แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ทบทวนระบบส่งต่อผู้ป่วยมะเร็งของศูนย์รังสีวิทยา ภายใต้ความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลราชบุรี ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

dc.contributor.authorประพัฒน์ สุริยผลth_TH
dc.contributor.authorParpat Suriyapholth_TH
dc.date.accessioned2020-03-19T08:32:29Z
dc.date.available2020-03-19T08:32:29Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.otherhs2548
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5184
dc.description.abstractปัจจุบันการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาระบบหรือ e-health ซึ่งริเริ่มโดยองค์การอนามัยโลก ที่ต้องการใช้ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการให้บริการด้านสุขภาพและเชื่อมโยงระหว่างผู้ป่วยกับผู้ให้บริการด้านสุขภาพ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ครอบคลุมถึงการรับ-ส่งข้อมูลสุขภาพระหว่างหน่วยงานต่างๆ ระบบการส่งต่อโรงพยาบาลราชบุรีและโรงพยาบาลศิริราชมีข้อตกลงความร่วมมือในการกระบวนการส่งต่อผู้ป่วยรังสีรักษาเพื่อมารักษาที่โรงพยาบาลศิริราช จากการสัมภาษณ์แพทย์ เจ้าหน้าที่และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทั้งศูนย์รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลราชบุรี และภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นภาควิชาที่ดูแลรักษาผู้ป่วยที่ส่งต่อมาที่โรงพยาบาลศิริราช รวมถึงการประชุมปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญและศึกษาทบทวนเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง คณะผู้วิจัยได้ข้อสรุป พร้อมข้อเสนอแนะเพิ่มเติมดังนี้ กระบวนการส่งต่อผู้ป่วยของศูนย์รังสีรักษาและมะเร็งวิทยาเกิดจากความร่วมมือและทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกันเป็นระยะเวลานานของแพทย์และพยาบาลของทั้งสองหน่วยงาน มีการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการทำงาน จนได้กระบวนการปัจจุบันที่สามารถใช้งานได้อย่างราบรื่น และมีการนำเทคโนโลยีที่ใกล้ตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น การใช้โปรแกรม Line ในการส่งข้อความสื่อสารกัน แต่ยังมีบางประเด็นที่ทีมรักษาคิดว่าเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถเข้ามาช่วยได้ เช่น เรื่องการประสานงานระหว่างหน่วยงานและการติดต่อกับผู้ป่วยและญาติ การลงทะเบียนและการนัดหมายคนไข้ การติดตามข้อมูลผู้ป่วยจากสองหน่วยงาน การส่งข้อมูลภาพรังสี คณะผู้วิจัยได้ศึกษาเทคโนโลยีประกอบกับรูปแบบการใช้งานปัจจุบันของทีมรักษาและได้นำเสนอแผนการ Implement โดยนำเอามาตรฐาน HL7-FHIR และ DICOMWeb มาใช้เป็นพื้นฐานในการเข้าถึงและส่งต่อข้อมูลและนำเสนอเทคโนโลยี Web application และ Chatbot มาช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน แผนงานที่นำมาใช้ สามารถปรับและนำประยุกต์ใช้กับหน่วยงานอื่นๆ และขยายขอบเขตของงานไปนอกเหนือจากการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรังสีรักษาได้ในอนาคตth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectระบบส่งต่อผู้ป่วยth_TH
dc.subjectบริการทางการแพทย์th_TH
dc.subjectผู้ป่วย--บริการทางการแพทย์th_TH
dc.subjectผู้ป่วยมะเร็งth_TH
dc.subjectมะเร็งth_TH
dc.subjectCancerth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleทบทวนระบบส่งต่อผู้ป่วยมะเร็งของศูนย์รังสีวิทยา ภายใต้ความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลราชบุรี ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลth_TH
dc.title.alternativeThe review study of referral system in Radiation Therapy Center under collaboration between Ratchaburi Hospital and Siriraj hospitalth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoW84 ป516ท 2563
dc.identifier.contactno61-026
.custom.citationประพัฒน์ สุริยผล and Parpat Suriyaphol. "ทบทวนระบบส่งต่อผู้ป่วยมะเร็งของศูนย์รังสีวิทยา ภายใต้ความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลราชบุรี ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5184">http://hdl.handle.net/11228/5184</a>.
.custom.total_download86
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year12
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2548.pdf
ขนาด: 1.671Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย