Show simple item record

An Application of Cultural Pluralism Healthcare System in All Healthcare Services for Health Promotion and Services in Accordance with Sociological Context of Deep South, Thailand

dc.contributor.authorซอฟียะห์ นิมะth_TH
dc.contributor.authorSawpheeyah Nimath_TH
dc.contributor.authorพาตีเมาะ นิมาth_TH
dc.contributor.authorPatimoh Nimath_TH
dc.contributor.authorอิลฟาน ตอแลมาth_TH
dc.contributor.authorIlfarn Tolaemath_TH
dc.date.accessioned2020-06-26T03:30:54Z
dc.date.available2020-06-26T03:30:54Z
dc.date.issued2563-03-25
dc.identifier.otherhs2574
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5220
dc.description.abstractภูมิหลังปัญหา: จังหวัดชายแดนใต้ ประกอบด้วย จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาสและ 4 อำเภอจังหวัดสงขลา คือ นาทวี จะนะ เทพาและสะบ้าย้อย ถือเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายของวิถีชีวิตภายใต้กรอบความเชื่อ ศาสนา วัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อาศัยอยู่ดั้งเดิมและอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน อีกทั้งมีสถานการณ์ความไม่สงบและความรุนแรงมานานกว่า 15 ปี ส่งผลกระทบต่อระบบบริการสุขภาพ คุณภาพและการเข้าถึงการบริการทุกระดับ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้เกณฑ์มาตรฐานการบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรมสำหรับหน่วยบริการสุขภาพทั้งสามระดับในจังหวัดชายแดนใต้ที่มุ่งตอบสนองความต้องการทางจิตวิญญาณ ศาสนา วัฒนธรรมและธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละชาติพันธุ์หรือคนกลุ่มย่อย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ ระเบียบวิธีวิจัย: การศึกษาประกอบด้วย 2 ระยะ ในระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 - พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 คือ ระยะที่ 1) ในระยะการพัฒนาร่างเกณฑ์มาตรฐาน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ (1) การร่างเกณฑ์มาตรฐานระบบบริการพหุวัฒนธรรม โดยการทบทวนวรรณกรรมจากงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ (2) การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่โดยการใช้แบบสอบถาม (3) การสนทนากลุ่มทั้งผู้รับบริการและผู้ให้บริการสุขภาพ (4) การสัมภาษณ์เชิงลึกต่อทีมผู้บริหาร เช่น ผู้อำนวยการโรงพยาบาล สาธารณสุขอำเภอและทีมบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (5) การกลั่นกรองเนื้อหาและการตรวจสอบเกณฑ์มาตรฐานโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ใช้เทคนิคเดลฟาย รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 5,555 คน ระยะที่ 2 เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เกณฑ์มาตรฐานในพื้นที่นำร่องที่มี 3 ขั้นตอน คือ (1) การประชุมทีมผู้กำกับนโยบายเพื่อพิจารณางานวิจัยสู่การปฏิบัติ (2) การนำไปทดลองใช้ (3) การประเมินติดตามและพัฒนาเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย ผลการศึกษา: ในระยะร่างเกณฑ์มาตรฐานการบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรมได้รายละเอียดการร่างเกณฑ์ฯ ทั้งหมด 7 มาตรฐานหลักและ 47 เกณฑ์ย่อย โดย (1) นำไปทดลองใช้ในพื้นที่ศึกษา 4 โรงพยาบาลและทดลองใช้นอกพื้นที่ศึกษาที่มีบริบทใกล้เคียง 1 โรงพยาบาล พบว่า ผู้รับบริการได้ประเมินคุณภาพการบริการในแต่ละด้านอยู่ระหว่างร้อยละ 88.6 - 99.4 รู้จักและต้องการการบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรม ร้อยละ 34.3 และ 99.2 ตามลำดับ โดยมีความพึงพอใจร้อยละ 97.1 ในขณะที่ผู้ให้บริการสุขภาพได้ประเมินคุณภาพการบริการในแต่ละด้านอยู่ระหว่างร้อยละ 79.7 - 99.3 รู้จักและต้องการการบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรม ร้อยละ 100.0 และ 85.0 ตามลำดับ โดยระบุว่าเกิดรูปแบบด้านการจัดการสุขภาพที่เป็นรูปธรรมในหน่วยบริการร้อยละ 97.9 และสามารถจัดการต่อข้อร้องเรียนได้ร้อยละ 98.6 สรุปและข้อเสนอแนะ การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เกณฑ์มาตรฐานการบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนใต้เริ่มเป็นที่รู้จัก ยอมรับและต้องการทั้งในกลุ่มผู้รับบริการและให้บริการสุขภาพ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสในการสนับสนุนส่งเสริมเป็นนโยบายเพื่อประยุกต์ระบบบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรมไปใช้ทั้งในหน่วยบริการสุขภาพและในชุมชน โดยกระทรวงสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพที่รับการถ่ายโอนตามแผนกระจายอำนาจให้เพิ่มการเข้าถึงการบริการที่ดีขึ้นต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectการสร้างเสริมสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Promotionth_TH
dc.subjectพหุวัฒนธรรมนิยมth_TH
dc.subjectCultural Pluralismth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectHealth Service Systemsth_TH
dc.titleการประยุกต์ใช้ระบบบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรมในระบบบริการสุขภาพภาครัฐทั้งสามระดับต่อการสร้างเสริมสุขภาพและการจัดบริการที่สอดคล้องกับบริบทภูมิสังคมในจังหวัดชายแดนใต้th_TH
dc.title.alternativeAn Application of Cultural Pluralism Healthcare System in All Healthcare Services for Health Promotion and Services in Accordance with Sociological Context of Deep South, Thailandth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground: The deep southern border provinces consist of Pattani, Yala, Narathiwat and 4 districts of Songkhla province--Nathawi, Chana Thepha and Sabayoi, which are the diverse areas of life under the framework of beliefs, religions, cultures, and other traditional ethnic groups. Besides, there has been a situation of unrest and violence for more than 15 years, affecting health service systems, quality and accessibility. This research is a descriptive study aimed to explore the feasibility of applying the multicultural health service standards for the three levels of health services in those areas to meet the spiritual needs, religions, cultures and customs of each ethnic group or focus on the culture of the sub-groups, contributing to health equity. Methods: The study consisted of 2 phases between June 2018 - November 2019: phase 1, the draft criteria were developed in 5 steps. First, documentary research was reviewed and synthesized to provide a general understanding of the multicultural health service standards in other countries. Second, the survey was conducted to draw the opinions of people in the area by using questionnaires. Third, the focus group discussion was performed between the recipients and health service providers. Fourth, in-depth interviewing was a loosely structured interview among the service management team such as the hospital director, head of district public health, and the local government organizations. Fifth, the content of the standards was screened and standardized by experts such as provincial public health doctors in Delphi techniques. A total number of 5,555 people were given information in these processes. Phase 2, a feasibility study of using standards was launched in the pilot areas with 3 steps: (1) the standards were approved by policymakers to consider into action, (2) the standards were implemented in pilot hospitals, and (3) an evaluation and monitoring was then proceeded to announce as a policy. Results: The multicultural health service standards were finally drafted and organized into 7 main criteria and 47 sub-criteria. The standards were then implemented in 4 hospitals in study areas and 1 hospital in the other area that has a similar context. The parallel evaluation during the trial period revealed that the customers’ opinions for the service quality were 88.6-99.4%. They knew, needed and satisfied this service that was 34.3%, 99.2%, and 97.1% respectively. While the health care providers know about this service 100% and need it 85.0%. The outcomes also provided 97.9% of the concrete model and 98.6% having good management for customer complaints. Suggestion and conclusion: The feasibility study of the multicultural health service standards utilization in the Southern border provinces has contributed to familiar and acceptance among recipients and health service providers. Therefore, this is an opportunity for the Ministry of public health and local administrative organizations to promoting as a policy to apply in all health services and in communities for better service accessibility in the long run.th_TH
dc.identifier.callnoW84 ซ119ก 2563
dc.identifier.contactno61-043
.custom.citationซอฟียะห์ นิมะ, Sawpheeyah Nima, พาตีเมาะ นิมา, Patimoh Nima, อิลฟาน ตอแลมา and Ilfarn Tolaema. "การประยุกต์ใช้ระบบบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรมในระบบบริการสุขภาพภาครัฐทั้งสามระดับต่อการสร้างเสริมสุขภาพและการจัดบริการที่สอดคล้องกับบริบทภูมิสังคมในจังหวัดชายแดนใต้." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5220">http://hdl.handle.net/11228/5220</a>.
.custom.total_download92
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year5
.custom.downloaded_fiscal_year12

Fulltext
Icon
Name: hs2574.pdf
Size: 7.163Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record