แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

สัดส่วนเวลาการปฏิบัติงานของแพทย์เฉพาะทางโรงพยาบาลภาครัฐ กรณีศึกษา 8 โรงพยาบาล

dc.contributor.authorภาสกร สวนเรืองth_TH
dc.contributor.authorPassakorn Suanrueangth_TH
dc.contributor.authorอุทุมพร วงษ์ศิลป์th_TH
dc.contributor.authorUtoomporn Wongsinth_TH
dc.date.accessioned2019-12-25T07:19:59Z
dc.date.available2019-12-25T07:19:59Z
dc.date.issued2562-12
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 13,4 (ต.ค. - ธ.ค. 2562) : 428-441th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5134
dc.description.abstractการศึกษาสัดส่วนเวลาการปฏิบัติงานของแพทย์เฉพาะทาง ผู้ซึ่งปฏิบัติงานหลายหน่วยงานในสถานพยาบาลภายในประเทศไทย พบว่า หลักฐานที่มีการเผยแพร่เชิงประจักษ์ในเรื่องดังกล่าวนี้ยังมีน้อย ทั้งๆ ที่ข้อมูลสัดส่วนเวลาการปฏิบัติงานของแพทย์เฉพาะทางรายบุคคลนั้นมีความสำคัญ เพราะนอกจากจะเป็นข้อมูลสนับสนุนการบริหารจัดการบุคลากรของสถานพยาบาลแล้ว ยังเป็นข้อมูลเกณฑ์การกระจายต้นทุนในการศึกษาต้นทุนสถานพยาบาล เพื่อใช้กระจายต้นทุนส่วนที่เป็นค่าแรงและต้นทุนอื่นที่มีค่าแรงเป็นปัจจัยผลักดัน โดยเกณฑ์การกระจายต้นทุนค่าแรงดังกล่าวจะช่วยสะท้อนต้นทุนที่สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริงด้วย การศึกษานี้มุ่งวิเคราะห์สัดส่วนเวลาการปฏิบัติงานของแพทย์เฉพาะทาง โดยใช้ข้อมูลจากตารางการปฏิบัติงานของแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ และแบบสัมภาษณ์แพทย์และผู้ดูแลตารางการปฏิบัติงานของแพทย์จากสถานพยาบาลภาครัฐจำนวน 8 แห่ง ประกอบด้วย โรงพยาบาลศูนย์ 3 แห่ง โรงพยาบาลทั่วไป 3 แห่ง และโรงพยาบาลนอกสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 2 แห่ง (ขนาด 600 และ 1,000 เตียง) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า แพทย์แต่ละสาขาจะมีสัดส่วนการปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยใน มากเป็นอันดับหนึ่ง อยู่ในช่วงประมาณร้อยละ 33 - 36 รองลงมาคือห้องตรวจผู้ป่วยนอกและคลินิกต่างๆ อยู่ในช่วงประมาณร้อยละ 27 - 32 ด้านงานสอนแพทย์แต่ละสาขามีสัดส่วนเวลาการปฏิบัติงานไม่เกินร้อยละ 4.7 ยกเว้น กุมารแพทย์ร้อยละ 7.0 ด้านงานบริหารส่วนใหญ่จะมีสัดส่วนการปฏิบัติงานประมาณไม่เกินร้อยละ 4.0 สัดส่วนเวลาการปฏิบัติงานของแพทย์เฉพาะทาง เป็นดังนี้ โสต ศอ นาสิกแพทย์ outpatient department : operating room : inpatient department : งานสอน : งานบริหาร = 27.6 : 24.8 : 41.7 : 2.6 : 3.4 จักษุแพทย์ OPD : OR : IPD : งานสอน : งานบริหาร = 30.8 : 19.2 : 42.0 : 4.6 : 3.4 อายุรแพทย์ OPD : IPD : intensive care unit : งานสอน : งานบริหาร = 28.3 : 55.8 : 11.0 : 3.2 : 1.8 กุมารแพทย์ OPD : IPD : ICU : neonatal ICU : งานสอน : งานบริหาร = 32.6 : 33.8 : 10.4 : 14.3 : 7.0 : 1.9 สูตินรีแพทย์ OPD : OR : labor room : IPD : งานสอน : งานบริหาร = 30.4 : 15.3 : 17.4 : 33.1 : 2.7 : 1.1 ศัลยแพทย์ OPD : OR : IPD : ICU : งานสอน : งานบริหาร = 29.1 : 16.6 : 42.1 : 7.3 : 3.7 : 1.2 ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ OPD : OR : IPD : ICU : งานสอน : งานบริหาร = 17.6 : 19.2 : 52.9 : 6.9 : 2.4 : 1.0 วิสัญญีแพทย์ OPD : OR : ICU : งานวิสัญญี : งานสอน : งานบริหาร = 2.2 : 45.2 : 13.5 : 34.7 : 1.5 : 2.9 ข้อมูลที่ได้นี้ สามารถนำไปใช้เป็นเกณฑ์การกระจายต้นทุนค่าแรงในสถานพยาบาล และในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล รวมทั้งรูปแบบการศึกษานี้ ยังสามารถนำไปปรับใช้ในการศึกษาบุคลากรอื่นๆ ที่ทำงานหลายหน่วยงาน นอกเหนือจากวิชาชีพแพทย์ รวมทั้งยังสามารถใช้เป็นข้อมูลในการประมาณการความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพได้อีกด้วยth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectแพทย์เฉพาะทางth_TH
dc.subjectคุณภาพชีวิตการทำงานth_TH
dc.subjectบุคลากรทางการแพทย์th_TH
dc.subjectบุคลากรโรงพยาบาลth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสาธารณสุขth_TH
dc.titleสัดส่วนเวลาการปฏิบัติงานของแพทย์เฉพาะทางโรงพยาบาลภาครัฐ กรณีศึกษา 8 โรงพยาบาลth_TH
dc.title.alternativeA Time-Motion Study of Medical Specialists: a Case Study in Eight Public Hospitalsth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeThere have been little empirical evidences available on a time-motion study of medical specialists, the most vital human resources in Thailand. It is important to study the proportions medical specialist’s workloads working in multiple units in the hospitals for greater visibility of labor distribution and cost consistent with the actual work. The objective of the present study, therefore, was to describe the proportion of work distribution as well as their working patterns in many tasks of specialists in public hospitals. This would be beneficial for hospital cost allocation criteria. A purposive sampling was employed to select eight public hospitals consisting of 3 regional hospitals, 3 general hospitals of the Office of Permanent Secretary, and 2 hospitals of the Ministry of Public Health (with 600 and 1,000 beds). This study collected data from weekly and monthly work schedules and direct interviews with medical specialists. The data were analyzed by descriptive statistics. Overall, the medical specialists spent 33% to 36% of their time at inpatient department (IPD), followed by 27% to 32% at outpatient department (OPD) and special clinics. In case of medical teachings, the medical specialists spent no more than 4.7% of their total time, except pediatricians spent the highest 7.0% for teaching. The administrative task took the smallest proportion of no more than 4.0%. The propotion of time of each specialty was: otolaryngologists OPD : OR : IPD : teaching : administrative task = 27.6 : 24.8 : 41.7 : 2.6 : 3.3; ophthalmologists OPD : OR : IPD : teaching : administrative task = 30.8 : 19.2 : 42.0 : 4.6 : 3.4; internist OPD : IPD : ICU : teaching : administrative task = 28.3 : 55.8 : 11.0 : 3.2 : 1.7; pediatricians OPD : IPD : ICU : NICU : teaching : administrative task = 32.6 : 33.8 : 10.4 : 14.3 : 7.0 : 1.9, obstetricians and gynecologists OPD : OR : LR : IPD : teaching : administrative task = 30.4 : 15.3 : 17.4 : 33.1 : 2.7 : 1.1; surgeons OPD : OR : IPD : ICU : teaching : administrative task = 29.1 : 16.6 : 42.1 : 7.3 : 3.7 : 1.2; orthopedic surgeons OPD : OR : IPD : ICU : teaching : administrative task = 17.6 : 19.2 : 52.9 : 6.9 : 2.4 : 1.0; anesthesiologist OPD : OR : ICU : anesthesia : teaching : administrative task = 2.2 : 45.2 : 13.5 : 34.7 : 1.5 : 2.9. Proportions of work distribution in the present study may be used to assist decision makers in hospital cost allocation criteria and human resource management. Additionally, this methodology can be applied to other personnel who multitask and can be used to estimate the health workforce needs.th_TH
.custom.citationภาสกร สวนเรือง, Passakorn Suanrueang, อุทุมพร วงษ์ศิลป์ and Utoomporn Wongsin. "สัดส่วนเวลาการปฏิบัติงานของแพทย์เฉพาะทางโรงพยาบาลภาครัฐ กรณีศึกษา 8 โรงพยาบาล." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5134">http://hdl.handle.net/11228/5134</a>.
.custom.total_download1474
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month30
.custom.downloaded_this_year418
.custom.downloaded_fiscal_year69

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v13n ...
ขนาด: 268.6Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย