Show simple item record

Study of Lactation Consultant’s Services in Health Facilities in Thailand

dc.contributor.authorนิศาชล เศรษฐไกรกุลth_TH
dc.contributor.authorNisachol Cetthakrikulen_EN
dc.contributor.authorชมพูนุท โตโพธิ์ไทยth_TH
dc.contributor.authorChompoonut Topothaien_EN
dc.date.accessioned2019-12-25T06:59:40Z
dc.date.available2019-12-25T06:59:40Z
dc.date.issued2562-12
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 13,4 (ต.ค. - ธ.ค. 2562) : 368-382th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5129
dc.description.abstractพยาบาลนมแม่เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และในการสนับสนุนให้เด็กได้รับอาหารที่เหมาะสมตามวัย เนื่องจากพยาบาลนมแม่เป็นบุคลากรหลักที่ให้การช่วยเหลือแม่เมื่อประสบปัญหาเกี่ยวกับการให้นมลูก พร้อมทั้งให้ความรู้ สอนทักษะ เสริมสร้างเจตคติที่ดี และช่วยสร้างความมั่นใจเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประสบความสำเร็จ สถานพยาบาลในประเทศไทยมีการมอบหมายให้พยาบาลวิชาชีพทำหน้าที่พยาบาลนมแม่ โดยให้บริการประจำที่คลินิกนมแม่ ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการให้บริการของพยาบาลนมแม่ งานวิจัยนี้จึงสนใจที่จะศึกษาสถานการณ์การให้บริการของพยาบาลนมแม่ในสถานพยาบาลของประเทศไทยในประเด็นต่างๆ ประกอบด้วยประเด็นบทบาทและขอบเขตการให้บริการของพยาบาลนมแม่ องค์ความรู้ที่จำเป็นและคุณสมบัติของพยาบาลนมแม่ ปัญหาที่พบจากการทำงานของพยาบาลนมแม่และแนวทางการพัฒนาศักยภาพของพยาบาลนมแม่ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 53 คน ที่เป็นพยาบาลนมแม่ซึ่งปฏิบัติงานในสถานพยาบาลทั้งรัฐและเอกชน เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสนทนากลุ่มและการตอบแบบสอบถามด้วยตัวเอง ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลนมแม่มีบทบาทหน้าที่หลักในการเป็นผู้ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ สร้างความเชื่อมั่นให้แก่หญิงตั้งครรภ์ แม่และครอบครัวเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เริ่มตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ต่อเนื่องจนถึงหลังคลอด โดยขอบเขตของการให้บริการจะเป็นการดูแลทางการพยาบาลที่ไม่มีหัตถการรุนแรง พยาบาลนมแม่จำเป็นต้องมีความรู้ที่กว้างขวาง ครอบคลุมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การใช้นมผสม ความรู้เรื่องโภชนาการของมารดาและเรื่องพัฒนาการของเด็ก นอกจากนี้ พยาบาลนมแม่จำเป็นต้องมีทักษะที่หลากหลายทั้งด้านการบริการ ด้านวิชาการ ด้านการสื่อสารและด้านการบริหารจัดการ พยาบาลนมแม่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พบปัญหาในการทำงานคล้ายคลึงกัน ได้แก่ การได้รับภาระงานเพิ่มเติม ความก้าวหน้าด้านอาชีพไม่ชัดเจน รวมทั้งการขาดองค์ความรู้ในเรื่องปัญหานมแม่ที่ซับซ้อน ซึ่งปัญหาในการทำงานเหล่านี้เป็นผลจากปัจจัยที่สำคัญได้แก่ นโยบายทั้งระดับประเทศและระดับหน่วยงาน ผู้บริหาร และเพื่อนร่วมงาน จากผลการศึกษานี้ มีข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาศักยภาพของพยาบาลนมแม่ คือ จัดทำนโยบายและการถ่ายทอดนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานพยาบาล วางระบบเพื่อพัฒนาศักยภาพของพยาบาลนมแม่พร้อมทั้งติดตามประเมินผลในระยะยาว และการสร้างเครือข่ายพยาบาลนมแม่th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่th_TH
dc.subjectการให้น้ำนมมารดาth_TH
dc.subjectน้ำนมมารดา--การเลี้ยงลูกth_TH
dc.subjectBreastfeedingth_TH
dc.subjectLactation Consultantth_TH
dc.titleสถานการณ์การให้บริการของพยาบาลนมแม่ในสถานพยาบาลของประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeStudy of Lactation Consultant’s Services in Health Facilities in Thailanden_EN
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeLactation consultant nurses play an important role in the promotion of breastfeeding practices and to ensure optimal age-appropriate feeding of children. Responsible for supporting mothers in overcoming breastfeeding difficulties, they also play a prominent role in providing knowledge, techniques and skills, as well as instructing mothers on appropriate behaviors and building confidence; the critical factors for successful breastfeeding. In Thailand, professional nurses assigned to lactation clinics in health facilities take on the role of a lactation consultant. To date, there have been no studies on service provisions and practices of lactation consultants in Thailand. This study aimed to understand the situation of lactation consultants working in health facilities, including their roles, knowledge and qualifications as well as the scope of services provided, the challenges faced, and recommendations for improving competency of lactation consultants. A qualitative study was conducted by collecting data from 53 lactation consultants working in public and private health facilities, through focus group discussions and self-administered questionnaires. The results found that lactation consultants had the primary role of providing knowledge and building confidence for pregnant women, mothers and families on breastfeeding, from pregnancy until post-partum period. Lactation consultants’ scope of work was to provide nursing care without invasive interventions which required extensive knowledge focusing on breastfeeding practices, infant formula, maternal nutrition and child development. In addition, they required skills of nursing services, academic and technical skills, as well as communication and administrative capabilities. The large majority of lactation consultants faced difficulties due to their heavy workload, career path uncertainties, and insufficient knowledge of complex breastfeeding complications. These problems were resulted from national and organizational policies, management and the work environment of lactation consultants. Based on these results, in order to improve the capacity of lactation consultants, well-defined national policies and policy implementation on the guidelines and promotion of breastfeeding practices in health facilities, as well as building a network for lactation consultants and developing a mechanism for long-term capacity building and monitoring are recommended.en_EN
dc.subject.keywordพยาบาลนมแม่th_TH
dc.subject.keywordคลินิกนมแม่th_TH
.custom.citationนิศาชล เศรษฐไกรกุล, Nisachol Cetthakrikul, ชมพูนุท โตโพธิ์ไทย and Chompoonut Topothai. "สถานการณ์การให้บริการของพยาบาลนมแม่ในสถานพยาบาลของประเทศไทย." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5129">http://hdl.handle.net/11228/5129</a>.
.custom.total_download3104
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month74
.custom.downloaded_this_year978
.custom.downloaded_fiscal_year182

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v13n ...
Size: 303.2Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

Show simple item record