บทคัดย่อ
บทนำ การติดเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะเป็นปัญหาสำคัญในระดับชาติ โดยเฉพาะกับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และที่สำคัญพบว่าผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อจะมีอัตราการเสียชีวิตสูง มีระยะเวลาในการครองเตียงเพื่อรักษาเป็นเวลานาน และมีค่าใช้จ่ายสูง กลุ่มเชื้อแบคทีเรียแกรมลบที่เป็นปัญหาสำคัญ คือ เชื้ออซีเนโตแบคเตอร์ บอมมานิไอและเอนเทอโรแบคทีเรียซีอี โดยเฉพาะเชื้อที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะคาร์บาพีเนม วัตถุประสงค์ของโครงการ ศึกษาระบาดวิทยาทางคลินิกและโมเลกุลของเชื้ออซีเนโตแบคเตอร์ บอมมานิไอและเอนเทอโรแบคทีเรียซีอีที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะคาร์บาพีเนมในเครือข่ายโรงพยาบาลภาคใต้ตอนล่างและความสัมพันธ์เชิงปริภูมิกาลของเชื้อทั้งสองชนิดนี้จากสิ่งส่งตรวจทางคลินิก การตรวจคัดกรองในผู้ป่วย และการสำรวจสิ่งแวดล้อมในแต่ละโรงพยาบาลและเครือข่ายโรงพยาบาล และประเมินประสิทธิภาพของการควบคุมการติดเชื้อ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานข้อมูลระบาดวิทยาและความสัมพันธ์เชิงปริภูมิกาลในระดับโรงพยาบาลและในเครือข่ายโรงพยาบาล วิธีการศึกษา การรวบรวมเชื้ออซีเนโตแบคเตอร์ บอมมานิไอและเอนเทอโรแบคทีเรียซีอีที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะคาร์บาพีเนมจากโรงพยาบาลที่อยู่ในเครือข่ายซึ่งประกอบด้วย โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ โรงพยาบาลประจำจังหวัด สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส พัทลุง สตูล และตรัง ตลอดจนศึกษาระบาดวิทยาทางคลินิกและโมเลกุล รวมถึงความสัมพันธ์เชิงปริภูมิกาลและใช้ระบบการควบคุมการติดเชื้อโดยอาศัยข้อมูลข้างต้น ทำการประเมินประสิทธิภาพของระบบการควบคุมการติดเชื้อโดยวัดจากปริมาณการติดเชื้อทั้งสองชนิดนั้นในโรงพยาบาลที่ทำการศึกษา ผลการศึกษา ในส่วนแรกเป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงโมเลกุลและการวิเคราะห์เชิงปริภูมิกาลของการติดเชื้อและการสร้างอาณานิคม ตลอดจนการปนเปื้อนของเชื้ออซิเนโตแบคเตอร์ บอมมานิไอที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะคาร์บาพีเนมและเอนเทอโรแบคทีเรียซีอีที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะคาร์บาพีเนมในเครือข่ายโรงพยาบาลในภาคใต้ตอนล่าง เป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 พบว่า การกระจายตัวของเชื้อแบคทีเรียทั้ง 2 ชนิด มีความสัมพันธ์กันในทุกโรงพยาบาลในเครือข่าย โดยตรวจพบความใกล้ชิดกันในระดับโมเลกุล ซึ่งมีความเชื่อมโยงกันเชิงปริภูมิกาลและพบว่าการติดเชื้อทั้งสองชนิดนี้ก่อให้เกิดอัตราการเสียชีวิตสูงและก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย อัตราการครองเตียงเป็นระยะเวลานานและค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสียชีวิตคือความรุนแรงของโรคขณะเข้ารับการรักษา ซึ่งแสดงโดย Acute Physiology And Chronic Health Evaluation II (APACHE II) score และการได้รับยาปฏิชีวนะแบบ empiric อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ยังพบว่า การสร้างอาณานิคมของเชื้อทั้งสองชนิดนี้ในผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยบำบัดวิกฤต พบว่าผู้ป่วยที่มีการสร้างอาณานิคมของเชื้อทั้งสองชนิด มีอัตราการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาสูงกว่าในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีการสร้างอาณานิคม และพบว่าการสร้างอาณานิคมของเชื้อทั้งสองชนิดนี้ ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย อัตราการครองเตียงที่เป็นระยะเวลานานและค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะ นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการสร้างอาณานิคมของเชื้อทั้งสองชนิดนี้คือ การใช้ยาปฏิชีวนะโดยการใช้ยาในกลุ่มเซฟาโลสปอรินและฟลูออโรควิโนโลนเป็นระยะเวลานานมากกว่า 3 วัน ในขณะที่การใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่มคาร์บาพีเนมเพียง 1 วัน และมากกว่า 3 วัน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีนัยสำคัญในการก่อให้เกิดการสร้างอาณานิคมของเชื้ออซีเนโตแบคเตอร์ บอมมานิไอที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะคาร์บาพีเนมและเอนเทอโรแบคทีเรียซีอีที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะคาร์บาพีเนม การศึกษาในส่วนที่สองเป็นการให้ข้อมูลต่อผู้บริหาร แพทย์และผู้เกี่ยวข้องจากข้อมูลที่ได้ในแต่ละโรงพยาบาล ในช่วงเดือน กันยายน - พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 และทำการเก็บข้อมูลจำนวนการติดเชื้อทั้งสองชนิดนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคม - มิถุนายน พ.ศ. 2563 พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยที่มีมีการติดเชื้ออซีเนโตแบคเตอร์ บอมมานิไอที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะคาร์บาพีเนมและเอนเทอโรแบคทีเรียซีอีที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะคาร์บาพีเนมลดลงอย่างมีนัยสำคัญ สรุปผลการศึกษา การควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มคาร์บาพีเนมอย่างเป็นระบบจะช่วยลดการติดเชื้ออซีเนโตแบคเตอร์ บอมมานิไอที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะคาร์บาพีเนมและเอนเทอโรแบคทีเรียซีอีที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะคาร์บาพีเนม นอกจากนี้มาตรการในการคัดกรองผู้ป่วยก่อนเข้ารับการรักษาอาจจะเป็นมาตรการเสริมที่จำเป็น
บทคัดย่อ
Antibiotic-resistant bacterial infections are a major problem at the national level, especially for patients admitted to hospitals. Additionally, patients with infections have a high mortality rate, prolonged length of hospital stay, and high hospital cost. The most common concerned gram-negative bacteria as the major problem is Acetobacter baumannii and Enterobacteriaceae, particularly the strain which is resistant to carbapenam antibiotics. Objectives To study the clinical and molecular epidemiology of carbapenem-resistant Acetobacter baumannii and Enterobacteriaceae in the lower southern hospital network as well as spatiotemporal analysis of these two species from clinical specimens and from screening in patients with systemic survey as well as from the hospital environments in each hospital and in the hospital network. To measure the efficacy of infection control strategies based on the investigational data. Methods To collect the specimens of carbapenem-resistant Acetobacter baumannii and Enterobacteriaceae from clinical practices and surveillance and do the laboratory to identify molecular strain of those specimen. Clinical data was used to analyzed the factors influencing mortality as well as probability for colonization of those bacteria. Clinical and non-clinical outcomes were compared between the patient with colonization and those without colonization. Molecular data and demographic data was used to performed spatio-temporal analysis. The number of the patients infected with these two bacteria was compared before and after intervention. Results From February 2019 to July 2019, there is the distribution of both bacteria every hospital in the network as well as in the whole of network with identically detection of molecular closeness and spatio-temporal relation. The infection due to both bacteria had relatively high mortality and unfavorable economic burden. Factors influencing mortality is Acute Physiology and Chronic Health Evaluation II (APACHE II) score and appropriate empirical antibiotics. Among of the patients with colonization of these two bacteria, unfavorable clinical outcomes and particularly high hospital costs were identified. The significantly associated factors influencing colonization is previous use of antibiotics, particularly carbapenems even the short duration of administration. The number of cases infected with carbapenem-resistant Acetobacter baumannii and Enterobacteriaceae were significantly decreased after implement of infection control measures based on the finding from surveillance data. Conclusion Systematic control of the use of antibiotics is sufficient to reduce the infection due to carbapenem-resistant Acetobacter baumannii and Enterobacteriaceae. Measures for screening patients before admission is potentially necessary supplementary measures.