แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การประเมินผลเบื้องต้น: ประสบการณ์การได้รับการดูแลแบบบูรณาการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางของผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง

dc.contributor.authorสัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์th_TH
dc.contributor.authorSamrit Srithamrongsawatth_TH
dc.contributor.authorไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาลth_TH
dc.contributor.authorPaibul Suriyawongpaisalth_TH
dc.contributor.authorวรสิทธิ์ ศรศรีวิชัยth_TH
dc.contributor.authorVorasith Srisornvichaith_TH
dc.contributor.authorสันติ ลาภเบญจกุลth_TH
dc.contributor.authorSanti Lapbenjakulth_TH
dc.contributor.authorดวงดาว ศรียากูลth_TH
dc.contributor.authorDuangdao Sriyakunth_TH
dc.date.accessioned2020-06-30T05:16:51Z
dc.date.available2020-06-30T05:16:51Z
dc.date.issued2563-06-30
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 14,2 (เม.ย. - มิ.ย. 2563) : 143-155th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5225
dc.description.abstractโครงการวิจัยดำเนินการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิแบบบูรณาการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ได้นำร่องการปรับรูปแบบและกระบวนการจัดบริการของเครือข่ายบริการปฐมภูมิหรือคลินิกหมอครอบครัว (primary care cluster: PCC) จำนวน 20 แห่งในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ในการนี้มีการประเมินผลเบื้องต้นภายหลังดำเนินการไปได้ 4 เดือน เพื่อศึกษาประสบการณ์ของผู้ป่วยที่ได้รับบริการจาก PCC ในโครงการวิจัยเทียบกับหน่วยบริการปฐมภูมิอื่นและแผนกบริการผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลในอำเภอเดียวกัน โดยสำรวจผู้ป่วยในชุมชนของอำเภอนำร่องแห่งละ 200 ตัวอย่าง จำนวนทั้งหมด 4,071 ตัวอย่าง จำแนกเป็นผู้ป่วยที่รับบริการที่คลินิกเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาล 1,311 ตัวอย่าง, PCC ในโครงการวิจัย 1,721 ตัวอย่าง, PCC นอกโครงการวิจัย 823 ตัวอย่าง และ รพ.สต. ทั่วไป 216 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับทีมบุคลากรสาธารณสุขของ PCC ในโครงการวิจัยดีกว่าหน่วยบริการประเภทอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งการรู้จักชื่อแพทย์ ชื่อเจ้าหน้าที่หมอครอบครัว มีช่องทางติดต่อได้สะดวก อย่างไรก็ตาม ยังมีช่องว่างที่ต้องพัฒนาคือ ผู้ป่วยควรได้รับบริการจากแพทย์และหมอครอบครัวคนเดิมทุกครั้ง นอกจากนี้ จากแนวทางการดูแลที่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังพึงได้รับทราบทั้งห้าด้านคือ ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ แผนการดูแลรักษา เป้าหมายการรักษา การปฏิบัติตนและผลการรักษานั้น ผู้ป่วยประเมินว่าได้รับบริการตามแนวทางการดูแลโรคเรื้อรังจาก PCC ในโครงการวิจัยเป็นส่วนใหญ่หรือแทบทุกครั้งในสัดส่วนสูงกว่าหน่วยบริการประเภทอื่นเกือบทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม คะแนนด้านการปฏิบัติตนต่ำกว่าด้านอื่นๆ อีกทั้งมีข้อสังเกตว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับทีมบุคลากรสาธารณสุขและการได้รับบริการตามแนวทางการดูแลโรคเรื้อรังของ PCC นอกโครงการวิจัยมิได้ดีกว่าของคลินิกเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาล ทั้งนี้จำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยผลการดำเนินงานและผลลัพธ์การจัดบริการในระยะต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectเบาหวานth_TH
dc.subjectเบาหวาน--ผู้ป่วยth_TH
dc.subjectDiabetesth_TH
dc.subjectบริการทางการแพทย์th_TH
dc.subjectความดันโลหิตสูงth_TH
dc.subjectPrimary Careth_TH
dc.subjectหมอครอบครัวth_TH
dc.titleการประเมินผลเบื้องต้น: ประสบการณ์การได้รับการดูแลแบบบูรณาการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางของผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงth_TH
dc.title.alternativeInitial Assessment of Experiences on Receiving Integrated People-Centered Care of Patients with Diabetes and Hypertensionth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeAn implementation research on the development of integrated-people centered care started a pilot reform of service delivery system in 20 primary care clusters (PCCs). Patients with diabetes and/or hypertension were employed in this pilot test model. An initial assessment was taken after a 4-months implemention on patient’s experiences on receiving integrated people-centered care comparing between PCC under the project with other primary and ambulatory care facilities in the same district. A community survey of 200 samples was conducted from each district. There were totally 4,071 samples, 1,311 samples from hospital DM/HT clinics, 1,721 from PCCs in the project, 823 from other PCCs, and 216 samples from health centers. Results showed that PCCs in the project had significantly better patient-family care team relationship compared with other types of health facilities, a greater proportion of patients knew the name of family physician, family care team, and had more convenient communication channel. However, the target of receiving care from the same family doctor and team needed further improvement. The PCCs in the project achieved significantly greater proportions of patients receiving care according to the guideline for chronic illness care in most of the 5 dimensions (knowing health determinant factor, care plan, goal setting, health behavior, and care result) compared with other types of facilities. However, the dimension on health behavior modification got relatively low score compared with other dimensions. It is noticeable that the other PCCs did not perform any better than hospital DM/HT clinics either in terms of patient-doctor/ family care team relationship or care for chronic illness. Further implementation research is needed to evaluate implementation outcomes and service outcomes of the model.th_TH
dc.subject.keywordPrimary Care Clusterth_TH
dc.subject.keywordคลินิกหมอครอบครัวth_TH
.custom.citationสัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, Samrit Srithamrongsawat, ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล, Paibul Suriyawongpaisal, วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย, Vorasith Srisornvichai, สันติ ลาภเบญจกุล, Santi Lapbenjakul, ดวงดาว ศรียากูล and Duangdao Sriyakun. "การประเมินผลเบื้องต้น: ประสบการณ์การได้รับการดูแลแบบบูรณาการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางของผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5225">http://hdl.handle.net/11228/5225</a>.
.custom.total_download943
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month13
.custom.downloaded_this_year180
.custom.downloaded_fiscal_year20

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v14n ...
ขนาด: 502.1Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย