การจัดเครือข่ายบริการสุขภาพเชิงพื้นที่เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนบุคลากร
dc.contributor.author | ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย | th_TH |
dc.contributor.author | Theepakorn Jithitikulchai | th_TH |
dc.date.accessioned | 2020-09-30T04:46:48Z | |
dc.date.available | 2020-09-30T04:46:48Z | |
dc.date.issued | 2563-09-30 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 14,3 (ก.ค. - ก.ย. 2563) : 243-273 | th_TH |
dc.identifier.issn | 2672-9415 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5253 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้เป็นรายงานผลการวิเคราะห์เบื้องต้นของการจัดเครือข่ายบริการสุขภาพสำหรับกำลังคนด้านสุขภาพของโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการขาดแคลนกำลังคนและการจัดเครือข่ายบริการสุขภาพ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับนโยบายการจัดสรรทรัพยากรบุคคลเชิงพื้นที่เพื่อลดปัญหาความขาดแคลนบุคลากรสุขภาพของประเทศ ผลการศึกษาเปรียบเทียบอัตรากำลังคนขั้นต่ำ ณ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562 พบว่า สาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนมากที่สุด คือ พยาบาล ทันตแพทย์และแพทย์ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของ “ดัชนีความเข้มข้นของความขาดแคลน” ในระดับโรงพยาบาลทั่วประเทศ คือ ขาดแคลนเฉลี่ยร้อยละ 31, 29, และ 26 ตามลำดับ และประมาณร้อยละ 80 ของโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขขาดแคลนพยาบาล ทันตแพทย์และแพทย์ ซึ่งจำนวนขาดแคลนเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักสำหรับพยาบาล คือ 68 คนต่อโรงพยาบาล และจำนวนขาดแคลนเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักสำหรับแพทย์และทันตแพทย์ คือ 10 และ 3 คนต่อโรงพยาบาล ตามลำดับ โดยขาดแคลนพยาบาลรวมทั้งสิ้นประมาณ 16,000 คน และขาดแคลนแพทย์และทันตแพทย์ประมาณ 3,400 และ 1,000 คน ตามลำดับ โดยพยาบาลจะมีความขาดแคลนรุนแรงในระดับปฐมภูมิและตติยภูมิ แต่ไม่ขาดแคลนในระดับทุติยภูมิ ส่วนแพทย์มีปัญหาขาดแคลนรุนแรงในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ การจัดเครือข่ายของโรงพยาบาลในระดับบริการเดียวกันจะไม่สามารถลดปัญหาความขาดแคลนได้ เนื่องจากมีความขาดแคลนบุคลากรสูง จึงไม่เพียงพอที่จะจัดสรรให้บรรเทาความขาดแคลนได้ แต่ถ้าสามารถบริหารจัดการเครือข่าย โดยรวมกำลังคนที่อยู่ในระดับบริการใกล้เคียงกัน เช่น รวมระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิระดับต้น และทุติยภูมิระดับกลาง ภายในพื้นที่อำเภอเดียวกัน จะสามารถลดปัญหาความขาดแคลนพยาบาลได้ โดยดัชนีความเข้มข้นของความขาดแคลนแบบถ่วงน้ำหนักของพยาบาลจะสามารถลดลงจากร้อยละ 69 ในโรงพยาบาลระดับปฐมภูมิ เหลือร้อยละ 25 ได้เมื่อจัดเครือข่ายระดับอำเภอ โดยสามารถเกลี่ยจากระดับทุติยภูมิที่โดยเฉลี่ยไม่มีความขาดแคลน เพื่อช่วยพยาบาลในระดับปฐมภูมิและตติยภูมิ นอกจากนี้ การจัดเครือข่ายในระดับจังหวัดหรือเขตพื้นที่สุขภาพจะช่วยบรรเทาความขาดแคลนแพทย์ในระดับทุติยภูมิได้ อย่างไรก็ตาม การจัดเครือข่ายในรูปแบบต่าง ๆ ที่ศึกษาจะไม่สามารถลดปัญหาขาดแคลนโดยเฉลี่ยในสาขาวิชาชีพทันตแพทย์และเภสัชกร | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | กำลังคนด้านสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | บริการทางการแพทย์ | th_TH |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | th_TH |
dc.title | การจัดเครือข่ายบริการสุขภาพเชิงพื้นที่เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนบุคลากร | th_TH |
dc.title.alternative | Area-based Network Allocations: A Solution to Mitigate the Shortage of Health Workforce | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This study reports the simulation results of area-based network allocations for the health workforce in all hospitals under the Office of the Permanent Secretary of the Ministry of Public Health. The objective was to understand the workforce shortage status and results from alternative network allocations in the health regions to mitigate the shortage of health workforce. As of September 1, 2019, the weighted shortage intensity index shows 31%, 29%, and 26% shortage on average for nurses, dentists, and medical doctors. This study found 80% of hospitals had nurses, dentists, and medical doctors less than the minimum manpower requirements. The weighted average shortages of nurses were 68 per hospital, and shortages of doctors and dentists are 10 and 3 per hospital, respectively. The total shortages were 16,000 nurses, 3,400 doctors, and 1,000 dentists. There was a severe nurse shortage in sub-district health promoting hospitals and tertiary hospitals, but no shortage at secondary-level hospitals. Furthermore, the medical doctor shortage was severe at the secondarylevel hospitals. The empirical results show that area-based healthcare networking within the same hospital level could not mitigate the shortage due to high workforce scarcity. However, the networking of the primary- level with the first-and middle-secondary-level hospitals in the same districts could alleviate the nurse shortage. This decreased the weighted shortage intensity index for nurses from an average of 69% in the primary hospitals (status quo) to an average of 25% (ex-ante). Similarly, the networking of middle and high levels of hospitals at the provincial and regional levels could also alleviate the shortage in medical doctors. However, the area-based networking alternatives could not mitigate the shortage in dentists and pharmacists. | th_TH |
.custom.citation | ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย and Theepakorn Jithitikulchai. "การจัดเครือข่ายบริการสุขภาพเชิงพื้นที่เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนบุคลากร." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5253">http://hdl.handle.net/11228/5253</a>. | |
.custom.total_download | 2882 | |
.custom.downloaded_today | 1 | |
.custom.downloaded_this_month | 67 | |
.custom.downloaded_this_year | 1016 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 200 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ