• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การวิเคราะห์สถานการณ์การเข้าถึงยาจำเป็นในประเทศไทย : ความไม่สอดคล้องของนโยบาย

ชุติมา อรรคลีพันธุ์; Chutima Akaleephan; กมลวรรณ เขียวนิล; Kamonwan Kiewnin; จีรภา โสสม; Jeerapa Sosom; มินตรา หงษ์ธำรง; Mintar Hongtumrong;
วันที่: 2563-10
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ความไม่สอดคล้องของนโยบายที่เกี่ยวเนื่องกับการเข้าถึงยาจำเป็นในประเทศไทย โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ความสอดคล้องของนโยบาย (policy coherence analysis) ซึ่งเริ่มจากการรวบรวมนโยบายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องทั้งหมด จัดทำห่วงโซ่คุณค่ายาที่เหมาะสมกับประเทศไทยหารือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้แทนหน่วยงานที่รับผิดชอบแต่ละนโยบาย รวมถึงการวิเคราะห์เนื้อหาสำคัญของนโยบาย โดยที่กลุ่มนโยบายที่สนใจคือ สุขภาพ การค้าและเศรษฐกิจ และพิจารณาประเด็นทั้งที่สอดคล้องและไม่สอดคล้อง ช่องว่างของประเด็นที่พบและนำเสนอเพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นในขั้นตอนสุดท้าย ผลการศึกษาพบว่า นโยบายที่เกี่ยวกับห่วงโซ่คุณค่ายาที่สำคัญมี 9 นโยบาย/กฎหมายระหว่างประเทศ และมี 24 นโยบาย/ยุทธศาสตร์/กฎระเบียบในประเทศ สำหรับนโยบายระหว่างประเทศ (Sustainable Development Goals) และในประเทศ (ยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูป) มีความเชื่อมโยงกันในด้านสุขภาพแต่ไม่มีด้านการค้า สำหรับนโยบายในประเทศมี 2 กรณี คือ ในยุทธศาสตร์ชาติด้านเศรษฐกิจและการค้า และด้านสุขภาพ เห็นประเด็นสุขภาพในด้านการขยายเศรษฐกิจมากกว่าที่จะเห็นผลกระทบซึ่งกันและกัน ในกรณีความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายแห่งชาติด้านยามีความสอดคล้องกัน เช่นเดียวกันกับกฎหมายที่สัมพันธ์กับความตกลงระหว่างประเทศกรณีที่พบความไม่สอดคล้องของนโยบายจะเป็นในระดับการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติโดยเฉพาะในประเด็นของการกำหนดสิทธิพิเศษเพื่อจูงใจผู้ผลิต/ประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมด้วยมาตรการทางภาษีและการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ รวมถึงราคาที่สถานพยาบาลจัดซื้อ เป็นการสมควรที่หน่วยงานรับผิดชอบจะได้ติดตามประเมินผลของนโยบายเหล่านี้ในด้านประสิทธิผล และการบรรลุเป้าหมาย
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2603.pdf
ขนาด: 1.588Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 5
ปีพุทธศักราชนี้: 3
รวมทั้งหมด: 81
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV