แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชและการพัฒนาโปรแกรมเพื่อป้องกันการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชในเด็กที่อาศัยในพื้นที่เกษตรกรรม

dc.contributor.authorสาธินี ศิริวัฒน์th_TH
dc.contributor.authorSatinee Siriwatth_TH
dc.contributor.authorจักรกฤษณ์ พลราชมth_TH
dc.contributor.authorChakkrit Ponrachomth_TH
dc.contributor.authorอภิรดี วังคะฮาตth_TH
dc.contributor.authorApiradee Wangkahartth_TH
dc.contributor.authorศรีวิภา ช่วงไชยยะth_TH
dc.contributor.authorSriwipa Chuangchaiyath_TH
dc.contributor.authorฐิติรัช งานฉมังth_TH
dc.contributor.authorThitirat Nganchamungth_TH
dc.date.accessioned2020-12-07T04:05:11Z
dc.date.available2020-12-07T04:05:11Z
dc.date.issued2563-07
dc.identifier.otherhs2612
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5277
dc.description.abstractจากการศึกษาการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชในเด็กอายุ 1-3 ปี ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เกษตรกรรมจังหวัดสกลนคร พบสารกำจัดศัตรูพืชที่ผิวหนังบริเวณมือและเท้าของเด็กที่อาศัยในพื้นที่เกษตรกรรม ร้อยละ 100 อันเนื่องมาจากเด็กในช่วงวัยนี้มีพฤติกรรมและกิจกรรมแตกต่างจากช่วงวัยอื่นๆ เช่น การอมมือ การเก็บสิ่งของที่ไม่ใช่อาหารเข้าปาก การคลาน การเล่นบริเวณพื้นหรือบริเวณที่สัมผัสกับดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่อาศัยในพื้นที่เกษตรกรรมและมีการใช้สารกำจัดศัตรูพืชเป็นประจำในฤดูกาลเพาะปลูก ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชมากกว่าเด็กที่อยู่อาศัยในพื้นที่อื่น อีกทั้งเด็กอายุ 1-3 ปี เป็นกลุ่มที่เปราะบางและอาจมีความเสี่ยงในการสัมผัสสูงจากการอาศัยอยู่กับผู้ปกครองที่มีอาชีพเป็นเกษตรกร ซึ่งพฤติกรรมของผู้ปกครองในการป้องกันการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชในเด็กอายุ 1 – 3 ปี ที่อาศัยในพื้นที่เกษตรกรรมนั้นไม่เป็นไปตามพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เนื่องจากบริบทของพื้นที่เกษตรกรรมและที่อยู่อาศัยหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช ประกอบกับผู้ปกครองไม่ได้มีวิธีในการดูแลเด็กที่เฉพาะเจาะจงสำหรับเด็กที่อยู่อาศัยในพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งพฤติกรรมของผู้ปกครอง ได้แก่ การออกจากพื้นที่เมื่อได้กลิ่นของสารเคมีที่มีการฉีดพ่น (กลิ่นมา พากันวิ่งหนี) การดูแลเด็กเหมือนกันกับเด็กที่อยู่อาศัยในพื้นที่อื่นที่ไม่มีการใช้สารกำจัดศัตรูพืช (ลูกฉัน ก็เหมือนเด็กทั่วไป) การรับรู้ว่าเด็กในพื้นที่ต้องได้รับสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง (ป้องกันไม่ได้ ยังไงก็ต้องสัมผัส) เป็นต้น การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชของเด็กอายุ 1-3 ปี ที่เป็นอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการที่มีการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชอยู่ในระดับที่ยอมรับไม่ได้อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ต้องได้รับการป้องกันและลดการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชในพื้นที่เกษตรกรรม โดยผู้ปกครองเป็นกุญแจสำคัญในการดูแลและป้องกันในการลดการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชให้กับเด็ก การศึกษาในครั้งนี้ทำให้ทราบชนิดและปริมาณของสารกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างบริเวณผิวหนังของเด็กที่อาศัยในพื้นที่เกษตรกรรมและได้นำผลการศึกษาไปพัฒนา “โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ปกครองในการป้องกันการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชในเด็กที่อาศัยในพื้นที่เกษตรกรรม สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล” เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์และเป็นแนวทางในการลดและป้องกันการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชในเด็กที่อาศัยในพื้นที่เกษตรกรรม อย่างไรก็ตามการศึกษาในครั้งนี้เป็นเพียงแนวทางหนึ่งในการป้องกันและลดการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชในพื้นที่เกษตรกรรม ต้องอาศัยพลังความร่วมมือของชุมชน ภาคเอกชนและภาครัฐบาลในการร่วมมือในทุกระดับอย่างเข้มแข็งต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectเกษตรกรรมth_TH
dc.subjectยากำจัดศัตรูพืชth_TH
dc.subjectสารเคมี--ผลกระทบต่อสุขภาพth_TH
dc.subjectการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Risk Assessmentth_TH
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชและการพัฒนาโปรแกรมเพื่อป้องกันการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชในเด็กที่อาศัยในพื้นที่เกษตรกรรมth_TH
dc.title.alternativeHealth risk assessment of pesticide exposure and program development to prevent pesticide exposure among children in agricultural areasth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoSB ส642ก 2563
dc.identifier.contactno62-105
.custom.citationสาธินี ศิริวัฒน์, Satinee Siriwat, จักรกฤษณ์ พลราชม, Chakkrit Ponrachom, อภิรดี วังคะฮาต, Apiradee Wangkahart, ศรีวิภา ช่วงไชยยะ, Sriwipa Chuangchaiya, ฐิติรัช งานฉมัง and Thitirat Nganchamung. "การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชและการพัฒนาโปรแกรมเพื่อป้องกันการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชในเด็กที่อาศัยในพื้นที่เกษตรกรรม." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5277">http://hdl.handle.net/11228/5277</a>.
.custom.total_download133
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year21
.custom.downloaded_fiscal_year3

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2612.pdf
ขนาด: 11.88Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย