Health Systems Challenges by the Intent of Primary Health Care: Synthesis of the Recommendations for Oral Health Care System Development for Thai Population
dc.contributor.author | วรารัตน์ ใจชื่น | th_TH |
dc.contributor.author | Wararat Jaichuen | th_TH |
dc.date.accessioned | 2020-09-30T03:09:13Z | |
dc.date.available | 2020-09-30T03:09:13Z | |
dc.date.issued | 2563-09-30 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 14,3 (ก.ค. - ก.ย. 2563) : 227-242 | th_TH |
dc.identifier.issn | 2672-9415 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5247 | |
dc.description.abstract | การพัฒนาระบบดูแลสุขภาพให้สามารถตอบสนองต่อความจำเป็นทางด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานของประชากรส่วนใหญ่ได้เป็นเป้าหมายที่ทั่วโลกคาดหวังให้บรรลุผลตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 ประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลกเห็นชอบให้นำหลักการสาธารณสุขมูลฐานมาใช้เป็นทิศทางหลักในการพัฒนา อย่างไรก็ตาม ข้อมูลปัจจุบันในส่วนของสุขภาพช่องปากของประชากรไทยกลับพบว่าเป้าหมายดังกล่าวยังไม่สามารถบรรลุผลได้ แม้จะล่วงเลยระยะเวลาที่คาดหวังให้บรรลุเป้าหมายนั้นมา 20 ปี บทความนี้เป็นการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุขมูลฐาน เพื่อทำความเข้าใจเจตนารมณ์ตั้งต้นของหลักการนี้ ร่วมกับการวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพช่องปากของประชากรไทย แล้วจึงสังเคราะห์เป็นประเด็นท้าทายในภาพรวมการพัฒนาระบบดูแลสุขภาพช่องปากของประชากรไทย และเสนอแนะแนวทางพัฒนาเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทางสุขภาพช่องปากของประชากรไทย โดยพบความท้าทาย 3 ประเด็น ประกอบด้วย 1) ความชัดเจนของเป้าหมายในการพัฒนาที่เห็นชอบร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยเฉพาะประชาชนผู้เป็นเจ้าของสุขภาพช่องปากตัวจริง 2) การทบทวนและปรับปรุงองค์ประกอบทั้ง 6 ส่วนของระบบสุขภาพ (six building blocks of health system) เพื่อขับเคลื่อนไปสู่การจัดบริการที่ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของประชากรส่วนใหญ่ และ 3) การจัดการปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อสุขภาพช่องปาก นอกเหนือไปจากการเข้ารับบริการทันตกรรม ในส่วนท้ายของบทความได้เสนอแนะ 3 ประเด็นเพื่อการบรรลุเป้าหมายตามเจตนารมณ์สาธารณสุขมูลฐาน ประกอบด้วย 1) การทบทวนการกำหนดเป้าหมายทันตสุขภาพระยะยาวควบคู่ไปกับเป้าหมายการพัฒนาระบบบริการ ผ่านการกำกับติดตามต่อเนื่อง 2) การขับเคลื่อนสู่เป้าหมายระยะยาวโดยอาศัยกลยุทธ์การบูรณาการไปกับนโยบายในปัจจุบันของกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ การบริหารจัดการในรูปแบบเขตสุขภาพ แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ และเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ และ 3) การบริหารจัดการให้มีทันตบุคลากรที่มีสมรรถนะเหมาะสมสำหรับระบบสุขภาพช่องปากในอนาคต ประกอบด้วย สมรรถนะในการวางแผนการจัดบริการ การให้บริการ และการประสานงาน | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | สาธารณสุขมูลฐาน | th_TH |
dc.subject | ทันตกรรม | th_TH |
dc.subject | สุขภาพช่องปาก | th_TH |
dc.title | ประเด็นท้าทายของระบบสุขภาพตามเจตนารมณ์สาธารณสุขมูลฐาน: บทสังเคราะห์ข้อเสนอการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพช่องปากของประชากรไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Health Systems Challenges by the Intent of Primary Health Care: Synthesis of the Recommendations for Oral Health Care System Development for Thai Population | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Health care system development had been the global basic health need goals of world population by the year 2000. Signatory countries to the World Health Organization agreed that the primary health care principles were the key for the development. However, current oral health data of Thai population show gaps to the expected goal even by 2020. This article is a review of documents related to the primary health care, aiming to understand the original intentions of this principle together with analyzing oral health situation of Thai population, then synthesizing challenges in the overall development of oral health care and proposing recommendations for improving the oral health service system to ensure oral health fairness. Three challenges are presented; 1) The oral health goals should be clarified with agreement among stakeholders including individuals who own their oral health, 2) Revising the six building block components of the health system and managing these driving components towards the goals, and 3) Managing other oral health determinant factors not limited to the utilization of oral health service delivery. In the end, three recommendations are proposed; 1) The long-term oral health goals review and revision together with service delivery system goals through periodic monitoring, 2) Integrating these long-term goals with the current policy practice of the Ministry of Public Health (the service plan, the regional health, and the district health system driving forces), and 3) Providing oral health personnel with appropriate competencies for the future oral health system, including planning skill, dental practitioner skill, and the coordination skill. | th_TH |
.custom.citation | วรารัตน์ ใจชื่น and Wararat Jaichuen. "ประเด็นท้าทายของระบบสุขภาพตามเจตนารมณ์สาธารณสุขมูลฐาน: บทสังเคราะห์ข้อเสนอการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพช่องปากของประชากรไทย." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5247">http://hdl.handle.net/11228/5247</a>. | |
.custom.total_download | 1803 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 101 | |
.custom.downloaded_this_year | 522 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 173 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ