แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การประเมินความคุ้มค่าและความเป็นไปได้ของบริการตรวจเพทซีทีในประเทศไทย

dc.contributor.authorวิทธวัช พันธุมงคลth_TH
dc.contributor.authorWitthawat Pantumongkolen_US
dc.contributor.authorนิธิเจน กิตติรัชกุลth_TH
dc.contributor.authorNitichen Kittiratchakoolen_US
dc.contributor.authorดิศรณ์ กุลโภคินth_TH
dc.contributor.authorDisorn Kulpokinen_US
dc.contributor.authorสรายุทธ ขันธะth_TH
dc.contributor.authorSarayuth Khunthaen_US
dc.contributor.authorมณีโชติรัตน์ สันธิth_TH
dc.contributor.authorManeechotirat Santien_US
dc.contributor.authorณัฐกานต์ บุตราชth_TH
dc.contributor.authorพัทธรา ลีฬหวรงค์th_TH
dc.contributor.authorPattara Leelahavarongen_US
dc.contributor.authorจักรมีเดช เศรษฐนันท์th_TH
dc.contributor.authorChakmeedaj Sethanandhaen_US
dc.contributor.authorชนิสา โชติพานิชth_TH
dc.contributor.authorChanisa Chotipanichen_US
dc.contributor.authorเจษฎาพร พร้อมเที่ยงตรงth_TH
dc.contributor.authorChetsadaporn Promteangtongen_US
dc.contributor.authorอัญชิสา คุณาวุฒิth_TH
dc.contributor.authorAnchisa Kunawudhien_US
dc.contributor.authorดริส ธีระกุลพิศุทธิ์th_TH
dc.contributor.authorDaris Theerakulpisuten_US
dc.contributor.authorอินทิรา ยมาภัยth_TH
dc.contributor.authorInthira Yamabhaien_US
dc.date.accessioned2020-03-16T05:11:50Z
dc.date.available2020-03-16T05:11:50Z
dc.date.issued2562-12
dc.identifier.otherhs2545
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5179
dc.description.abstractรายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอโครงการประเมินความคุ้มค่าและความเป็นไปได้ของบริการตรวจเพทซีทีในประเทศไทย ซึ่งผ่านการมีส่วนร่วมจากหลายฝ่าย ทบทวนและอ้างอิงหลักฐานทางวิชาการ โดยมีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดยผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง คำนึงถึงความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของเทคโนโลยี มาตรการและบริการทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ที่มา: เครื่องเพทซีที (Positron emission tomography–computed tomography; PET/CT) เป็นเครื่องมือทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ที่ใช้เทคโนโลยีร่วมกันของเครื่อง PET (Positron Emission Tomography) และเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography; CT) ใช้ในการตรวจดูความผิดปกติของเซลล์ระดับเมตาบอลิซึม (metabolism) ซึ่งเป็นการถ่ายภาพทางด้านรังสีที่ตรวจวัดอนุภาคโพสิตรอนที่ปล่อยจากตัวผู้ป่วยหลังจากได้รับสารเภสัชรังสีเข้าไปในร่างกาย PET/CT เป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงในการตรวจวินิจฉัยโรคหลายข้อบ่งชี้ (indication) ในปัจจุบันข้อบ่งชี้ในการตรวจวินิจฉัยด้วย PET/CT ของประเทศไทยยังไม่เป็นมาตรฐานและมีข้อจำกัดในการพัฒนาเกณฑ์ข้อบ่งชี้ในประเทศไทยเนื่องจากเป็นเทคโนโลยีใหม่ ตลอดจนราคาในการตรวจต่อครั้งค่อนข้างสูงซึ่งผู้ป่วยไม่สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายจำนวนมากได้ ส่งผลให้จำนวนการตรวจน้อย อีกทั้งกรณีของโรคค่อนข้างหลากหลายทำให้ยากในการกำหนดมาตรฐานจึงได้มีการรวบรวมหลักฐานทางวิชาการที่แสดงข้อบ่งชี้อันเหมาะสมของการใช้ PET/CT จากต่างประเทศ นอกจากนี้ การจัดบริการการตรวจวินิจฉัยด้วย PET/CT จำเป็นต้องมีความพร้อมทั้งในด้านบุคลากรและเครื่องมือ (เครื่อง PET/CT และสารเภสัชรังสี) ปัจจุบันมีการให้บริการอยู่ในโรงเรียนแพทย์เป็นส่วนใหญ่ หากมีการส่งเสริมให้มีการเข้าถึงการตรวจวินิจฉัยด้วย PET/CT จำเป็นต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการจัดบริการในหลายมิติ ได้แก่ ความสามารถในการรองรับผู้ป่วย ความคุ้มค่าและภาระงบประมาณของการตรวจวินิจฉัยร่วมด้วย วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อประเมินความคุ้มค่าการตรวจเพทซีทีและความเป็นไปได้ในการกำหนดให้มีการจัดการเบิกจ่ายชดเชยการทำเพทซีทีเป็นการเพิ่มเติมจากการจ่ายชดเชยทั่วไปในหลักประกันสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนมีการเข้าถึงบริการได้ตามความจำเป็นอย่างมีคุณภาพ วิธีการศึกษา: การศึกษานี้ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการตรวจวินิจฉัยด้วยเพทซีที: กรณีศึกษาใน 3 โรค และส่วนที่ 2 การศึกษาต้นทุนและจุดคุ้มทุนของการใช้เครื่องเพทซีทีในประเทศไทยและศึกษาความเป็นไปได้ในการปฏิบัติการ ผลการศึกษาแบ่งเป็นสองส่วน ได้แก่ การศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการตรวจวินิจฉัยด้วยเพทซีที: กรณีศึกษาใน 3 ข้อบ่งชี้ ประกอบด้วย (1) การประเมินระยะโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กก่อนการรักษา (2) การประเมินระยะโรคในผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงที่มีการกลับคืนของโรค และ (3) การประเมินระยะโรคก่อนการรักษา ระหว่างการรักษาและหลังได้รับการรักษาครบในโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กินและการศึกษาต้นทุน จุดคุ้มทุนของการใช้เครื่องเพทซีทีในประเทศไทยและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติการ คณะผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการพัฒนาและเพิ่มการเข้าถึงการตรวจวินิจฉัยด้วยเพทซีทีใน 3 ข้อบ่งชี้ ตลอดจนใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนและจัดสรรทรัพยากรในระดับประเทศth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectMedical careth_TH
dc.subjectบริการทางการแพทย์th_TH
dc.subjectต้นทุนต่อหน่วยth_TH
dc.subjectUnit Costth_TH
dc.subjectเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.titleการประเมินความคุ้มค่าและความเป็นไปได้ของบริการตรวจเพทซีทีในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeEconomic evaluation and feasibility of PET/CT service in Thailanden_US
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoW74 ว578ก 2562
dc.identifier.contactno61-046
.custom.citationวิทธวัช พันธุมงคล, Witthawat Pantumongkol, นิธิเจน กิตติรัชกุล, Nitichen Kittiratchakool, ดิศรณ์ กุลโภคิน, Disorn Kulpokin, สรายุทธ ขันธะ, Sarayuth Khuntha, มณีโชติรัตน์ สันธิ, Maneechotirat Santi, ณัฐกานต์ บุตราช, พัทธรา ลีฬหวรงค์, Pattara Leelahavarong, จักรมีเดช เศรษฐนันท์, Chakmeedaj Sethanandha, ชนิสา โชติพานิช, Chanisa Chotipanich, เจษฎาพร พร้อมเที่ยงตรง, Chetsadaporn Promteangtong, อัญชิสา คุณาวุฒิ, Anchisa Kunawudhi, ดริส ธีระกุลพิศุทธิ์, Daris Theerakulpisut, อินทิรา ยมาภัย and Inthira Yamabhai. "การประเมินความคุ้มค่าและความเป็นไปได้ของบริการตรวจเพทซีทีในประเทศไทย." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5179">http://hdl.handle.net/11228/5179</a>.
.custom.total_download75
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2545.pdf
ขนาด: 8.883Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย