dc.contributor.author | ชลนภา อนุกูล | th_TH |
dc.contributor.author | Cholnapa Anukul | th_TH |
dc.contributor.author | ศยามล เจริญรัตน์ | th_TH |
dc.contributor.author | Sayamol Charoenratana | th_TH |
dc.contributor.author | ศิววงศ์ สุขทวี | th_TH |
dc.contributor.author | Siwawong Sooktawee | th_TH |
dc.contributor.author | รัศมี เอกศิริ | th_TH |
dc.contributor.author | Rutsamee Eksiri | th_TH |
dc.contributor.author | ธัญชนก วรากรพัฒนกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Thanchanok Varakornpattanakul | th_TH |
dc.date.accessioned | 2021-02-24T04:32:46Z | |
dc.date.available | 2021-02-24T04:32:46Z | |
dc.date.issued | 2564-02 | |
dc.identifier.other | hs2638 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5311 | |
dc.description.abstract | การระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมาเป็นโอกาสดีที่สะท้อนให้เห็นความจำเป็นในการพัฒนานโยบายและมาตรการทางสุขภาพที่ครอบคลุมกลุ่มประชากรทุกกลุ่ม โครงการการพัฒนานโยบายสุขภาพแรงงานข้ามชาติเพื่อตอบรับวิกฤตโรคระบาด: กรณีศึกษาไวรัสโควิด-19 มีเป้าหมายเพื่อหามาตรการทางนโยบายที่ยกระดับประสิทธิภาพการรับมือภัยทางสุขภาพในอนาคต ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสมเชิงปริมาณและคุณภาพ ประกอบด้วยการสำรวจเก็บข้อมูลแบบพบหน้าจากกลุ่มประชากรแรงงานข้ามชาติในเขตเมือง จำนวน 415 คน ช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม พ.ศ. 2563 ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกนักวิชาการ เอ็นจีโอ ตัวแทนภาครัฐและเอกชน จำนวน 9 คน ประกอบกับการวิจัยเชิงเอกสารเปรียบเทียบนโยบายบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติของประเทศสิงคโปร์ เกาหลีใต้ เยอรมนี องค์กรแรงงานระหว่างประเทศและธนาคารโลก ข้อค้นพบจากงานวิจัย คือ ช่วงการระบาดใหญ่กลุ่มประชากรแรงงานข้ามชาติในเขตเมือง เป็นกลุ่มเปราะบางและมีความเสี่ยงทางสุขภาพจากสภาพแวดล้อมในการทำงานและที่อยู่อาศัย กลุ่มสำรวจประเมินว่าตนเองมีสุขภาพค่อนข้างแข็งแรง แต่มีความต้องการทางสุขภาพชัดเจนว่าด้วยความเจ็บป่วยและการบาดเจ็บจากการทำงาน รวมทั้งการวางแผนครอบครัว ผู้เชี่ยวชาญเห็นร่วมกันว่า ในช่วงเผชิญหน้ากับการระบาดมาตรการเชิงรุกมีความสำคัญและระบบบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติแบบองค์รวมช่วยบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตได้ สอดคล้องกับผลการเปรียบเทียบนโยบายในต่างประเทศซึ่งพบว่าประเทศที่พัฒนาระบบคุ้มครองทางสังคมที่พร้อมรับมือวิกฤต (Shock Responsive Social Protection System) มีศักยภาพในการรับมือไวรัสโควิด-19 ได้ดีกว่า ข้อเสนอเชิงนโยบายเน้นมาตรการเชิงรุกมากขึ้นในการส่งต่อข้อมูลข่าวสารสุขภาพและความช่วยเหลือไปให้ถึงชุมชนแรงงานข้ามชาติ การคุ้มครองสิทธิแรงงานที่เข้มข้นขึ้นในภาวะวิกฤติ ระบบประกันสังคมและประกันสุขภาพที่ต้องเป็นตาข่ายคุ้มครองทางสังคมและสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งระบบบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติที่มุ่งเน้นความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพไปพร้อมกัน | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | แรงงานต่างด้าว | th_TH |
dc.subject | Migrant Workers | th_TH |
dc.subject | COVID-19 (Disease) | th_TH |
dc.subject | Coronaviruses | th_TH |
dc.subject | โควิด-19 (โรค) | th_TH |
dc.subject | ไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การพัฒนานโยบายสุขภาพแรงงานข้ามชาติเพื่อตอบรับวิกฤติโรคระบาด: กรณีศึกษาไวรัสโควิด-19 | th_TH |
dc.title.alternative | Development of Migrant Worker Health Policy in Response to the COVID-19 Crisis | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.identifier.callno | HB886 ช219ก 2564 | |
dc.identifier.contactno | 63-125 | |
.custom.citation | ชลนภา อนุกูล, Cholnapa Anukul, ศยามล เจริญรัตน์, Sayamol Charoenratana, ศิววงศ์ สุขทวี, Siwawong Sooktawee, รัศมี เอกศิริ, Rutsamee Eksiri, ธัญชนก วรากรพัฒนกุล and Thanchanok Varakornpattanakul. "การพัฒนานโยบายสุขภาพแรงงานข้ามชาติเพื่อตอบรับวิกฤติโรคระบาด: กรณีศึกษาไวรัสโควิด-19." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5311">http://hdl.handle.net/11228/5311</a>. | |
.custom.total_download | 303 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 7 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 | |