แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ความสัมพันธ์และรูปแบบการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของทารกในครรภ์ที่ตรวจพบความผิดปกติของระบบประสาทและไขสันหลังกับการติดเชื้อไวรัสซิกา (ปีที่ 2)

dc.contributor.authorชยวัฒน์ ผาติหัตถกรth_TH
dc.contributor.authorChayawat Phatihattakornth_TH
dc.date.accessioned2020-11-16T08:34:23Z
dc.date.available2020-11-16T08:34:23Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.otherhs2602
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5267
dc.description.abstractตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 จนถึงปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่าประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสซิกาจากระบบเฝ้าระวังโรค ประมาณ 1-5 รายต่อปี โดยพบผู้ป่วยประปรายในทุกภาคของประเทศ แต่ไม่พบผู้ป่วยอาการรุนแรงในประเทศไทย และยังมีข้อบ่งชี้ทางน้ำเหลืองวิทยาว่ามีการติดเชื้อไวรัสซิกาในผู้ที่เป็นไข้ไม่ทราบสาเหตุ แต่ยังมีรายงานของทารกที่มีศีรษะเล็กมาแต่กำเนิดที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสซิกาในประเทศไทยจำนวนไม่มากนัก การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความผิดปกติของระบบประสาทและไขสันหลังทารกในครรภ์กับการติดเชื้อไวรัสซิกาในหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งอาจจะทำให้พบความสัมพันธ์ของภาวะดังกล่าวในประเทศไทยซึ่งเป็นพื้นที่ตรวจพบการระบาดของไวรัสซิกาได้ ดังนั้นการศึกษานี้ได้ทำการประเมินหญิงตั้งครรภ์ที่ตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจด้วยคลื่นความถี่สูงในส่วนสมองและไขสันหลังของทารกในครรภ์และประเมินการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อไวรัสซิกาอันจะทำให้ทราบร่องรอยการติดเชื้อไวรัสซิกาและรูปแบบการสนองของระบบภูมิคุ้มกันและอาจเข้าใจพยาธิกำเนิดในหญิงตั้งครรภ์ ผลการศึกษาในปีที่สองมีอาสาสมัครหญิงตั้งครรภ์ ทั้ง 50 ราย ที่พบความผิดปกติในระบบประสาทและไขสันหลังในทารก สามารถพบสารพันธุกรรมของไวรัสซิกาในน้ำคร่ำ 1 ราย (ร้อยละ 2.00) และในชิ้นส่วนของทารกที่ทำการยุติการตั้งครรภ์ 3 ราย (ร้อยละ 6.00) ซึ่งทั้งสามรายมีผลการตรวจแอนติบอดีที่จำเพาะต่อซิกา ชนิด IgG เป็นบวก มีเพียงรายเดียวที่มีระดับแอนติบอดีที่สามารถยับยั้งการติดเชื้อไวรัสซิกา สูงมากกว่า 1,280 จากผลการศึกษาพบว่า ความผิดปกติของระบบประสาทและไขสันหลังในทารกมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อซิกาไวรัสในมารดา ถึงร้อยละ 6 และระดับแอนติบอดีที่พบในมารดาไม่มีความสัมพันธ์กับบ่งชี้การติดเชื้อ แต่การตรวจวัดระดับแอนติบอดียังคงมีความสำคัญเพื่อบ่งชี้ความสามารถในการป้องกันการติดเชื้อในมารดา การศึกษานี้ชี้ว่าการติดเชื้อไวรัสซิกา อาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติในทารก ซึ่งต้องการการคัดกรองที่หลากหลายจะทำให้การวินิจฉัยได้แม่นยำขึ้น และแพทย์สามารถนำไปวางแผนดูแลการตั้งครรภ์ และการตรวจรักษาหลังคลอดได้ การคัดกรองการติดเชื้อที่รวดเร็วยังเป็นประโยชน์ให้แพทย์ใช้ประกอบการให้คำแนะนำและตัดสินใจในการยุติการตั้งครรภ์ในกรณีที่ทารกในครรภ์มีความพิการที่รุนแรง ซึ่งข้อมูลนี้สามารถรองรับการวิจัยวัคซีนทางคลินิกในอนาคตต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectไวรัสซิกาth_TH
dc.subjectZika Virusth_TH
dc.subjectหญิงตั้งครรภ์th_TH
dc.subjectทารกในครรภ์--ความผิดปกติth_TH
dc.subjectโรคติดต่อ--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleความสัมพันธ์และรูปแบบการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของทารกในครรภ์ที่ตรวจพบความผิดปกติของระบบประสาทและไขสันหลังกับการติดเชื้อไวรัสซิกา (ปีที่ 2)th_TH
dc.title.alternativeAssociation between CNS anomaly and immunological profiles in fetus during pregnancy and zika virus infection (2nd year)th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoWC100 ช189ค 2563
dc.identifier.contactno62-035
.custom.citationชยวัฒน์ ผาติหัตถกร and Chayawat Phatihattakorn. "ความสัมพันธ์และรูปแบบการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของทารกในครรภ์ที่ตรวจพบความผิดปกติของระบบประสาทและไขสันหลังกับการติดเชื้อไวรัสซิกา (ปีที่ 2)." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5267">http://hdl.handle.net/11228/5267</a>.
.custom.total_download34
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year7
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2602.pdf
ขนาด: 977.9Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย