Show simple item record

Application of System Dynamics Modelling for Health Workforce Planning for the Next 10 Years: A Pilot Project in the Regional Health 2

dc.contributor.authorกฤษดา แสวงดีth_TH
dc.contributor.authorKrisada Sawaengdeeth_TH
dc.contributor.authorวรารัตน์ ใจชื่นth_TH
dc.contributor.authorWararat Jaichuenth_TH
dc.contributor.authorขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทยth_TH
dc.contributor.authorKwanpracha Chiangchaisakulthaith_TH
dc.contributor.authorฑิณกร โนรีth_TH
dc.contributor.authorThinakorn Noreeth_TH
dc.contributor.authorกานต์วรินต์ ก่องกุลวัฒน์th_TH
dc.contributor.authorKarnwarin Gongkulawatth_TH
dc.contributor.authorทัดดาว ศรีบุรมณ์th_TH
dc.contributor.authorThatdao Sriburomth_TH
dc.date.accessioned2020-08-04T08:25:53Z
dc.date.available2020-08-04T08:25:53Z
dc.date.issued2563-07
dc.identifier.otherhs2583
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5239
dc.description.abstractการปฏิรูปกำลังคนด้านสุขภาพเป็นหนึ่งในประเด็นการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขที่กำหนดเป้าหมายให้มีกำลังคนด้านสุขภาพเพียงพอต่อการให้บริการสุขภาพเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการมีสุขภาพดีของประชาชน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนกำลังคนที่มีประสิทธิภาพที่จะทำให้มีกำลังคนที่มีสมรรถนะสอดคล้องกับความต้องการของระบบบริการสุขภาพอย่างเพียงพอและเหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบันระบบสุขภาพมีความซับซ้อนและมีพลวัตสูงจากปัจจัยต่างๆ รอบด้าน ทั้งปัจจัยภายใน ระบบกำลังคนด้านสุขภาพในเรื่องการผลิตและการไหลเวียนในตลาดแรงงาน และปัจจัยภายนอก เช่น การเติบโตของเทคโนโลยี ตลอดจนระบบเศรษฐกิจของประเทศ การศึกษานี้ได้นำวิธีการวิเคราะห์พลวัตระบบ (System Dynamics) มาใช้ในการออกแบบระบบบริการในอนาคตในระยะ 10 ปีข้างหน้า ผ่านกระบวนการที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม (Group Model Building) จากนั้นจึงนำมาสู่การคาดประมาณความต้องการกำลังคนในอนาคต (Workforce Modeling) ทำการศึกษาในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 47 แห่ง ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 2 โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิ ทุติยภูมิ การสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปชื่อ Stella ในการพัฒนาแบบจำลองในอนาคต การศึกษานี้ได้พัฒนาแบบจำลองพลวัตระบบรายสาขาโรคขึ้นทั้งสิ้น จำนวน 5 แบบจำลอง ตามความต้องการของคณะกรรมการเขตสุขภาพที่ 2 และความเห็นแพทย์ผู้รับผิดชอบการพัฒนาแผนระบบบริการ (Service Plan) ซึ่งประกอบด้วย แบบจำลองพลวัตระบบสาขาบริการจักษุวิทยา สาขาบริการโรคไต สาขาบริการศัลยกรรมทั่วไป สาขาบริการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและสาขาบริการโรคมะเร็ง สรุปผลการศึกษาสำคัญดังนี้ กลุ่มสาขาบริการจักษุวิทยาในอีก 10 ปีข้างหน้า ผู้ป่วย OPD โรคตา มีแนวโน้มจะเพิ่มเป็น 270,000 ครั้ง โดยผู้ป่วยโรคต้อกระจกจะลดลงเหลือ 135,000 ราย ในขณะที่ผู้ป่วยโรคต้อหินจะเพิ่มขึ้นเป็น 108,000 ราย เพื่อที่จะจัดบริการให้ทั่วถึงเขตสุขภาพที่ 2 จำเป็นต้องเพิ่มทรัพยากร ทั้งในเรื่องบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงการเพิ่มห้องผ่าตัด แต่พบว่านโยบายการจัดหน่วยผ่าตัดเคลื่อนที่และการเพิ่มเวลาการใช้ห้องผ่าตัดเป็นวิธีที่สามารถเพิ่มศักยภาพการจัดบริการที่ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการได้ กลุ่มสาขาบริการโรคไตในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการรับบริการ HD ที่จะเพิ่มไปจนถึงประมาณ 4,400 คน ขณะที่ผู้ที่ต้องการรับบริการ PD จะเพิ่มไปถึงประมาณ 1,700 คน แนวโน้มจำนวนผู้ป่วยโรคไตระยะ 4-5 ที่กำลังรอวันที่จะเข้าสู่ภาวะไตวายระยะสุดท้ายในอนาคต จะมีมากถึง 47,000 คน ศักยภาพของแพทย์และพยาบาลที่มีอยู่ของเขตสุขภาพที่ 2 ในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อการให้บริการผู้ป่วยจำนวนดังกล่าว โดยเฉพาะการขาดพยาบาลเฉพาะทางโรคไตที่จำเป็นต้องเพิ่มการพัฒนาบุคลากร กลุ่มสาขาบริการศัลยกรรมทั่วไป การคาดการณ์พบว่าจำนวนผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไปจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยกลุ่ม Non-Elective จะมีจำนวนเกิน 40,000 คน ขณะที่กลุ่ม Elective จะเพิ่มไปถึงประมาณ 24,000 คน ในปี 2572 และพบว่าทรัพยากรโดยเฉพาะศัลยแพทย์ในเขตสุขภาพที่ 2 ยังไม่เพียงพอในการให้บริการผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น กลุ่มบริการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คาดประมาณว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า จะมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในเขตสุขภาพที่ 2 ประมาณ 2 ล้านคน ในขณะที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะเพิ่มจำนวนถึง 500,000 คน ซึ่งหากมีการเพิ่มจำนวนแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวจะส่งผลให้เพิ่มประสิทธิภาพการรักษาตลอดจนลดภาวะแทรกซ้อนของโรคได้ กลุ่มสาขาบริการโรคมะเร็ง การศึกษานี้กำหนดขอบเขตที่โรคมะเร็งตับ พบว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า จำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ มีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น แต่อัตราการเสียชีวิตจะลดลงเนื่องจากระบบคัดกรองและการรักษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น อย่างไรก็ตามทรัพยากรการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ของเขตสุขภาพที่ 2 ยังคงมีไม่เพียงพอ โดยสรุป การบริหารจัดการเพื่อรองรับความต้องการบริการสุขภาพของประชาชนที่เพิ่มจำนวนสูงขึ้น โดยการบริหารจัดการที่เหมาะสม เช่น การเพิ่มศักยภาพด้วยการเพิ่มเวลาทำงานของเครื่องมือ หรือห้องผ่าตัดโดยลดเวลาที่สูญเสีย การใช้ทรัพยากรร่วมกันแบบ Pool Resource รวมทั้งการอบรมพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน เป็นต้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสาธารณสุขth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการใช้แบบจำลองพลวัตระบบในการวางแผนบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพในระยะ 10 ปีข้างหน้า: โครงการนำร่องเขตสุขภาพที่ 2th_TH
dc.title.alternativeApplication of System Dynamics Modelling for Health Workforce Planning for the Next 10 Years: A Pilot Project in the Regional Health 2th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe reform of human resources for health (HRH) is an essential component of healthcare reform in having adequate number of HRH to achieve good health of population. Hence, effective HRH planning is one of key elements to have proper number of competent HRH at the right time according to demand in complex and dynamic healthcare shaping from internal factor, such as educational system and labour market dynamic, and external factors, such as technology advancement and vigorous economy. This study employs “system dynamic” approach to demonstrate future healthcare services by extensive participation of related stakeholders, called “group model building” approach then future demand of HRH is developed. 47 health facilities including regional, general and district hospitals in Health region 2 are study sites. This study employs information from primary and secondary data for quantitation part and focus group discussion and in-depth interview for qualitative part. Stella Software is used to demonstrate future model of services. This study emphasizes 5 areas of services, namely eye services, kidney services, general surgery services, services for non-communicable disease and cancer services. For Opthalmological services in the next 10 years, OPD patients will increase to 270,000 visits. Patients with cataract will slightly decrease to 135,000 patients while patients with glaucoma will increase to 108,000 patients. For kidney service, patients with hemodialysis will increase to 4,400 patients while ones with peritoneal dialysis will reach 1,700 patients. Furthermore, chronic kidney disease level 4-5 will increase to 47,000 patients which exceed service capacity in health region 2. For patients with non-communicable disease, patients with hypertension in health region 2 will approach 2 million in the next 10 year while ones with DM will reach 500,000 at the same periods. For general surgery services, non-elective cases will over 40,000 patients whereas elective cases will reach 47,000 patients. Patients with liver cancer will increase. However, mortality rate will decline stemming from early detection and more effective treatment. This study demonstrates that an imbalance of supply of resources to deal with an increase service demand still exists. In summary, to tackle with an increase demand of health services in the future need proper management of health resources. This study demonstrates some effective management, for example an increase staff’s capacity, expands utilization of medical equipment and infrastructures such as operating room and pool-resource including strengthening HR development and training.th_TH
dc.identifier.callnoW76 ก278ก 2563
dc.identifier.contactno62-085
.custom.citationกฤษดา แสวงดี, Krisada Sawaengdee, วรารัตน์ ใจชื่น, Wararat Jaichuen, ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย, Kwanpracha Chiangchaisakulthai, ฑิณกร โนรี, Thinakorn Noree, กานต์วรินต์ ก่องกุลวัฒน์, Karnwarin Gongkulawat, ทัดดาว ศรีบุรมณ์ and Thatdao Sriburom. "การใช้แบบจำลองพลวัตระบบในการวางแผนบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพในระยะ 10 ปีข้างหน้า: โครงการนำร่องเขตสุขภาพที่ 2." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5239">http://hdl.handle.net/11228/5239</a>.
.custom.total_download152
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year19
.custom.downloaded_fiscal_year2

Fulltext
Icon
Name: hs2583.pdf
Size: 10.38Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record