Success Factors of the Senior Schools under the Bangkok Metropolitan Administration and an Educational Institution
dc.contributor.author | ขวัญสุดา เชิดชูงาม | th_TH |
dc.contributor.author | Kwansuda Cherdchoongarm | th_TH |
dc.date.accessioned | 2020-09-30T04:37:56Z | |
dc.date.available | 2020-09-30T04:37:56Z | |
dc.date.issued | 2563-09-30 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 14,3 (ก.ค. - ก.ย. 2563) : 357-373 | th_TH |
dc.identifier.issn | 2672-9415 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5252 | |
dc.description.abstract | สถานการณ์ผู้สูงอายุไทยนั้น มีการคาดการณ์ว่าสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 ในปี ค.ศ. 2021 โรคไม่ติดต่อเรื้อรังจะเป็นสาเหตุหลักของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของผู้สูงอายุไทย โดยค่าใช้จ่ายในระบบสุขภาพที่รัฐต้องจัดสรรมีจำนวนสูงถึง 2 แสนล้านบาทต่อปี การสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพผ่านทางโรงเรียนผู้สูงอายุ เป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขของประเทศ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานของโรงเรียนผู้สูงอายุรวมถึงพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุในสังกัดกรุงเทพมหานครและสังกัดสถาบันการศึกษา เพื่อค้นหาปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกด้านการบริหารงานของผู้อำนวยการโรงเรียนและผู้เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน การวิจัยเชิงปริมาณโดยวิจัยแบบพรรณนาเชิงเปรียบเทียบพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุทั้ง 2 สังกัด วิเคราะห์ด้วยสถิติ independent t-test ผลการศึกษาพบว่า การบริหารงานของโรงเรียนผู้สูงอายุมีความแตกต่างกันในด้านการบริหารงานและการสนับสนุนงบประมาณ พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนักเรียนผู้สูงอายุมีความแตกต่างกันในด้านการพัฒนาจิตวิญญาณและการจัดการความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพทั้ง 6 ด้านไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดกรุงเทพฯ คือ การจัดทำนโยบายสนับสนุนโรงเรียนผู้สูงอายุและการจัดสรรงบประมาณให้กับโรงเรียนผู้สูงอายุสังกัดกรุงเทพฯ ผู้กำหนดนโยบายควรศึกษาด้านการบริหารงานของโรงเรียนผู้สูงอายุ รวมถึงศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมด้านโภชนาการและการออกกำลังกายของผู้สูงอายุแต่ละชุมชนในจังหวัดกรุงเทพฯ ต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | th_TH |
dc.subject | พฤติกรรมสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | การสร้างเสริมสุขภาพ | th_TH |
dc.title | ปัจจัยความสำเร็จของการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุในสังกัดของกรุงเทพมหานครและสถาบันการศึกษา | th_TH |
dc.title.alternative | Success Factors of the Senior Schools under the Bangkok Metropolitan Administration and an Educational Institution | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Thailand’s older populations aged 60 years and over will be increased by 20 percent in 2021. Non-communicable diseases were the main cause of deaths in Thai older people while annual health expenditure costed the government around 200 billion baht. Health promotion through senior schools was one of the strategies to reduce the country’s health expenditure. This study aimed to investigate the administration of senior schools including older people health promotion behaviors of senior schools under the Bangkok Metropolitan Administration and an educational institution, and to explore success factors of the senior schools. The research design was a mixed method consisting of qualitative research of in-depth interviews with senior school directors and staffs regarding the administration, and quantitative comparative research on health promotion behaviors of older people in two types of senior schools. Data were analyzed using independent t-test. The results showed that the management of senior schools were different in terms of management process and budget support. Health promotion behaviors of the older people were significantly different at 0.05 level in the aspect of spiritual development and stress management. There was no difference in the aspect of overall health promotion behaviors. Recommendations to promote older people’s health in Bangkok were the policy supporting older people and budget allocation for senior schools of the Bangkok Metropolitan Administration. Policymakers should study more on senior schools’ management including factors that influence older people’s nutrition and exercise behavior in the communities of Bangkok. | th_TH |
dc.subject.keyword | โรงเรียนผู้สูงอายุ | th_TH |
.custom.citation | ขวัญสุดา เชิดชูงาม and Kwansuda Cherdchoongarm. "ปัจจัยความสำเร็จของการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุในสังกัดของกรุงเทพมหานครและสถาบันการศึกษา." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5252">http://hdl.handle.net/11228/5252</a>. | |
.custom.total_download | 2081 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 66 | |
.custom.downloaded_this_year | 581 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 136 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ