การศึกษาความเป็นไปได้และผลกระทบทางงบประมาณในการให้บริการเพทซีทีของโรงพยาบาลรัฐ 2 แห่งในประเทศไทย
dc.contributor.author | ชนิสา โชติพานิช | th_TH |
dc.contributor.author | Chanisa Chotipanich | th_TH |
dc.contributor.author | เจษฎาพร พร้อมเที่ยงตรง | th_TH |
dc.contributor.author | Chetsadaporn Promteangtong | th_TH |
dc.contributor.author | อัญชิสา คุณาวุฒิ | th_TH |
dc.contributor.author | Anchisa Kunawudhi | th_TH |
dc.contributor.author | ดริส ธีระกุลพิศุทธิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Daris Theerakulpisut | th_TH |
dc.date.accessioned | 2020-09-30T03:45:50Z | |
dc.date.available | 2020-09-30T03:45:50Z | |
dc.date.issued | 2563-09-30 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 14,3 (ก.ค. - ก.ย. 2563) : 327-343 | th_TH |
dc.identifier.issn | 2672-9415 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5250 | |
dc.description.abstract | ในปัจจุบัน การเข้าถึงการให้บริการตรวจเพทซีทีในประเทศไทย ผู้ป่วยยังคงไม่สามารถเข้าถึงได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากเป็นการตรวจวินิจฉัยที่มีราคาแพงและยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ การศึกษานี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและจุดคุ้มทุน ความเพียงพอของทรัพยากรที่เกี่ยวข้องในการใช้เครื่องเพทซีทีในประเทศไทย ในกรณีที่มีการกำหนดข้อบ่งชี้เพิ่มเติมในชุดสิทธิประโยชน์ เพื่อนำไปสู่การเบิกจ่ายในระบบบริการสุขภาพของประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลต้นทุนการตรวจวินิจฉัยโดยเครื่องเพทซีทีจากโรงพยาบาลรัฐระดับตติยภูมิจำนวน 2 แห่ง นำข้อมูลมาวิเคราะห์จุดคุ้มทุนที่เหมาะสม คาดการณ์เชิงเส้นที่มีการส่งตรวจเพทซีที และประมาณการผลกระทบด้านงบประมาณ จากการศึกษาพบว่า ต้นทุนต่อหน่วยของการบริการตรวจเพทซีทีจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ หากมีการเพิ่มจำนวนผู้ป่วย โดยพบว่าต้นทุนจะสูงถึงประมาณ 367,045 บาท ต่อการให้บริการผู้ป่วยเพียง 1 รายต่อสัปดาห์ และจะลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อให้บริการผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ถ้ามีผู้ป่วย 40 รายต่อสัปดาห์ ต้นทุนต่อหน่วยจะเหลือเพียง 22,725 บาท และจำนวนผู้ป่วย 14 รายต่อสัปดาห์ จะทำให้โรงพยาบาลไม่ขาดทุน ที่ราคาค่าตรวจฯ อยู่ที่อัตรา 40,000 บาทต่อครั้ง ผลการประเมินผลกระทบด้านงบประมาณพบว่า จะมีการส่งตรวจเพทซีทีเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.65 ต่อปี ภาระงบประมาณจะอยู่ที่ระหว่าง 24-26 ล้านบาทต่อปี สำหรับผู้ป่วยรายใหม่ในโรคมะเร็ง 9 ชนิด อย่างไรก็ตาม การประมาณการนี้ไม่รวมผู้ป่วยรายเก่าที่อยู่ระหว่างการรักษา หรือสงสัยการกลับเป็นซ้ำที่ต้องตรวจด้วยเพทซีที ทำให้การประมาณการผลกระทบงบประมาณต่ำกว่าความเป็นจริง คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรกำหนดการเบิกจ่ายค่าบริการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องเพทซีทีสำหรับกรณีที่มีข้อบ่งชี้ที่มีประโยชน์ทางคลินิก โดยให้ครอบคลุมทุกสิทธิประโยชน์การรักษา เนื่องจากมีภาระงบประมาณเพียง 24-26 ล้านบาทต่อปี และในขณะเดียวกันควรมีการสนับสนุนงบประมาณในการเบิกจ่ายจากระบบบริการสุขภาพของประเทศไทย เป็นเงินชดเชยให้กับสถานพยาบาล โดยไม่ควรอยู่ในงบประมาณเหมาจ่าย | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | บริการทางการแพทย์ | th_TH |
dc.subject | ต้นทุนต่อหน่วย | th_TH |
dc.subject | เครื่องเพทซีที--เครื่องมือและอุปกรณ์ | th_TH |
dc.subject | เครื่องเพทซีที | th_TH |
dc.title | การศึกษาความเป็นไปได้และผลกระทบทางงบประมาณในการให้บริการเพทซีทีของโรงพยาบาลรัฐ 2 แห่งในประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Feasibility and Budgetary Impact Study on PET/CT Service at 2 Government Hospitals in Thailand | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | At present, patients’ accessibility to positron emission tomography/computed tomography (PET/ CT) service in Thailand is still not feasible due to high costs of diagnosis and limited disbursement of government health insurance schemes. The objective of this study was to study the costs and break-even point for the use of PET/CT devices in Thailand if additional indications were covered in health coverage schemes. Data collection of PET/CT service was performed at 2 government hospitals. Diagnosis costs, linear prediction, and budgetary impact were then analyzed. The study showed that the unit cost of PET/CT would significantly decrease if the number of patients increased. The cost was approximately 367,045 baht per case if performed only 1 case a week and continuously decreased till 40 cases per week giving the unit cost only 22,725 baht. The disbursed rate of 40,000 baht per case would cause no loss to the hospital if performed 14 cases per week. The budgetary impact assessment expected an annual increase of 4.65% PET/CT uses with the disbursement of 40,000 baht per case. The annual conservative burden would amount to 24-26 million baht for new cases of patients with 9 types of cancer, excluding cases already underwent treatments, suspicious cases and recurrent cases that needed to be examined by PET/CT. However, it is recommended that the disbursement for PET/CT service should be considered in Thai health service system due to low budgetary impact of 24-26 million baht per year. Moreover, the budgetary support for this disbursement should not be managed within the capitation payment. | th_TH |
.custom.citation | ชนิสา โชติพานิช, Chanisa Chotipanich, เจษฎาพร พร้อมเที่ยงตรง, Chetsadaporn Promteangtong, อัญชิสา คุณาวุฒิ, Anchisa Kunawudhi, ดริส ธีระกุลพิศุทธิ์ and Daris Theerakulpisut. "การศึกษาความเป็นไปได้และผลกระทบทางงบประมาณในการให้บริการเพทซีทีของโรงพยาบาลรัฐ 2 แห่งในประเทศไทย." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5250">http://hdl.handle.net/11228/5250</a>. | |
.custom.total_download | 1596 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 17 | |
.custom.downloaded_this_year | 267 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 37 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ