักดื่มทั้งในกลุ่มผู้ใหญ่ (ร้อยละ 35.4 และ 32.8 ตามลำดับ) และกลุ่มวัยรุ่น (ร้อยละ 19.0 และ 16.8 ตามลำดับ) สูงกว่าภูมิภาคอื่น ส่วนภาคกลางและภาคใต้มีสัดส่วนของการดื่มประจำและดื่มหนักสูงกว่าภูมิภาคอื่น จังหวัดที่มีดัชนีความเสี่ยงต่อปัญหาจากการดื่มแอลกอฮอล์สูงที่สุด ได้แก่ ลำปาง (0.72 คะแนน) เชียงราย (0.69 คะแนน) พิษณุโลก (0.65 คะแนน) จันทบุรี (0.64 คะแนน) และสุโขทัย (0.63 คะแนน) ดังนั้น สรุปได้ว่าปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย โดยมีความหลากหลายของประเด็นปัญหาที่สำคัญในแต่ละพื้นที่ โดยพื้นที่ที่ควรมีการแก้ไขโดยด่วน ได้แก่ จังหวัดลำปางและเชียงราย รวมถึงภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งการแก้ไขปัญหาแอลกอฮอล์ควรประกอบด้วยการสร้างกลไกขับเคลื่อนตามประเด็นปัญหาในระดับท้องถิ่น ร่วมกับการผลักดันเชิงนโยบายในระดับประเทศth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectAlcoholth_TH
dc.subjectเครื่องดื่มแอลกอฮอล์th_TH
dc.subjectสุราth_TH
dc.titleสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และดัชนีความเสี่ยงต่อปัญหาแอลกอฮอล์ของจังหวัดในประเทศไทย: ข้อมูลการสำรวจ พ.ศ. 2560th_TH
dc.title.alternativeAlcohol Drinking and Provincial Alcohol Problem Index (PAPI) in Thailand: The 2017 Surveyth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study was to report drinking patterns and alcohol-related health risks using Provincial Alcohol Problem Index (PAPI) of Thai population by region and province. Data from the 2017 Cigarette Smoking and Alcohol Drinking Behavior Survey, a stratified two-stage random sampling to select 120,003 Thai participants aged 15 years and over, were analyzed using descriptive statistics. The prevalence was estimated by weighted proportion and presented at national, regional and provincial levels. A composite PAPI score, ranging from 0-1, was also calculated to represent a relative level of alcohol risk problem in each province. At regional level, the Northern and Northeastern regions had the highest prevalence of adult (35.4% and 32.8%, respectively) and adolescent drinkers (19.0% and 16.8%, respectively), while the Central and Southern regions had the highest proportions of regular to heavy drinkers and drink driving. Provinces with the highest PAPI score were scattered in the Northern and Central regions, including Lampang (0.72 point), Chiang Rai (0.69 point), Phitsanulok (0.65 point), Chantaburi (0.64 point) and Sukhothai (0.63 point). This study showed that alcohol use and related problems remained significant health issues in Thailand with a diversity of specific problems that needed to be prioritized in each local area. Lampang, Chiang Rai, Northern, and Northeastern regions should urgently consider these issues. These hence warrant comprehensive measures targeting both establishment of local community actions and national alcohol policies.th_TH
.custom.citationอธิบ ตันอารีย์, Athip Tanaree, พลเทพ วิจิตรคุณากร and Polathep Vichitkunakorn. "สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และดัชนีความเสี่ยงต่อปัญหาแอลกอฮอล์ของจังหวัดในประเทศไทย: ข้อมูลการสำรวจ พ.ศ. 2560." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5128">http://hdl.handle.net/11228/5128</a>.
.custom.total_download9042
.custom.downloaded_today2
.custom.downloaded_this_month161
.custom.downloaded_this_year1401
.custom.downloaded_fiscal_year402

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v13n ...
Size: 330.5Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

Show simple item record