Show simple item record

Physical Activity Policy for Active Aging: A Systematic Review

dc.contributor.authorอัจฉรา ปุราคมth_TH
dc.contributor.authorAtchara Purakomth_TH
dc.contributor.authorมาสริน ศุกลปักษ์th_TH
dc.contributor.authorMasarin Sukolpukth_TH
dc.contributor.authorนิตยา แสงชื่นth_TH
dc.contributor.authorNittaya Sangcheunth_TH
dc.date.accessioned2020-06-30T06:48:58Z
dc.date.available2020-06-30T06:48:58Z
dc.date.issued2563-06-20
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 14,2 (เม.ย. - มิ.ย. 2563) : 208-224th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5230
dc.description.abstractนโยบายกิจกรรมทางกายสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มภาวะพฤฒพลังมีความสำคัญในระดับสากล รวมทั้งประเทศไทย ฐานข้อมูลเพื่อการกำหนดนโยบายกิจกรรมทางกายสำหรับผู้สูงอายุ จึงมีความจำเป็นในการกำหนดทิศทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกายผู้สูงอายุกลุ่มภาวะพฤฒพลังอย่างเหมาะสม การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมในประเด็นนโยบายกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบ และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุ โดยใช้การสืบค้นรายงานวิจัยที่มีการตีพิมพ์ด้านกิจกรรมทางกายจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่างประเทศจำนวน 12 ฐานข้อมูล และฐานข้อมูลฯ ในประเทศจำนวน 5 ฐานข้อมูล ในช่วงปี ค.ศ. 2008-2018 ทำการกลั่นกรองโดยอิสระจากผู้ประเมินและนักวิจัย ผลการศึกษาพบว่า มีบทความวิจัยเกี่ยวกับโปรแกรมกิจกรรมทางกาย สิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนกิจกรรมทางกาย การเดินทาง และการเข้าถึงแหล่งข้อมูลกิจกรรมทางกายสำหรับผู้สูงอายุตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 315 เรื่อง จากการสืบค้น 3,239 เรื่อง โดยส่วนใหญ่เป็นรายงานวิจัยที่เกี่ยวกับด้านสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนกิจกรรมทางกายคิดเป็นร้อยละ 35.2 ด้านโปรแกรมกิจกรรมทางกายคิดเป็นร้อยละ 34.3 ด้านการเดินทางคิดเป็นร้อยละ 20.0 และด้านการเข้าถึงแหล่งข้อมูลกิจกรรมทางกายคิดเป็นร้อยละ 10.5 และงานวิจัยนี้มีข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ 1) องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ชมรมผู้สูงอายุและโรงเรียนผู้สูงอายุ ควรพัฒนาโปรแกรมกิจกรรมทางกายสำหรับผู้สูงอายุในลักษณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่บ้าน ในชุมชน/ในกลุ่ม ลดภาวะพฤติกรรมเนือยนิ่ง หรือโปรแกรมฯ ที่ร่วมกับการใช้สมาร์ทโฟน โดยจัดกิจกรรมอย่างน้อย 1 โปรแกรม ระยะเวลาอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ของกิจกรรมที่ออกแรงระดับปานกลาง และส่งเสริมกิจกรรมที่สร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ที่ส่งผลต่อระบบสมองและประสาทสัมผัสของผู้สูงอายุ อย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์ 2) กระทรวงคมนาคม ควรจัดให้ผู้สูงอายุพฤฒพลังเดินทางโดยอิสระ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และส่งเสริมให้มีระบบการขนส่งยืดหยุ่นตามความต้องการของผู้สูงอายุ 3) องค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ดำเนินการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เกื้อหนุนการมีกิจกรรมทางกายสำหรับผู้สูงอายุในทุกระดับ โดยมุ่งเน้นความปลอดภัย 4) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสถาบันการศึกษาต่างๆ ควรสร้างโอกาสในการเข้าถึงองค์ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมทางกายผ่าน smart phone และ application ต่างๆ และเนื่องจากผลจากการศึกษาครั้งนี้พบว่า การศึกษาเชิงผลกระทบของนโยบายทั้ง 4 มิติต่อระดับกิจกรรมทางกายนั้นมีน้อยมาก ดังนั้น จึงควรมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบของนโยบายดังกล่าว โดยเฉพาะนโยบายการพัฒนาระบบการเดินทางและสิ่งแวดล้อมที่เกื้อหนุนต่อกิจกรรมทางกายและผลลัพธ์สุขภาพของผู้สูงอายุ ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการกำหนดนโยบายและการวางแผนผู้สูงอายุต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectElderlyth_TH
dc.subjectกิจกรรมทางกายth_TH
dc.subjectการสร้างเสริมสุขภาพth_TH
dc.subjectPhysical Activityth_TH
dc.titleนโยบายกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุ: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบth_TH
dc.title.alternativePhysical Activity Policy for Active Aging: A Systematic Reviewth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativePhysical activity (PA) for the active aging becomes essential policy for health among the global countries, as well as Thailand. Thus, the database of PA policy is essential to accurately identify direction of formulating master plan to promote physical activity for active aging. The aims of this study were to: 1) systematic review the physical activity policy for active aging, and 2) recommend physical activity policy to promote active aging. A systematic review was conducted on PA research articles through 12 bibliographic international electronic databases and Thai articles were identified through 5 reference lists published during 2008-2018. Experts and researchers screened the selected papers independently. The result showed that out of 3,239 screened articles, a total of 315 studies were included in the review. Most studies (35.2%) were for the built environment (BE), 34.3% for the PA intervention, 20.0% for the active transportation (AT), and 10.5% the accessibility towards PA resources. According to the systematic review, recommendations were as follows. 1) The government and business organizations as well as older adults’ club and school should develop 6 PA intervention programs, namely, home-based, community-based, group-based, sedentary-based, noncommunicable disease-based, and smart phone application-based PA programs engaging in at least 150 minutes per week of moderate to vigorous PA. 2) The Ministry of Transportation should arrange AT to support independent mobility for active aging under the safe and flexible circumstances relevant to their needs. 3) The government and business sectors should develop built-environment policy to promote PA for older adults’ better lifestyle in all levels of social status with safety. 4) The Ministry of Digital Economy and Society, the Ministry of Social Development and Human Security as well as academic institutions should provide an opportunity and capability to older adults to access PA knowledge and information via smartphone and applications. Moreover, due to the lack of study regarding the impact of the 4 PA policies, further studies should focus more on the impact of PA policy, particularly on AT system and BE, as well as health outcome in active aging. The evidence from this study should be a basis for reformulation of future national elderly policy directions.th_TH
.custom.citationอัจฉรา ปุราคม, Atchara Purakom, มาสริน ศุกลปักษ์, Masarin Sukolpuk, นิตยา แสงชื่น and Nittaya Sangcheun. "นโยบายกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุ: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5230">http://hdl.handle.net/11228/5230</a>.
.custom.total_download3105
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month27
.custom.downloaded_this_year190
.custom.downloaded_fiscal_year375

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v14n ...
Size: 1.034Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1334]
    บทความวิชาการ

Show simple item record