แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การจัดหายาของโรงพยาบาลรัฐตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

dc.contributor.authorวราวัลย์ จึงศิวะพรพงษ์th_TH
dc.contributor.authorWarawan Chungsivapornpongth_TH
dc.contributor.authorนิธิเจน กิตติรัชกุลth_TH
dc.contributor.authorNitichen Kittiratchakoolth_TH
dc.contributor.authorสุธาสินี คำหลวงth_TH
dc.contributor.authorSuthasinee Kumluangth_TH
dc.contributor.authorอรพรรณ อ่อนจรth_TH
dc.contributor.authorOrapan Onjonth_TH
dc.contributor.authorศรีเพ็ญ ตันติเวสสth_TH
dc.contributor.authorSripen Tantivessth_TH
dc.date.accessioned2020-09-30T03:27:54Z
dc.date.available2020-09-30T03:27:54Z
dc.date.issued2563-09-30
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 14,3 (ก.ค. - ก.ย. 2563) : 311-326th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5249
dc.description.abstractพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2560 แทนระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ที่ใช้อยู่เดิม ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐเกิดความคุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และสามารถตรวจสอบได้เป็นอย่างดีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในทางปฏิบัติ การดำเนินงานตามพระราชบัญญัติใหม่นี้ มีขั้นตอนและรายละเอียดเพิ่มขึ้น และยังขาดแนวทางที่ชัดเจน ส่งผลให้เพิ่มระยะเวลาการจัดหายาและภาระงานของเจ้าหน้าที่ ตลอดจนมีความเสี่ยงต่อการเกิดยาขาดคราวเพิ่มขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การจัดหายาของโรงพยาบาลรัฐ ในช่วงแรกภายหลังการบังคับใช้พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างฯ พ.ศ. 2560 รวมถึงผลกระทบของพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อการจัดหายาของโรงพยาบาลรัฐในแต่ละขั้นตอน และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาระบบการจัดหายาในโรงพยาบาลรัฐในอนาคต รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการทบทวนเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก เน้นการวิเคราะห์ทั้งสถานการณ์การจัดหายาในโรงพยาบาลรัฐกลุ่มตัวอย่างจำนวน 7 แห่งและการทำความเข้าใจบทบาทของปัจจัยแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลที่เกิดจากกฎระเบียบที่เปลี่ยนแปลงไป การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อค้นพบที่สำคัญหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างฯ พ.ศ. 2560 ในระยะเวลา 1 ปี คือ 1) โรงพยาบาลมีวิธีปฏิบัติในการจัดหายาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับนโยบายของต้นสังกัดและการตีความกฎหมายการจัดหายาตามพระราชบัญญัตินี้ 2) ภาระงานเพิ่มขึ้นเนื่องจากงานด้านเอกสารและจำนวนรายการยาที่ต้องจัดหาเพิ่มขึ้น นำไปสู่ภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น 3) จำนวนบุคลากรที่รับผิดชอบจัดหายาของโรงพยาบาลไม่เพียงพอ และ 4) ระบบสนับสนุนการจัดซื้อจัดจ้างยังขาดความพร้อมหลายด้าน ดังนั้น หน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น กรมบัญชีกลาง สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ผู้บริหารโรงพยาบาล ผู้ผลิตและจำหน่ายยา ควรวางแผนจัดสรรบุคลากรให้เหมาะสมกับงานและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาระบบเอกสารการจัดหายาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และควรจัดให้มีการติดตามและประเมินการจัดหายา ทั้งกระบวนการและผลลัพธ์อย่างต่อเนื่องth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectโรงพยาบาลของรัฐth_TH
dc.subjectยา--การจัดซื้อth_TH
dc.subjectระบบยาth_TH
dc.subjectระบบยา--การจัดการth_TH
dc.titleการจัดหายาของโรงพยาบาลรัฐตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560th_TH
dc.title.alternativeDrug Procurement in Public Hospitals under the Public Procurement and Supplies Administration Act B.E. 2560 (2017)th_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeThe Public Procurement and Supplies Administration Act, B.E. 2560 (2017) came into force on 23 August 2017 to replace the Rule of the Office of the Prime Minister on Procurement, B.E. 2535 (1992). This Act aims to promote worthiness, transparency, efficiency, effectiveness, and accountability of government procurement. However, in practice, the Act introduces many more processes and details and lacks clear guidelines for operational compliance. This has impacted drug procurement in numerous ways such as longer procurement time, an increase in workload for staff, and the risk of drug shortage due to delays in the procurement process. The purpose of this study was to determine the current situation, issues faced, and impact on hospital workload by using a qualitative descriptive design. The data collection approach included reviews of various orders, regulations, and consequences affected by this Act, and in-depth interviews with drug procurement staff in 7 public hospitals, policymakers, and other stakeholders. Content analysis was employed for data analysis. The results revealed that one year after the Public Procurement and Supplies Administration Act, B.E. 2560 (2017) came into effect, drug procurement practices between hospitals varied depending on individual hospital policies and interpretations of the Act. In terms of hospital workload, procurement based on this Act led to an increase in overall workload such as the number of procured drugs, documentation, and operating expenses. Meanwhile, the number of hospital staff tasked with the procurement process was inadequate, and many aspects of the public procurement system and within hospitals themselves lacked readiness. Therefore, the Comptroller General’s Department and the Office of the Auditor General, as the agencies responsible for supervising operational compliance with the Public Procurement and Supplies Administration Act, should cooperate with public hospital management and public and private drug manufacturers and distributors to determine the optimal amount of staff required for procurement tasks. They should also support the use of information technology to develop a procurement document management system, and continuously monitor and assess the drug procurement process.th_TH
.custom.citationวราวัลย์ จึงศิวะพรพงษ์, Warawan Chungsivapornpong, นิธิเจน กิตติรัชกุล, Nitichen Kittiratchakool, สุธาสินี คำหลวง, Suthasinee Kumluang, อรพรรณ อ่อนจร, Orapan Onjon, ศรีเพ็ญ ตันติเวสส and Sripen Tantivess. "การจัดหายาของโรงพยาบาลรัฐตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5249">http://hdl.handle.net/11228/5249</a>.
.custom.total_download13059
.custom.downloaded_today3
.custom.downloaded_this_month459
.custom.downloaded_this_year3416
.custom.downloaded_fiscal_year733

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v14n ...
ขนาด: 322.5Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย