Show simple item record

Proposal for Thai Clinical Research System Development

dc.contributor.authorวิพุธ พูลเจริญth_TH
dc.contributor.authorWiput Phoolcharoenth_TH
dc.contributor.authorสรกนก วิมลมั่งคั่งth_TH
dc.contributor.authorSornkanok Vimolmangkangth_TH
dc.contributor.authorวิโรจน์ เจียมจรัสรังษีth_TH
dc.contributor.authorWiroj Jiamjarasrangsith_TH
dc.contributor.authorเพ็ญจันทร์ เชอร์เรอร์th_TH
dc.contributor.authorPenchan Shererth_TH
dc.contributor.authorวิวัฒน์ พีรพัฒนโภคินth_TH
dc.contributor.authorWiwat Peerapatanapokinth_TH
dc.contributor.authorธนาคม วงษ์บุญธรรมth_TH
dc.contributor.authorThanakom Wongboonthamth_TH
dc.date.accessioned2020-05-25T03:03:46Z
dc.date.available2020-05-25T03:03:46Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.otherhs2568
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5214
dc.description.abstractการปรับรื้อสร้าง (Transformation) ระบบและโครงสร้างทางสุขภาพให้สนองตอบต่อนโยบายแผนงานและยุทธศาสตร์ระยะยาว (20 ปี) ของประเทศไทยตามกระแสโลกปัจจุบัน โดยเฉพาะนโยบายนวัตกรรมระบบสุขภาพให้ก้าวเท่าทันกับวิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและเทคนิคสังคมที่ขับเคลื่อนไปอย่างรวดเร็วส่งผลให้วิถีจัดการงานวิจัยระบบสาธารณสุข โดยเฉพาะการวิจัยทางคลินิกซึ่งแต่เดิมเคยแยกส่วนจากงานวิจัยระบบสุขภาพถูกนำมาทบทวนปรับปรุงให้เชื่อมโยงแสดงภาพอนาคตที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ระยะยาวให้ชัดเจนได้ การจัดการงานวิจัยด้วยวิธีการให้ทุนตามหัวเรื่อง (Topics) หรือแผนที่งานวิจัย (Research Roadmap) จากหน่วยงานและขอบเขตงานวิจัยที่ทำกันอยู่ โดยระดมความคิดเห็นจากนักวิจัยร่วมกับผู้กำหนดนโยบายภาครัฐ เอกชนและภาคส่วนการวิจัย ส่งผลให้การลงทุนในงานวิจัยกระจายแยกส่วนมุ่งตอบคำถามงานวิจัยในระยะสั้นให้ปรับใช้ทันวาระของผู้กำหนดนโยบายและผู้บริหาร ในขณะที่ขาดการประมวลผล วิเคราะห์ข้อจำกัดและอุปสรรคที่ขวางกั้นความมุ่งมั่นตามความต้องการของยุทธศาสตร์ชาติในระยะยาว ระเบียบวิธีการวิจัย การวิจัยชุดนี้ใช้ระเบียบวิธีทบทวนนโยบายของประเด็นสุขภาพ 5 ด้าน ได้แก่ ไข้เลือดออก วัณโรค เบาหวาน การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นและการใช้กัญชาในทางการแพทย์กับการทบทวนนโยบายการจัดระบบบริการสุขภาพภายใต้กระแสโลกในศตวรรษที่ 21 เป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์และออกแบบนโยบายและยุทธศาสตร์ สำหรับใช้ในการเสริมหนุนการจัดบริการสุขภาพ การสาธารณสุขและการวิจัยทางสุขภาพของประเด็นสุขภาพทั้ง 5 ด้าน ด้วยวิธีการทบทวนเอกสารและวรรณกรรมแสดงทิศทางนโยบายและยุทธศาสตร์บนพื้นฐานวิชาการสากลเปรียบเทียบกับการขับเคลื่อนนโยบายในประเทศไทยในด้านวิวัฒนาการทางความรู้ (Evolutionary Knowledge) ประสิทธิผลในการป้องกันแก้ไขปัญหา (Effective Intervention) และข้อจำกัดเชิงโครงสร้างและระบบงาน (Path Dependency) เป็นกรอบวิเคราะห์การวางเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพพร้อมทั้งใช้เป็นกรอบการสังเคราะห์ ข้อเสนอเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์และยุทธวิธี สำหรับจัดการงานวิจัยระบบสุขภาพให้เกิดการขับเคลื่อนนวัตกรรมของนโยบายในแต่ละประเด็นปัญหาทางสุขภาพ การวิเคราะห์สมรรถนะงานวิจัยที่ดำเนินงานกันอยู่ในแต่ละประเด็นโดยการทบทวนวรรณกรรมและสัมภาษณ์เจาะลึกนักวิจัยที่มีประสบการณ์และทักษะในการจัดการทีมงานวิจัยแต่ละด้านให้บ่งชี้ข้อจำกัดและปัญหาการจัดการงานวิจัยในประเทศไทย ตลอดจนประมวลบทบาทการจัดการงานวิจัยร่วมกับต่างประเทศหรือระดับโลก การทบทวนยุทธศาสตร์การจัดการงานวิจัยใหม่ๆ ที่ปรับใช้ในต่างประเทศ คือ มรรควิถีการวิจัย (Research Pathway) กลยุทธ์ทางธุรกิจใหม่ คือ ชานชาลางานวิจัย (Research Platform) เทียบกับรูปแบบการจัดการงานวิจัยที่เคยดำเนินงานในประเทศไทยมาก่อนแต่ขาดหายไปทั้งๆ ที่เป็นข้อเสนอในสากล คือ การวิจัยเชิงปฏิบัติงาน (Operation Research) เพื่อทดสอบและพัฒนารูปแบบกับการวิจัยเชิงดำเนินงาน (Implementation Research) เพื่อให้เรียนรู้ประสิทธิผลและประสิทธิภาพการดำเนินงานในระดับพื้นที่ปฏิบัติงาน สำหรับนำมาใช้เป็นกรอบการจัดการงานวิจัยดังกล่าวแล้ว ปรับมาเป็นข้อเสนอให้เกิดบูรณาการการจัดการงานวิจัยเข้ากับกระบวนการนวัตกรรมของนโยบายแต่ละประเด็นผลจากงานวิจัย ผลการวิเคราะห์การดำเนินงานของทั้ง 5 ประเด็น แสดงข้อค้นพบที่สำคัญว่าการกำหนดเป้าหมายของนโยบายในแต่ละประเด็นยังขาดการประเมินความเป็นจริงได้ (Feasibility Assessment) จึงไม่เอื้อให้ฝ่ายปฏิบัติการนำไปขับเคลื่อนให้เกิดประสิทธิผล อีกทั้งยังขาดยุทธศาสตร์เชิงปฏิบัติการที่ตอบสนองต่อเป้าหมายย่อยทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยกรอบการจัดการงานวิจัยในรูปแบบใหม่ๆ ได้แก่ มรรควิถีการวิจัย ชานชาลางานวิจัย การวิจัยเชิงปฏิบัติการและการวิจัยการดำเนินงานเข้ามาเชื่อมโยงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและเทคนิคทางสังคมเข้ากับกระบวนการขับเคลื่อนนโยบายในแต่ละประเด็นปัญหาสุขภาพ ทั้งในระดับทีมงานวิจัยด้วยกรอบคิดเชิงก้าวหน้า (Advanced Research) และในระดับทีมผู้ปฏิบัติงาน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การจัดการงานวิจัยในปัจจุบันยังไม่อาจเสริมความเข้มแข็ง (Empower) ของวิธีการจัดการนโยบายและยุทธศาสตร์ในระบบสุขภาพที่มุ่งสู่ภาพอนาคตของยุทธศาสตร์ชาติใน 20 ปีข้างหน้าได้และควรปรับกระบวนการจัดการวิจัยให้ตอบสนองต่อการขับเคลื่อนสังคมไทยสู่อนาคตระยะยาวอย่างเร่งด่วนth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectนโยบายด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectClinical Researchth_TH
dc.subjectการวิจัยทางคลินิกth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการพัฒนายุทธศาสตร์ระบบการวิจัยคลินิกของประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeProposal for Thai Clinical Research System Developmentth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoWA540.JT3 ว643ก 2563
dc.identifier.contactno61-065
.custom.citationวิพุธ พูลเจริญ, Wiput Phoolcharoen, สรกนก วิมลมั่งคั่ง, Sornkanok Vimolmangkang, วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี, Wiroj Jiamjarasrangsi, เพ็ญจันทร์ เชอร์เรอร์, Penchan Sherer, วิวัฒน์ พีรพัฒนโภคิน, Wiwat Peerapatanapokin, ธนาคม วงษ์บุญธรรม and Thanakom Wongboontham. "การพัฒนายุทธศาสตร์ระบบการวิจัยคลินิกของประเทศไทย." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5214">http://hdl.handle.net/11228/5214</a>.
.custom.total_download111
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year8

Fulltext
Icon
Name: hs2568.pdf
Size: 5.120Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record