แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การทบทวนและพัฒนาข้อเสนอเพื่อการปรับปรุงชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้บัตรประกันสุขภาพคนต่างด้าว

dc.contributor.authorธนพร บุษบาวไลth_TH
dc.contributor.authorThanaporn Bussabawalaith_TH
dc.contributor.authorดนัย ชินคำth_TH
dc.contributor.authorDanai Chinnacomth_TH
dc.contributor.authorศรวณีย์ อวนศรีth_TH
dc.contributor.authorSonvanee Uansrith_TH
dc.contributor.authorมณีโชติรัตน์ สันธิth_TH
dc.contributor.authorManeechotirat Santith_TH
dc.contributor.authorระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์th_TH
dc.contributor.authorRapeepong Suphanchaimatth_TH
dc.contributor.authorเนตรนภิส สุชนวนิชth_TH
dc.contributor.authorNetnapis Suchonwanichth_TH
dc.contributor.authorพัทธรา ลีฬหวรงค์th_TH
dc.contributor.authorPattara Leelahavarongth_TH
dc.date.accessioned2020-06-30T04:56:33Z
dc.date.available2020-06-30T04:56:33Z
dc.date.issued2563-06-30
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 14,2 (เม.ย. - มิ.ย. 2563) : 125-142th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5224
dc.description.abstractกระทรวงสาธารณสุขออกมาตรการในการประกันสุขภาพสำหรับคนต่างด้าวที่ไม่มีสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลใดๆ ชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้บัตรประกันสุขภาพนี้มีการปรับเปลี่ยนไม่มากนักในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนและพัฒนาข้อเสนอเพื่อการปรับปรุงชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้บัตรประกันสุขภาพสำหรับคนต่างด้าว โดยการทบทวนเอกสารทั้งแนวทางเวชปฏิบัติและการศึกษาต้นทุนประสิทธิผลของมาตรการสุขภาพต่างๆ สำหรับปัญหาสุขภาพที่สำคัญของคนต่างด้าวในประเทศไทยที่ได้จากการจัดลำดับความสำคัญจำนวน 20 โรค ประกอบด้วย โรคติดต่อ 10 โรค และโรคไม่ติดต่อ 10 โรค รวมถึงเปรียบเทียบการมีอยู่ของมาตรการระหว่างชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้บัตรประกันสุขภาพ และระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จากนั้นทำการสนทนากลุ่ม 1 ครั้ง ประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ให้บริการในโรงพยาบาลรวม 13 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้กำหนดนโยบาย/เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้ให้บริการ เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน จำนวนทั้งหมด 33 คน และคนต่างด้าว 15 คน ผลการศึกษาพบว่า บัตรประกันสุขภาพครอบคลุมสิทธิประโยชน์ในการตรวจวินิจฉัย และรักษาปัญหาสุขภาพที่สำคัญเกือบทั้งหมด (ร้อยละ 90 ของปัญหาสุขภาพที่ได้จากการจัดลำดับความสำคัญ) ทั้งนี้ประมาณร้อยละ 80 ของมาตรการสุขภาพที่ไม่อยู่หรือไม่ชัดเจนว่าอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์เป็นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ ความไม่ชัดเจนดังกล่าวส่งผลให้เกิดความหลากหลายในการให้บริการทั้งในเรื่องการมีอยู่ของบริการและค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ และหากจะมีการปรับปรุงชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้บัตรประกันสุขภาพสำหรับคนต่างด้าวจากการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ มีข้อเสนอแนะว่ามาตรการที่ควรเสนอเข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์หรือควรจัดให้มีบริการในทุกโรงพยาบาล ได้แก่ สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (ฉบับแปลภาษา) การคัดกรองและดูแลรักษาโรคจิตเบื้องต้น และการให้คำแนะนำเรื่องการตรวจเต้านมด้วยตนเองth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectบริการทางการแพทย์th_TH
dc.subjectMedical Careth_TH
dc.subjectMigrantsth_TH
dc.subjectคนต่างด้าวth_TH
dc.subjectแรงงานต่างด้าวth_TH
dc.titleการทบทวนและพัฒนาข้อเสนอเพื่อการปรับปรุงชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้บัตรประกันสุขภาพคนต่างด้าวth_TH
dc.title.alternativeReviewing and Developing Revision Proposal on the Benefit Package of the Health Insurance Card Scheme for Migrantsth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeThe Ministry of Public Health issued the Health Insurance Card Scheme (HICS) for migrants who were not covered by any health insurance schemes; however, the benefit package under the HICS has not been significantly revised for the last 10 years. This study aimed to review and develop a proposal to revise the benefit package of the HICS for migrants. The study was conducted by reviewing documents, including clinical practice guidelines and cost-effectiveness studies of health interventions of the first 20 important health problems among migrants in Thailand, 10 communicable and 10 non-communicable diseases. The benefit packages of the HICS and the universal health scheme were also compared. A focus group discussion was arranged with 13 representatives from relevant agencies and healthcare providers, and in-depth interviews were conducted with 33 key informants comprising decision-makers/ government officers, healthcare providers, non-governmental organizations and 15 migrants. The study showed that the HICS covered diagnosis and treatment of almost all (90%) of the prioritized health problems. About 80% of the non-listed or unclear health services in the current benefit package were related to health promotion and disease prevention activities. Those unclear benefits led to disparities in services availability and user charge for access to service. The analysis of qualitative data suggested that health interventions that should be included in the benefit package and provided in all hospitals consisted of the maternal and child health diary (in translated version), the screening and treatment for common mental disorders, and breast self-examination advice.th_TH
.custom.citationธนพร บุษบาวไล, Thanaporn Bussabawalai, ดนัย ชินคำ, Danai Chinnacom, ศรวณีย์ อวนศรี, Sonvanee Uansri, มณีโชติรัตน์ สันธิ, Maneechotirat Santi, ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์, Rapeepong Suphanchaimat, เนตรนภิส สุชนวนิช, Netnapis Suchonwanich, พัทธรา ลีฬหวรงค์ and Pattara Leelahavarong. "การทบทวนและพัฒนาข้อเสนอเพื่อการปรับปรุงชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้บัตรประกันสุขภาพคนต่างด้าว." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5224">http://hdl.handle.net/11228/5224</a>.
.custom.total_download717
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month11
.custom.downloaded_this_year177
.custom.downloaded_fiscal_year24

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v14n ...
ขนาด: 342.7Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย