• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Documents/Pocket Books
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Documents/Pocket Books
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ต้นแบบเพื่อจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 3 : พ.ศ. 2563

กระทรวงสาธารณสุข. สำนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข;
วันที่: 2563
บทคัดย่อ
ภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล และการสนับสนุนงานวิจัยทางคลินิกของกระทรวงสาธารณสุข การดำเนินงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพในระดับที่ได้รับการยอมรับตามมาตรฐานของประเทศและในระดับสากล ดังนั้นทุกกระบวนและทุกขั้นตอนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ จะต้องมีการกำหนดและเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่ออธิบายรายละเอียดให้นักวิจัยผู้ใช้และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ได้เข้าใจและปฏิบัติไปในแนวทางที่สอดคล้องกัน กระทรวงสาธารณสุขโดยสำนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส) และโครงการศูนย์วิจัยทางคลินิกแห่งชาติ (National Clinical Research Center หรือ NCRC) จึงได้ปรับปรุงต้นแบบเพื่อใช้ในการจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ (SOP) กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้คณะกรรมการฯ และผู้รับผิดชอบงานจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขโดยเฉพาะคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยฯ ระดับหน่วยงาน ระดับจังหวัด และระดับเขตสุขภาพ ได้นำไปใช้เป็นต้นแบบในการจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ตามบริบทของแต่ละหน่วยงาน กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำต้นแบบเพื่อจัดทำมาตรฐาน ซึ่งการปฏิบัติงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข ฉบับแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ได้มีการทบทวนและพัฒนาต้นแบบ เพื่อจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ ฉบับที่ 2 ในปี พ.ศ. 2561 เพื่อให้มีความเหมาะสมตามบริบทที่เปลี่ยนแปลงและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล และระบบรับรองคุณภาพ ซึ่งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนประจำสถาบัน หรือ NECAST (National Ethics Committee Accreditation System of Thailand) โดยปรับเนื้อหาให้ทันสมัยสอดคล้องกับมาตรฐานปัจจุบัน และเหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน และเพิ่มบทที่ 25 การทำงานร่วมกันระหว่างคณะกรรมการกลางฯ และคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยฯ ของหน่วยงาน (Co-operation between CREC and Local Ethics Committee) ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคนแบบสหสถาบันระหว่างสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช) และกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งลงนามไปเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ต่อมาสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการยอมรับคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนที่พิจารณาโครงการวิจัยทางคลินิก เกี่ยวกับยาเมื่อ วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561 สำนักวิชาการสาธารณสุขจึงได้ดำเนินการทบทวนและพัฒนาเนื้อหาต้นแบบเพื่อจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ (SOP) กระทรวงสาธารณสุขให้สอดคล้องกับประกาศดังกล่าว ได้แก่ โครงสร้างคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ในบทที่ 2, การทบทวน ประเมินและพิจารณาโครงร่างการวิจัยในบทที่ 7, 8, 9 เป็นต้น ดังที่ปรากฏในต้นแบบมาตรฐานการปฏิบัติงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ (SOP) กระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2563 เพื่อนำไปเผยแพร่ให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขต่อไป
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2606.pdf
ขนาด: 17.39Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

แจ้งปัญหาการดาวน์โหลด | คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 27
ปีพุทธศักราชนี้: 20
รวมทั้งหมด: 101
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Documents/Pocket Books [578]

    เอกสารเผยแพร่/พ็อกเกตบุ๊ก

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • การสังเคราะห์ทางเลือกและข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 

    ภูดิท เตชาติวัฒน์; Phudit Tejativaddhana; ธันวดี สุขสาโรจน์; Thunwadee Suksaroj; ชีระวิทย์ รัตนพันธ์; Cheerawit Rattanapan; อรพินท์ เล่าซี้; Orapin Laosee; วิชช์ เกษมทรัพย์; Vijj Kasemsup; อรุณศรี มงคลชาติ; Aroonsri Mongkolchati; สมศักดิ์ วงศาวาส; Somsak Wongsawass; ภานุวัฒน์ ปานเกตุ; Panuwat Panket; ชวินทร์ ศิรินาค; Chawin Sirinak; ชาติชาย สุวรรณนิตย์; Chatchay Suvannit; สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ; Somboon Sirisunhirun; ศักดา อาจองค์ วัลลิภากร; Sakda Arj-Ong Vallibhakara (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-04-28)
    การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีเป้าประสงค์เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)/อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายพัฒนาที่ยั่งยืน ...
  • กรอบการวิจัย สวรส. ปี 2562 ประเด็นวิจัย : Service delivery, Workforce, Governance 

    จรวยพร ศรีศศลักษณ์; Jaruayporn Srisasalux (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2560-01-15)
    เอกสารนำเสนอประกอบการประชุมชี้แจงกรอบการวิจัยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2562 ประเด็นวิจัย การพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ ระบบบริการ และระบบอภิบาลสุขภาพ วันที่ 15 มกราคม 2561 ณ โรงแรมรามาการ์เดน กรุงเทพ
  • การศึกษาข้อคิดเห็นของผู้มีส่วนร่วมโดยตรง (Direct stake holders) ต่อรูปแบบต้นสังกัดของสถานีอนามัยในเขตอำเภอบ้านแพ้วภายหลังการออกนอกระบบราชการของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว 

    ศิริวรรณ ศิริบุญ; Siriwan Siriboon; ศิริพันธุ์ สาสัตย์; บุศริน บางแก้ว; สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล; Siriphan Sasatry; Busarin Bangkaew; Sutthichai Jitapunkul (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2547)
    โรงพยาบาลบ้านแพ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร เป็นโรงพยาบาลของรัฐเพียงโรงพยาบาลเดียวที่ออกนอกระบบราชการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543 โดยได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นองค์กรที่มีบทบาทและหน้าที่สำคัญในการให้บริการด้านสุขภ ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น | แจ้งปัญหาการใช้งาน
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [497]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [78]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [255]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [81]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [120]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [999]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [202]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [16]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น | แจ้งปัญหาการใช้งาน
Theme by 
Atmire NV