dc.contributor.author | ชุติมาภรณ์ ไชยสงค์ | th_TH |
dc.contributor.author | Chutimaporn Chaiyasong | th_TH |
dc.contributor.author | พิริยา ติยาภักดิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Piriya Tiyapak | th_TH |
dc.contributor.author | กาญจนาภรณ์ ตาราไต | th_TH |
dc.contributor.author | Kanjanaporn Taratai | th_TH |
dc.contributor.author | สถาพร ณ ราชสีมา | th_TH |
dc.contributor.author | Sathaporn Na Rajsima | th_TH |
dc.contributor.author | สุรศักดิ์ ไชยสงค์ | th_TH |
dc.contributor.author | Surasak Chaiyasong | th_TH |
dc.date.accessioned | 2020-12-30T02:52:28Z | |
dc.date.available | 2020-12-30T02:52:28Z | |
dc.date.issued | 2563-12 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 14,4 (ต.ค. - ธ.ค. 2563) : 405-416 | th_TH |
dc.identifier.issn | 2672-9415 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5290 | |
dc.description.abstract | ภูมิหลังและเหตุผล: การใช้ยาซ้ำซ้อนนับเป็นการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผลชนิดหนึ่งซึ่งนอกจากจะส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาจนเป็นอันตรายแก่ผู้ป่วยแล้ว ยังทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น ปัจจุบันการศึกษาเรื่องการสั่งใช้ยาซ้ำซ้อนในประเทศไทยยังมีค่อนข้างจำกัด งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันการสั่งใช้ยาซ้ำซ้อนในโรงพยาบาลมหาสารคาม ระเบียบวิธีศึกษา: งานวิจัยและพัฒนานี้ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) ศึกษาลักษณะและขนาดของปัญหาการสั่งใช้ยาซ้ำซ้อนในโรงพยาบาลมหาสารคาม โดยการเก็บข้อมูลย้อนหลังจากฐานข้อมูลการใช้ยาจำนวน 12 กลุ่มยา 39 รายการยา ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562 2) พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันปัญหาการสั่งใช้ยาซ้ำซ้อนและนำมาใช้ในเดือนพฤศจิกายน 2562 และ 3) ศึกษาผลของการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันปัญหาการสั่งใช้ยาซ้ำซ้อน โดยการเก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลการใช้ยา ช่วงก่อนการพัฒนาโปรแกรม (พฤศจิกายน 2561 – เมษายน 2562) และช่วงหลังพัฒนาโปรแกรม (พฤศจิกายน 2562 – เมษายน 2563) ผลการศึกษา: จากใบสั่งยาทั้งหมด 218,179 ใบสั่งยา พบการสั่งใช้ยาซ้ำซ้อนในกลุ่มยาที่ศึกษา 818 ครั้ง (ร้อยละ 0.37) โดยเป็นการสั่งยากลุ่มเดียวกันซ้ำซ้อน (576 ครั้ง, ร้อยละ 0.26) มากกว่าการสั่งใช้ยาชนิดเดียวกันซ้ำซ้อน (242 ครั้ง, ร้อยละ 0.11) และเป็นการสั่งยาในใบสั่งยาเดียวกัน (530 ครั้ง, ร้อยละ 0.24) มากกว่าคนละใบสั่งยา (288 ครั้ง, ร้อยละ 0.13) กลุ่มยาที่พบการสั่งใช้ซ้ำซ้อนมากที่สุดคือ กลุ่ม gastric secretion inhibitors (378 ครั้ง/36,495 ใบสั่งยา, ร้อยละ 1.04) รองลงมาคือกลุ่ม antihistamine (130 ครั้ง/13,433 ใบสั่งยา, ร้อยละ 0.97) และกลุ่ม NSAIDs (184 ครั้ง/29,783 ใบสั่งยา, ร้อยละ 0.62) ตามลำดับ คิดเป็นมูลค่ายาที่สูญเสียไปจากการสั่งใช้ซ้ำซ้อน 19,740 – 79,591 บาท/ปี โปรแกรมคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตรวจจับคำสั่งใช้ยาคนละตัวกลุ่มเดียวกัน ในผู้ป่วยคนเดียวกัน ในวันเดียวกัน ทั้งในใบสั่งยาเดียวกันและคนละใบสั่งยา และแจ้งเตือนผู้สั่งใช้/ผู้จ่ายยาเพื่อยืนยันการสั่งใช้ เมื่อเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการใช้โปรแกรม พบว่า หลังการใช้โปรแกรมนั้น การสั่งใช้ยาซ้ำซ้อนในกลุ่มเดียวกันลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากร้อยละ 0.27 (266 ครั้ง/100,367 ใบสั่งยา) เป็นร้อยละ 0.08 (75 ครั้ง/95,350 ใบสั่งยา) หรือลดลง ร้อยละ 70.3 (OR 0.296, 95%CI: 0.226-0.384, p<0.001) มูลค่าการสั่งใช้ยาซ้ำซ้อนลดลง 4,098 – 18,360 บาท/6 เดือน หรือประมาณ 8,196 – 36,720 บาท ต่อปี สรุปผลการศึกษา: โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันการสั่งใช้ยาซ้ำซ้อนสามารถลดปัญหาการสั่งใช้ยาซ้ำซ้อน และมูลค่าการใช้ยาให้กับโรงพยาบาลได้ ในอนาคตควรมีการศึกษาข้อมูลการใช้ยาซ้ำซ้อนในระดับประเทศ เพื่อให้ทราบขนาดของปัญหาและผลกระทบด้านค่าใช้จ่ายจากการใช้ยาซ้ำซ้อนที่แท้จริง อันจะนำไปสู่การพัฒนาแนวทางการใช้ยาอย่างสมเหตุผลที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การใช้ยาอย่างสมเหตุผล | th_TH |
dc.subject | การใช้ยาของโรงพยาบาล | th_TH |
dc.subject | โปรแกรมคอมพิวเตอร์ | th_TH |
dc.subject | ยา--ข้อมูล--โปรแกรมคอมพิวเตอร์ | th_TH |
dc.title | การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันการสั่งใช้ยาซ้ำซ้อนในโรงพยาบาลมหาสารคาม | th_TH |
dc.title.alternative | Research and Development of Computerized Program to Prevent Therapeutic Duplicate Prescription in Mahasarakham Hospital | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Background & Rationale: Duplicate medication is irrational drug use that can cause adverse drug events to patients and wasteful health expenditure. There have been a limited number of studies on duplicate prescribing in Thailand. The objective of this study was to develop a computer software to prevent therapeutic duplicate prescription and to determine its effects in Mahasarakham Hospital. Methodology: This research and development comprised three parts. Part 1 described characteristics and magnitudes of duplicate drug prescribing in the hospital using electronic database of 12 drug groups (39 drug items) during 1 October 2018 – 30 September 2019. Part 2 developed a computer software based on results of part 1 and implemented the software in November 2019. Part 3 examined effects of the software by comparing proportions of duplicate drug prescriptions during, before (November 2017 – April 2018) and after software implementation (November 2019 – April 2020). Results: Of total 218,179 prescriptions, 818 duplicates (0.37%) were found, of which 576 (0.26%) were duplicate medication at the same therapeutic groups and 242 (0.11%) at the same drug item. Moreover, 530 duplicates (0.24%) were detected in the same prescription and 288 duplicates (0.13%) detected in the same patient. The highest duplicate medication rate was found in the gastric secretion inhibitors group (378/36,495 prescriptions, 1.04%), followed by antihistamine (130/13,433 prescriptions, 0.97%) and NSAIDs (184/29,783 prescriptions, 0.62%). These duplicates costed around 19,740 – 79,591 baht/year. The software detected any duplicate medications prescribed in the same therapeutic drug, same patient and same day and alert prescribers/ pharmacists for clarification. After software implementation, the duplicate drug prescribing decreased significantly from 0.27% (266/100,367 prescriptions) to 0.08% (75/95,350 prescriptions) or a 70.3% reduction (OR 0.296, 95%CI: 0.226-0.384, p < 0.001). The excess healthcare cost declined by 4,098 – 18,360 baht/6 months or 8,196 – 36,720 baht/year. Conclusion: The developed computer software was effective in preventing duplicate prescription and reducing unnecessary healthcare cost. Future studies should determine duplicate drug prescription and prevention program at national level to support rational drug use and reduce healthcare cost in Thailand. | th_TH |
dc.subject.keyword | การใช้ยาซ้ำซ้อน | th_TH |
.custom.citation | ชุติมาภรณ์ ไชยสงค์, Chutimaporn Chaiyasong, พิริยา ติยาภักดิ์, Piriya Tiyapak, กาญจนาภรณ์ ตาราไต, Kanjanaporn Taratai, สถาพร ณ ราชสีมา, Sathaporn Na Rajsima, สุรศักดิ์ ไชยสงค์ and Surasak Chaiyasong. "การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันการสั่งใช้ยาซ้ำซ้อนในโรงพยาบาลมหาสารคาม." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5290">http://hdl.handle.net/11228/5290</a>. | |
.custom.total_download | 3195 | |
.custom.downloaded_today | 5 | |
.custom.downloaded_this_month | 102 | |
.custom.downloaded_this_year | 1028 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 224 | |