dc.contributor.author | พินิจ ฟ้าอำนวยผล | th_TH |
dc.contributor.author | Pinij Faramnuayphol | th_TH |
dc.date.accessioned | 2020-05-15T06:59:22Z | |
dc.date.available | 2020-05-15T06:59:22Z | |
dc.date.issued | 2563-05 | |
dc.identifier.other | hs2565 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5206 | |
dc.description.abstract | เครื่องมือสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ช่วยแปลงข้อมูลที่จัดเก็บให้เกิดเป็นสารสนเทศที่มีความหมายสามารถใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งมีความสำคัญสำหรับการจัดการระบบสุขภาพระดับอำเภอ รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพบริการสำหรับหน่วยบริการสุขภาพ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาหรือประยุกต์ใช้เครื่องมือสารสนเทศที่เหมาะสม สำหรับการวิเคราะห์และแสดงผลข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการระบบสุขภาพระดับอำเภอและการพัฒนาคุณภาพบริการสุขภาพ โดยมีการพัฒนาและประยุกต์ใช้เครื่องมือ 3 ชนิด ได้แก่ Business Intelligence (ระบบธุรกิจอัจฉริยะ), Geographical Information System (GIS) (ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์) และ Data Mining (การทำเหมืองข้อมูล) ทดลองใช้ในพื้นที่ 3 อำเภอ โดยพบว่าเครื่องมือ Business Intelligence ที่พัฒนาขึ้นสำหรับแสดงผลข้อมูลการตาย ข้อมูลการเฝ้าระวังโรคและข้อมูลสถานะสุขภาพและบริการสุขภาพมีความเหมาะสมสำหรับการใช้งาน เนื่องจากมีความง่ายและเพียงพอต่อการใช้งาน โดยสามารถเปรียบเทียบระหว่างตำบล แสดงแนวโน้มและแสดงแผนที่ระดับตำบลได้ จึงควรใช้เป็นระบบหลักในการขยายผลและต่อยอดให้ครอบคลุมทุกอำเภอต่อไป เนื่องจากเป็นการใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลระดับประเทศและสำหรับเครื่องมือ GIS ที่เป็นการประยุกต์ใช้โปรแกรมประเภท Open Source ก็สามารถใช้เป็นระบบเสริมสำหรับพื้นที่ที่สนใจได้เช่นเดียวกับเครื่องมือ Data Mining ที่สามารถสร้าง Model จากข้อมูลบริการสุขภาพทั้ง Decision Tree, Neural Network, Logistic Regression และ Clustering เป็นต้น ก็สามารถใช้วิเคราะห์เพื่อสร้างองค์ความรู้ สำหรับหน่วยงานที่สนใจได้ โดยจะต้องมีการฝึกอบรมการใช้งานและความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้อง | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | บริการปฐมภูมิ | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | สารสนเทศทางการแพทย์ | th_TH |
dc.subject | Information Technology | th_TH |
dc.subject | บริการสารสนเทศ | th_TH |
dc.subject | เทคโนโลยีสารสนเทศ | th_TH |
dc.subject | ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) | th_TH |
dc.title | การพัฒนาคุณภาพบริการระดับปฐมภูมิและการจัดการระบบสุขภาพระดับอำเภอด้วยเครื่องมือสารสนเทศ | th_TH |
dc.title.alternative | Improving primary care quality and district health system management by using information tools | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Information tools are the tools for transforming collected data into meaningful and useful information which is important for district health system management and health service quality improvement. Objective of this study is development or adoption of appropriate information tools for analyzing or displaying information for district health system management and health service quality improvement. Three types of information tools were developed or adopted including Business Intelligence, Geographical Information System (GIS) and Data mining by applying in 3 districts. The results revealed that Business Intelligence tool for visualizing mortality data, disease surveillance data, health status and health service data was appropriate because of easiness and adequacy for use. It can compare data across sub-districts and across health facilities within each particular district. Trend over time is also provided together with map across sub-districts. Business Intelligence tool should be, therefore, the main tool for further expansion and improvement for covering all districts as it uses mainly national databases. For GIS tool, which is open source software, it can be the additional tool for interested districts as well as Data mining tool which can produce various models from service data such as Decision Tree, Neural Network, Logistic Regression and Clustering. Data mining can be used for knowledge generation by interested organizations and requires specific training for applying software and learning related fundamental knowledge. | th_TH |
dc.identifier.callno | W26.5 พ685ก 2563 | |
dc.identifier.contactno | 62-006 | |
.custom.citation | พินิจ ฟ้าอำนวยผล and Pinij Faramnuayphol. "การพัฒนาคุณภาพบริการระดับปฐมภูมิและการจัดการระบบสุขภาพระดับอำเภอด้วยเครื่องมือสารสนเทศ." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5206">http://hdl.handle.net/11228/5206</a>. | |
.custom.total_download | 193 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 2 | |
.custom.downloaded_this_year | 27 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 3 | |