Effectiveness of Dental Sealant in three Proactive Dental Service Deliveries of the Hat Yai Dental Health Service Network
dc.contributor.author | วศิน มหาศรานนท์ | th_TH |
dc.contributor.author | Wasin Mahasaranont | th_TH |
dc.contributor.author | สุกัญญา เธียรวิวัฒน์ | th_TH |
dc.contributor.author | Sukanya Tianviwat | th_TH |
dc.contributor.author | ทรงชัย ฐิตโสมกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Songchai Thitasomakul | th_TH |
dc.date.accessioned | 2021-03-31T04:34:29Z | |
dc.date.available | 2021-03-31T04:34:29Z | |
dc.date.issued | 2564-03 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 15,1 (ม.ค. - มี.ค. 2564) : 102-115 | th_TH |
dc.identifier.issn | 2672-9415 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5339 | |
dc.description.abstract | โรคฟันผุพบได้ถึงร้อยละ 50 ในเด็กวัยเรียน โดยฟันกรามแท้มีความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุมากกว่าฟันแท้ซี่อื่นๆ ในช่องปาก วิธีการป้องกันฟันผุที่มีประสิทธิผลคือการเคลือบหลุมร่องฟัน เครือข่ายบริการทันตสุขภาพหาดใหญ่ได้จัดรูปแบบการให้บริการเชิงรุกสามรูปแบบ คือการออกหน่วยเคลื่อนที่ การให้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และการให้บริการนอกเวลาราชการของโรงพยาบาล การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการเคลือบหลุมร่องฟันเชิงรุกในสามรูปแบบโดยเครือข่ายบริการทันตสุขภาพหาดใหญ่ ข้อมูลที่ได้เพื่อนำไปวางแผนการทำงานและการจัดสรรทรัพยากรในการดำเนินงานเคลือบหลุมร่องฟันให้มีประสิทธิผลและครอบคลุมมากขึ้น การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง (cross-sectional study) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟัน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 342 ราย ใช้การคัดเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (multistage sampling) เก็บข้อมูลโดยการตรวจการคงอยู่ของสารเคลือบหลุมร่องฟันและการเกิดฟันผุในด้านที่เคลือบหลุมร่องฟัน ร่วมกับการใช้แบบสอบถามด้านพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพและพฤติกรรมการบริโภค วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก พบว่า ประสิทธิผลของการเคลือบหลุมร่องฟันที่ระยะเวลา 1 ปีนั้น มีการคงอยู่อย่างสมบูรณ์ของสารเคลือบหลุมร่องฟันร้อยละ 10.1 และมีการผุบนฟันด้านที่เคลือบหลุมร่องฟันร้อยละ 7.3 รูปแบบการให้บริการเคลือบหลุมร่องฟันไม่มีผลต่อการคงอยู่อย่างสมบูรณ์ของสารเคลือบหลุมร่องฟัน แต่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดฟันผุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่าการให้บริการเคลือบหลุมร่องฟันที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีโอกาสพบการผุในฟันด้านที่ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันเป็น 3.7 เท่า (95% CI 1.9-7.3) และ 2.6 เท่า (95% CI 1.4-4.8) เมื่อเทียบกับการให้บริการนอกเวลาราชการของโรงพยาบาลและการให้บริการแบบออกหน่วย ตามลำดับ ในภาพรวมนั้น ประสิทธิผลของการเคลือบหลุมร่องฟันในการศึกษานี้มีค่าต่ำมาก จึงควรปรับปรุงการให้บริการทั้งสามรูปแบบให้มีคุณภาพมากขึ้น | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | โรคฟันผุ | th_TH |
dc.subject | ทันตกรรมเด็ก | th_TH |
dc.subject | เคลือบหลุมร่องฟัน | th_TH |
dc.subject | บริการทางการแพทย์ | th_TH |
dc.title | ประสิทธิผลของการเคลือบหลุมร่องฟันเชิงรุกสามรูปแบบโดยเครือข่ายบริการทันตสุขภาพหาดใหญ่ | th_TH |
dc.title.alternative | Effectiveness of Dental Sealant in three Proactive Dental Service Deliveries of the Hat Yai Dental Health Service Network | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Dental caries prevalence was approximately 50% among school-aged children. The permanent molars had a greater risk of caries than other permanent teeth. The effective measure to prevent caries on pit and fissure was dental sealant. The objective of this study was to investigate the effectiveness of three proactive sealant service deliveries implemented in Hat Yai Dental Health Service Network. This study was a cross-sectional study. The samples consisted of 342 grade 1 students who received the sealant on 2017 academic year recruited by multistage sampling. The methods were dental examination for sealant retention and caries on the sealed surfaces and questionnaire survey asking tooth brushing and eating behaviors. Data were analyzed by using descriptive statistics and logistic regression. The result showed a 10.1% complete sealant retention rate and a 7.3% caries on seal surfaces after one year. There was no association between type of service delivery and the sealant retention but the association with caries on sealed surfaces was found. The probability of getting caries among children who received dental sealant at sub-district health promoting hospital were 3.7 times (95% CI 1.9-7.3) compared with hospital clinic and 2.6 times (95% CI 1.4-4.8) compared with mobile dental clinic. Overall, the effectiveness of the sealant in this study was very low. All three proactive service deliveries had to be improved to provide the good quality of dental sealant services. | th_TH |
.custom.citation | วศิน มหาศรานนท์, Wasin Mahasaranont, สุกัญญา เธียรวิวัฒน์, Sukanya Tianviwat, ทรงชัย ฐิตโสมกุล and Songchai Thitasomakul. "ประสิทธิผลของการเคลือบหลุมร่องฟันเชิงรุกสามรูปแบบโดยเครือข่ายบริการทันตสุขภาพหาดใหญ่." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5339">http://hdl.handle.net/11228/5339</a>. | |
.custom.total_download | 1545 | |
.custom.downloaded_today | 1 | |
.custom.downloaded_this_month | 39 | |
.custom.downloaded_this_year | 524 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 102 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ