• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขและชุมชนในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 โดยใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

จันทิมา นวะมะวัฒน์; Juntima Nawamawat; วิภาพร สิทธิสาตร์; Vipaporn Sittisart; กฤษฎา เหล็กเพชร; Krissada Lekphet; ไพศาล เธียรถาวร; Phaisan Thianthawon;
วันที่: 2564-02
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และชุมชนในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 โดยใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์และสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายในการปรับบทบาทของ อสม. เพื่อสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพชุมชนในการคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กระบวนการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของ อสม. และชุมชน ในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 โดยใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ และ ระยะที่ 2 ประเมินผลและสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายในการปรับบทบาทของ อสม. และชุมชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพชุมชนในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 โดยพื้นที่วิจัย คือ 2 อำเภอในจังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชน อสม. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หรือ ศูนย์สุขภาพชุมชน คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (พชต.) ผู้บริหารสาธารณสุขระดับจังหวัดและนักวิชาการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่มและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีสรุปเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขและชุมชน ในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ประกอบด้วย กระบวนการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของ อสม. และวิธีการดำเนินการป้องกันและเฝ้าระวังโรค 2) ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อใช้ในป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโควิด19 โดยชุมชนได้พัฒนาเป็นแอปพลิเคชันชื่อ “EpiScanCovid19” ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ มินิแอปพลิเคชัน (สำหรับ อสม. กรอกข้อมูลการเฝ้าระวังโรค วิเคราะห์ความเสี่ยงรายบุคคล แสดงคำแนะนำในการดูแลตนเอง รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 และพฤติกรรมเสี่ยงของประชาชน) และเว็บแอปพลิเคชัน (สำหรับเจ้าหน้าที่ รพ.สต./พชต. แสดงข้อมูลสถานการณ์ความเสี่ยงของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด19 ในพื้นที่และกำกับติดตามการดำเนินงานของอสม.). 3) ประสิทธิผลการใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด19 พบว่า อสม. รับรู้ความเสี่ยงและให้คำแนะนำการปฏิบัติตนแก่ประชาชนได้ ส่งข้อมูลความเสี่ยงไปยัง รพ.สต. ได้อย่างรวดเร็ว และ รพ.สต. ติดตามการทำงานของ อสม. ได้ และรับทราบสถานการณ์ความเสี่ยงในพื้นที่ ทั้ง อสม. และ รพ.สต. พึงพอใจต่อแอปพลิเคชันในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 85 ผลลัพธ์ที่เกิดกับ อสม. และชุมชน สามารถค้นหาผู้ติดเชื้อ/ผู้สัมผัสเชื้ออย่างรวดเร็วและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อในพื้นที่ได้ ชุมชนตื่นรู้สถานการณ์ความเสี่ยงในพื้นที่และวางแผนป้องกันการแพร่ระบาดของโรค 4) ข้อเสนอเชิงนโยบาย ประกอบด้วย ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ อสม. ในการเฝ้าระวังโรคเชิงรุก สนับสนุนให้มีการใช้แอปพลิเคชัน “EpiScanCovid19” จัดให้มีการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรนักจัดการข้อมูล จัดให้มีระบบการเฝ้าระวังและป้องกันโรคเฉพาะพื้นที่ และการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเกี่ยวกับการใช้แอปพลิเคชัน การเฝ้าระวังเชิงรุกและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด19 โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนร่วมกับการใช้แอปพลิเคชัน “EpiScanCovid19” เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่จะหยุดยั้งการแพร่กระจายของโรคได้ จึงเป็นความท้าทายของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานป้องกันโรค ที่ร่วมสนับสนุนให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและขยายผลไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันโรคที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศอย่างเฉพาะเจาะจงกับสภาพปัญหาและบริบทเชิงพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

บทคัดย่อ
This research aims to develop the village health volunteers (VHVs) and community participation for prevention and surveillance of Covid19 infection by using the geographic information system (GIS) to the policy option for promoting the VHV’s role in strengthening community on Covid19 screening. The participatory action research was introduced to study in 2 districts in Nakhon sawan province and divided into 2 phases: 1) A model development for promoting the VHVs and community involvement on prevention and surveillance of the Covid19 by using the GIS and 2) Evaluation the model effectiveness and synthesis the policy options. Samples were community dwellers, VHVs, health personnel in subdistrict health promotion hospital (SDHPC) or primary care unit (PCU), subdistrict health boards (SDHB), provincial health administrators, and academic officers. Tools were questionnaires, interview guidelines, focus group guidelines, and GIS. Data analysis employed content analysis for qualitative data and percent, mean, and standard deviation for quantitative data. The results show that: 1) the model of VHV and community involvement for prevention and surveillance of the Covid19 infection was composed of the method of promoting the VHV and community involvement and the activities of prevention and surveillance the Covid19. 2) The GIS as a tool for prevention and surveillance of the Covid19 infection called “EpiScanCovid19”. It worked on the internet and composed of 2 application: Mini application on a smartphone (for VHV collect data, analyze the individual risk, health education, and situation report) and Web application on the computer (for health personnel or health board review the risk situation and monitor the VHV’s work). 3) the effectiveness showed VHVs perceived the risks, educated their community member, timely report events to SDHPC or PCU, and health personnel frequently monitor the VHV activity. They were satisfied with the application at a good level and over about 85%. The outcomes were early detection of the contact cases and rapid control of the spread. 4) the policy options were promoting the VHV and community involvement for active surveillance by using EpiScanCovid19 application, training for building the data management capacity of health personnel, providing the specific area or local quarantine, and supporting the expenditure of community-based surveillance and disease prevention by using this application especially the internet charge. Community-based surveillance and prevention by using the EpiScanCovid19 application were necessary interventions on waning the Covid19 infection spread. It was a health services and their network challenge for promoting the continuing and suggesting for applications in all areas or especially pandemic area. It is a good opportunity for people if this model is applied for non-communicable diseases or other infectious diseases.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2653.pdf
ขนาด: 4.735Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 1
ปีงบประมาณนี้: 14
ปีพุทธศักราชนี้: 10
รวมทั้งหมด: 1,255
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV