บทคัดย่อ
การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ส่งผลให้รัฐบาลไทยประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม - 30 เมษายน พ.ศ. 2563 และรณรงค์มาตรการ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” เพื่อหยุดการแพร่ระบาดของโรคไปในวงกว้าง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรการ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” เพื่อนำไปเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายในการปรับมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ รวมถึงเผยแพร่สถานการณ์ตามผลการสำรวจและคำแนะนำถึงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการดำเนินชีวิตให้ประชาชน ระเบียบวิธีศึกษา ใช้แบบสอบถามออนไลน์ (online questionnaire) ของ Google Forms โดยปรับปรุงคำถามใหม่ทุกสัปดาห์ระหว่างวันที่ 2 - 30 เมษายน พ.ศ. 2563 รวมทั้งหมด 4 ชุดคำถาม และคัดเลือกกลุ่มประชากรด้วยวิธีการสุ่มตามความสะดวก (convenient sampling) โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางสื่อสารของหน่วยงานรัฐและทางโซเชียลมีเดียของบุคคลผู้มีชื่อเสียงเพื่อให้ประชาชนร่วมตอบแบบสอบถาม ผลการศึกษา การสำรวจนี้มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 99,865 คน (ชาย ร้อยละ 28.4, หญิง ร้อยละ 71.6) อายุเฉลี่ย 42 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือสูงกว่า ร้อยละ 84.8 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 99.8 เข้าใจว่าควรทำตามมาตรการ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” อย่างไร และร้อยละ 93.7 คิดว่ามาตรการดังกล่าวช่วยลดการระบาดของโรคได้ ผู้ตอบแบบสอบถาม ร้อยละ 53.0 ไม่ได้ออกนอกบ้าน สำหรับผู้ที่ออกจากบ้านเหตุผลหลัก คือ ไปทำงาน (ร้อยละ 62.3) และธุระจำเป็น เช่น ซื้ออาหาร/ของใช้ หาหมอ (ร้อยละ 62.1) สิ่งที่ผู้ตอบแบบสอบถามต้องการให้สนับสนุนมากที่สุดเพื่อให้การอยู่บ้านเป็นไปได้ คือ ลดค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค (ร้อยละ 35.4) สำหรับด้านพฤติกรรมการป้องกันโรค พบว่า ดัชนีค่าเฉลี่ยเรขาคณิตของพฤติกรรมการป้องกันตนเองโดยรวมซึ่งประกอบด้วย 5 พฤติกรรม ได้แก่ รักษาระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 2 เมตร, ใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า, ล้างมือด้วยน้ำสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์, งดการสัมผัสใบหน้า จมูก ตาและปาก รวมถึงทานอาหารร้อนและใช้ช้อนส่วนตัว คิดเป็น 0.70, 0.76, 0.75, และ 0.78 ตามลำดับในสัปดาห์ที่ 1-4 ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 80.2 ยินยอมให้จัดสถานที่ควบคุมเพื่อสังเกตอาการเริ่มป่วยในชุมชนของตน ส่วนผลกระทบต่อรายได้ พบว่า ในสัปดาห์ที่ 1 และ 2 ของการสำรวจ มีร้อยละ 43.3 ตอบว่ารายได้ลดลงหรือไม่มีรายได้เลย และในสัปดาห์ที่ 3 และ 4 มีร้อยละ 52.1 ตอบว่ารายได้ลดลง ในด้านความคิดเห็นต่อการผ่อนคลายมาตรการ พบว่าร้อยละ 49.1 ยังไม่พร้อมผ่อนคลายในเดือนพฤษภาคม และร้อยละ 60.1 ระบุว่าสามารถทนปฏิบัติตามมาตรการ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ต่อไปได้อีก 4 สัปดาห์ขึ้นไป โดยมีร้อยละ 22.3 วางแผนที่จะเดินทางออกนอกจังหวัดภายใน 1 สัปดาห์ หากรัฐบาลผ่อนคลายมาตรการ สรุปผลการศึกษา มาตรการ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ได้รับความร่วมมือจากประชาชนเป็นอย่างดีทั้งในด้านการพยายามอยู่บ้านและการมีพฤติกรรมป้องกันตนเองจากการติดเชื้อและแพร่กระจายโรค ถึงแม้ว่าประชาชนจำนวนมากจะได้รับผลกระทบต่อรายได้ โดยภาพรวมประชาชนยังไม่คิดว่าควรผ่อนคลายมาตรการดังกล่าวและสามารถอยู่กับมาตรการนี้ต่อไปได้อีกอย่างน้อยหนึ่งเดือนหลังจากเมษายน ข้อเสนอเชิงนโยบายจากการสำรวจนี้ คือ ต้องรณรงค์เรื่องการอยู่บ้านและพฤติกรรมป้องกันตนเองอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลควรพิจารณาผ่อนคลายมาตรการโดยคำนึงถึงความเสี่ยงและความจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน รวมถึงจัดเตรียมสถานที่ควบคุมเพื่อสังเกตอาการเริ่มป่วยให้เพียงพอและติดตามการปฏิบัติตัวของประชาชนต่อไปอีกระยะหนึ่ง
บทคัดย่อ
Background The Coronavirus disease (COVID-19) pandemic invoked the government’s declaration of state of emergency nationwide taking effect from March 26 to April 30, 2020 in Thailand. The country promoted the public health campaign “Stay Home, Stop the Virus, For the Country” hoping to bend down the epidemic curve. This research aims to assess people’s adherence to such lockdown measures in order to provide recommendations for policy adjustments based on the changing situations from population’s side as well as inform the results and recommend desirable behaviours to the general public. Methodology We used online survey platform run by Google Forms service. Questionnaires were adjusted every week throughout the survey period from April 2-30, 2020 making four sets of questionnaires in total. Population were recruited by convenient sampling advertised through communication channels of various public or ganisations and social media influencers. Results These surveys achieved 99,865 respondents in total. Key demographic data were: 28.4% male and 71.6% female; average age of 42 years; and 84.8% holding bachelor’s degree or higher. We found that 99.8% understood how to follow “Stay Home, Stop the Virus, For the Country” campaign and 93.7% believed that such measure could slow down the outbreak. As much as 53.0% of respondents reported they stayed home all day whereas the main reasons among those who went out were going to work (62.3%) and doing necessary activities such as buying consumables or seeking healthcare (62.1%). The support needed most to make staying home possible was discounted utility bills (35.4%). The surveys showed that Personal Prevention Indices, a geometric mean of five desirable behaviours namely 2-metre physical distancing, wearing face mask, hand washing, avoid touching face, nose, eyes and mouth, practicing good food hygiene, were 0.70, 0.76, 0.75, and 0.78 respectively for Weeks 1-4. Most respondents (80.2%) agreed to have state/local quarantine located in their residing communities. Household’s economic impact was observed as 43.3% of respondents found experiencing income loss in Weeks 1-2 and 52.1% in Weeks 3-4. In addition, 49.1% of respondents believed their provinces were not ready for easing lockdown restrictions and 60.1% stated that they could bear living with these measures for additional four weeks or longer after April. However, 22.3% of the respondents planned to travel out of their residing provinces within a week should the government allowed. Conclusion The public health campaign “Stay Home, Stop the Virus, For the Country” achieved good adherence by the public in terms of trying to stay home and practicing personal preventive behaviours although a significant number of people facing detrimental impact on incomes. Overall, people did not believe the country was ready for easing lockdown and could accept this strict policy for at least another month after April. We propose the following policy recommendations: continue promoting the stay home policy and personal prevention behaviours; considering easing lockdown based on risk of transmission and essential activities for daily lives as well as preparing adequate state/local quarantine; and continue monitoring people’s behaviours until the situation becomes desirable.