แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่ได้รับการช่วยเหลือดูแลรักษาโดยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน

dc.contributor.authorพรรณารัฐ อร่ามเรืองth_TH
dc.contributor.authorPannarat Aramrerngen_US
dc.contributor.authorกรองกาญจน์ สุธรรมth_TH
dc.contributor.authorKrongkarn Suthamen_US
dc.contributor.authorบวร วิทยชำนาญกุลth_TH
dc.contributor.authorBorwon Wittayachamnankulen_US
dc.contributor.authorวีรพล แก้วแปงจันทร์th_TH
dc.contributor.authorWeerapont Kaewpaengchanen_US
dc.contributor.authorวิพุธ เล้าสุขศรีth_TH
dc.contributor.authorWiput Laosuksrien_US
dc.contributor.authorรัดเกล้า สายหร่ายth_TH
dc.contributor.authorRudklao Sairaien_US
dc.contributor.authorปริญญา เทียนวิบูลย์th_TH
dc.contributor.authorParinya Tianwiboolen_US
dc.date.accessioned2020-03-31T04:10:42Z
dc.date.available2020-03-31T04:10:42Z
dc.date.issued2563-03-31
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 14,1 (ม.ค. - มี.ค. 2563) : 43-50th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5188
dc.description.abstractภูมิหลังและเหตุผล ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากการบาดเจ็บจากการจราจรทางถนนสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สูงสุดถึง 32.7 คนต่อ 1 แสนประชากร จังหวัดเชียงใหม่มีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับที่ 5 ของประเทศ การจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อสามารถให้การดูแลรักษาตั้งแต่จุดเกิดเหตุ สามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตนอกโรงพยาบาลของผู้บาดเจ็บได้ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่ได้รับการช่วยเหลือดูแลรักษาโดยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ระเบียบวิธีศึกษา เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนาโดยเก็บข้อมูลการรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บที่ได้รับการช่วยเหลือดูแลรักษาโดยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล ซึ่งนำส่งมารักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จากฐานข้อมูลเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลจากฐานข้อมูลของภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และข้อมูลจากฐานข้อมูลของ Pan-Asian Resuscitation Outcome Study ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ผลการศึกษา ผู้บาดเจ็บหัวใจหยุดเต้นที่ได้รับการช่วยเหลือดูแลรักษาโดยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน จำนวน 45 ราย พบว่าเป็นเพศชายร้อยละ 75.5 อายุเฉลี่ย 30.7±14.8 ปี สาเหตุการบาดเจ็บส่วนใหญ่คืออุบัติเหตุจราจรร้อยละ 80.0 เป็นการบาดเจ็บชนิดที่ไม่มีบาดแผลฉีกขาด ร้อยละ 91.0 คลื่นไฟฟ้าหัวใจที่พบคือ pulseless electrical activity (PEA) และ asystole ร้อยละ 35.6 และไม่ทราบลักษณะของคลื่นไฟฟ้าหัวใจถึง ร้อยละ 62.2 มีชีพจรกลับมา ณ จุดเกิดเหตุ ร้อยละ 4.4 มีชีพจรกลับมาที่ห้องฉุกเฉิน ร้อยละ 55.6 รอดชีวิตที่ 24 ชั่วโมง ร้อยละ 22.2 รอดชีวิตจนสามารถกลับบ้าน ร้อยละ 15.5 รอดชีวิตและมีการทำงานของระบบประสาทสมองอยู่ในระดับดี (good cerebral performance category: CPC 1-2) ร้อยละ 11.1 การบาดเจ็บที่พบมากที่สุดคือการบาดเจ็บหลายระบบ (ร้อยละ 51.1) ซึ่งในกลุ่มนี้มีการรอดชีวิตที่ 24 ชั่วโมง ร้อยละ 21.7 มีผู้บาดเจ็บรอดชีวิตจนสามารถกลับบ้าน ร้อยละ 13.0 รอดชีวิตและมี CPC 1-2 ร้อยละ 8.7 การบาดเจ็บอวัยวะเดียวที่พบมากที่สุดคือการบาดเจ็บศีรษะพบ ร้อยละ 35.6 มีการรอดชีวิตภายใน 24 ชั่วโมง ร้อยละ 18.8 และมีผู้บาดเจ็บรอดชีวิตจนกลับบ้าน ร้อยละ 18.8 รอดชีวิตและมี CPC 1-2 ร้อยละ 12.5 โดยการบาดเจ็บที่ศีรษะเป็นกลุ่มที่มีการรอดชีวิตสูงสุด มีผู้บาดเจ็บได้รับการกดหน้าอกโดยผู้พบเหตุ 8 ราย ซึ่งมีชีพจรกลับมามากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการกดหน้าอกอย่างมีนัยสำคัญ (87.5 และ 48.6; p = 0.028) ผู้บาดเจ็บที่ได้รับการผ่าตัด (10 ราย) มีการรอดชีวิตจนสามารถกลับบ้านมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญ (50.0 และ 5.7; p = 0.003) สรุปผลการศึกษา: การกดหน้าอกโดยผู้พบเหตุเป็นปัจจัยที่ช่วยเพิ่มโอกาสการมีชีพจรกลับมา ในผู้บาดเจ็บหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่ได้รับการช่วยเหลือดูแลรักษาด้วยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน นอกจากนี้การผ่าตัดยังเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตจนได้กลับบ้านth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectบริการการแพทย์ฉุกเฉินth_TH
dc.subjectบริการทางการแพทย์th_TH
dc.subjectศีรษะบาดเจ็บth_TH
dc.subjectการช่วยชีวิตth_TH
dc.subjectEmergency Health Servicesth_TH
dc.subjectEmergency Medical Servicesth_TH
dc.titleการรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่ได้รับการช่วยเหลือดูแลรักษาโดยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินth_TH
dc.title.alternativeSurvival of Out-of-Hospital Cardiac Arrest of Traumatic Patients who Received Medical Care from Emergency Medical Service Systemen_US
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground and Rationale: Thailand had the highest road traffic mortality in South-east Asia at 32.7 out of every 100,000 people. Chiang Mai was the 5th ranking in Thailand. Emergency medical service system (EMS) can help reduce mortality of the injured patients outside hospitals. Objective: To study survival of out-of-hospital cardiac arrest (OHCA) of traumatic patients who received emergency medical care from EMS. Methodology: Retrospective descriptive study was conducted by collecting survival data from electronic medical record, forensic data and the Pan-Asian Resuscitation Outcome Study database from 1 January 2017 to 31 December 2018 recruiting OHCA traumatic patients receiving emergency medical care from EMS before treating at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital. Results: Among 45 cardiac arrest traumatic patients, 75.5% were men with an average age of 30.7±14.8 years. The majority of injuries (80%) were traffic accidents, 91.0% had blunt injuries, 35.6% were pulseless electrical activity (PEA) and asystole and 62.2% unknown electrocardiograph. 4.4% achieved return of spontaneous circulation (ROSC) at scene, 55.6% achieved ROSC in a hospital emergency department, 22.2% survived at 24 hours, 15.5% survived at hospital discharge, and 11.1% survived with a good cerebral performance category (CPC 1-2). The most common injuries were multiple system injuries (51.1%), 21.7% of this group survived at 24 hours, 13.0% survived at hospital discharge, and 8.7% survived with a good cerebral performance category (CPC 1-2). Head injury was the most common single organ injury (35.6%), 18.8% survived at 24 hours, 18.8% survived at hospital discharge and 12.5% survived with a good cerebral performance category (CPC 1-2). Survival rate of head injury was highest. 8 patients who received chest compressions from bystanders achieved significantly higher ROSC than those who had not received chest compressions (87.5 and 48.6; p = 0.028). Patients underwent surgery (10 patients) survived at hospital discharge significantly higher than those without surgery (50.0 and 5.7; p = 0.003). Conclusion: Chest compression conducted by bystanders increased the likelihood of ROSC in the EMS OHCA injured patients. In addition, surgery also increased the chance of survival at hospital discharge of these patients.en_US
.custom.citationพรรณารัฐ อร่ามเรือง, Pannarat Aramrerng, กรองกาญจน์ สุธรรม, Krongkarn Sutham, บวร วิทยชำนาญกุล, Borwon Wittayachamnankul, วีรพล แก้วแปงจันทร์, Weerapont Kaewpaengchan, วิพุธ เล้าสุขศรี, Wiput Laosuksri, รัดเกล้า สายหร่าย, Rudklao Sairai, ปริญญา เทียนวิบูลย์ and Parinya Tianwibool. "การรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่ได้รับการช่วยเหลือดูแลรักษาโดยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5188">http://hdl.handle.net/11228/5188</a>.
.custom.total_download3090
.custom.downloaded_today2
.custom.downloaded_this_month82
.custom.downloaded_this_year851
.custom.downloaded_fiscal_year168

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v14n ...
ขนาด: 251.3Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย