แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ผลลัพธ์ทางคลินิกของโครงการพัฒนาระบบร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลชุมชนในการดูแลระยะกลางหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก จังหวัดเชียงราย: การวิเคราะห์เบื้องต้น

dc.contributor.authorอมรศักดิ์ รูปสูงth_TH
dc.contributor.authorAmornsak Roobsoongen_US
dc.contributor.authorจิราพร เพิ่มเยาว์th_TH
dc.contributor.authorJiraporn Permyaoen_US
dc.contributor.authorสุรีย์พร จันทร์ถิระติกุลth_TH
dc.contributor.authorSureeporn Chantiratikulen_US
dc.date.accessioned2020-03-31T05:07:08Z
dc.date.available2020-03-31T05:07:08Z
dc.date.issued2563-03-31
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 14,1 (ม.ค. - มี.ค. 2563) : 88-100th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5192
dc.description.abstractภูมิหลังและเหตุผล กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุเป็นการบาดเจ็บทางศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องทำการผ่าตัด และฟื้นฟูสภาพภายหลังการผ่าตัดจนกว่าจะสามารถช่วยเหลือตัวเองและกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างใกล้เคียงกับภาวะปกติ จึงทำให้มีระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลหลังการผ่าตัดเป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดปัญหาหลายอย่าง เช่น ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้น เกิดความแออัดของสถานที่และเพิ่มภาระงานของบุคลากรในโรงพยาบาลศูนย์ การหาแนวทางการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลชุมชนผ่านโครงการพัฒนาระบบการดูแลระยะกลางหลังการผ่าตัด จะเป็นการเพิ่มศักยภาพการดูแลผู้ป่วยของโรงพยาบาลชุมชนในการรับผู้ป่วยหลังผ่าตัดกลับไปดูแลและทำการฟื้นฟูสภาพ ทั้งนี้ เพื่อลดปัญหาดังกล่าวข้างต้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกหลังการรักษาผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการดูแลรักษาตามโครงการพัฒนาระบบการดูแลระยะกลางหลังการผ่าตัดระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ และผู้ป่วยที่ส่งกลับไปดูแลที่โรงพยาบาลชุมชน ระเบียบวิธีศึกษา เป็นการศึกษาแบบ prospective cohort ในผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลหลังผ่าตัดที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ และผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลหลังผ่าตัดที่โรงพยาบาลชุมชน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - มิถุนายน 2562 โดยผู้ป่วยที่นำมาศึกษามีทั้งหมด 91 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่มตามสิทธิ์การรักษา เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลหลังผ่าตัดที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ 27 รายและผู้ป่วยที่ส่งกลับไปดูแลหลังผ่าตัดที่โรงพยาบาลชุมชนตามสิทธิการรักษาของผู้ป่วย 64 ราย ผลการศึกษา ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการดูแลหลังผ่าตัดที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์และที่โรงพยาบาลชุมชนมีอายุเฉลี่ย 76.2 และ 76.6 ปี ส่วนใหญ่เป็นกระดูกหักบริเวณ Intertrochanteric ร้อยละ 70.4 และ 62.5 ได้รับการผ่าตัดโดยใช้ Proximal femoral nail antirotation (PFNA) ร้อยละ 59.3 และ 64.1 จำนวนวันนอนโรงพยาบาลศูนย์หลังผ่าตัดเฉลี่ย 5.4 วัน และ 3.5 วันตามลำดับ (p=0.001) ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดไม่แตกต่างกัน (p=0.305) และคะแนนความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันเฉลี่ย ณ วันจำหน่ายเท่ากับ 13.6 และ 13.3 คะแนน (p=0.716) และหลังวันจำหน่าย 6 สัปดาห์เท่ากับ 17.0 และ 17.2 คะแนนตามลำดับ (p=0.874) ซึ่งไม่แตกต่างกัน วิจารณ์และข้อยุติ ผลลัพธ์ทางคลินิกของโครงการพัฒนาระบบการดูแลระยะกลางในการรักษาผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักระหว่างโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดเชียงรายไม่แตกต่างกันแต่ลดระยะเวลาการนอนในโรงพยาบาลศูนย์หลังผ่าตัดth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectสะโพกหักth_TH
dc.subjectข้อสะโพกth_TH
dc.subjectHip Injuries--Diagnosisth_TH
dc.subjectHip Injuries--Therapyth_TH
dc.subjectบริการทางการแพทย์th_TH
dc.subjectMedical Careth_TH
dc.titleผลลัพธ์ทางคลินิกของโครงการพัฒนาระบบร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลชุมชนในการดูแลระยะกลางหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก จังหวัดเชียงราย: การวิเคราะห์เบื้องต้นth_TH
dc.title.alternativeClinical Outcomes of Peritrochanteric Hip Fracture in the Intermediate Postoperative Care Project between the Regional and District Hospitals in Chiang Rai Province: Preliminary Comparative Resultsen_US
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground & Rationale: The peritrochanteric hip fracture or hip fracture in an elder is one of the most fatal orthopedic trauma which needs surgical correction and appropriate rehabilitation after surgery until the patient can live an independent living. This condition causes a prolonged postoperative hospital stay increases postoperative cost crowds out other patients to limited hospital bed and overloads hospital workforces. The intermediate postoperative care project has been developed between the regional and district hospitals in Chiang Rai province to increase the capability of postoperative hip fracture care in district hospitals. The hip fractures patients after surgical treatment in Chiangrai Prachanukroh Hospital will be referred back to district hospitals for inpatient rehabilitation. This was the way to decrease the postoperative hospital stay and increase clinical outcomes in elderly with hip fractures in Chiang Rai province. Objective: The objective of this study was to compare the clinical outcomes of peritrochanteric hip fracture in the intermediate postoperative care project between the regional hospital and district hospitals in Chiang Rai province. Methodology: This study was a prospective cohort study recruiting hip fractures elderly patients who were assigned to intermediate postoperative care in Chiangrai Prachanukroh Hospital and district hospitals from February to June 2019. The population in this study covered 91 patients of two medical benefit schemes. There were 27 patients taken care in Chiangrai Prachanukroh Hospital and 64 patients taken care in district hospitals. Results: The average ages of the elderly patients with hip fractures taken care in Chiangrai Prachanukroh Hospital and district hospitals were 76.2 and 76.6 years respectively. Most of them (70.4 and 62.5 percent respectively) were suffered from the intertrochanteric area fractures. The percentages of the patients who were operated by the proximal femoral nail antirotation (PFNA) fixation were 59.3 and 64.1. The average length of postoperative hospital stay in Chiangrai Prachanukroh Hospital was statistically significant lowered from 5.4 to 3.5 days (p=0.001). There were no significant differences in postoperative complications (p=0.305). The activity of daily living scores (Barthel’s index) of the elderly patients on discharge date were 13.6 and 13.3, and at 6 weeks after discharge were at 17.0 and 17.2 respectively (p=0.874). Conclusion: The clinical outcomes of peritrochanteric hip fracture in the intermediate postoperative care project treated at the regional and district hospitals in Chiang Rai province were not different. The project lowered the average length of postoperative hospital stay in Chiangrai Prachanukroh Hospital.en_US
dc.subject.keywordRegional Hospitalen_US
.custom.citationอมรศักดิ์ รูปสูง, Amornsak Roobsoong, จิราพร เพิ่มเยาว์, Jiraporn Permyao, สุรีย์พร จันทร์ถิระติกุล and Sureeporn Chantiratikul. "ผลลัพธ์ทางคลินิกของโครงการพัฒนาระบบร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลชุมชนในการดูแลระยะกลางหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก จังหวัดเชียงราย: การวิเคราะห์เบื้องต้น." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5192">http://hdl.handle.net/11228/5192</a>.
.custom.total_download3397
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month31
.custom.downloaded_this_year492
.custom.downloaded_fiscal_year82

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v14n ...
ขนาด: 308.1Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย