บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีเป้าหมาย เพื่อพัฒนาข้อเสนอตัวชี้วัดหลักในเรื่องกำลังคนด้านสุขภาพของประเทศไทย โดยจะครอบคลุมถึงการจัดทำมาตรฐานข้อมูลและหน่วยงานที่เกี่ยวของในแต่ละตัวชี้วัดดังกล่าว และพัฒนาข้อเสนอความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบการเก็บข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยกระบวนการคัดเลือกตัวชี้วัดหลักกำลังคนด้านสุขภาพฯ มีการนำแต่ละมิติของการจัดการทรัพยากรมนุษย์มาประยุกต์และสนับสนุนการจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ ทั้งจากภาคการศึกษาและภาคตลาดแรงงาน โดยกลวิธีการศึกษาประกอบด้วยกัน 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การทบทวนสถานการณ์ด้านตัวชี้วัดกำลังคนฯ ทั้งระดับชาติและระดับสากล 2. การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องตั้งแต่ระดับนโยบาย ผู้เชี่ยวชาญ สภาวิชาชีพ หน่วยงานภายในและภายนอกกระทรวงสาธารณสุข เพื่อทราบมุมมองผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจและปัจจัยสำคัญในการกำหนดตัวชี้วัดระดับนโยบายภายในหน่วยงาน และ 3.การขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมการพัฒนาตัวชี้วัดหลักกำลังคนด้านสุขภาพของประเทศไทย เพื่อเป็นเวทีระดับผู้บริหารในการวางทิศทางและตัดสินใจในการขับเคลื่อนการพัฒนาตัวชี้วัดหลักกำลังคน ด้านสุขภาพเป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม ชัดเจนและต่อเนื่อง ผลการศึกษาที่ได้จากการวิจัย พบว่าประเทศไทยควรมีทั้งหมด 17 ตัวชี้วัด สามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 กระบวนการการผลิตบุคลากร จำนวน 6 ตัวชี้วัด กลุ่มที่ 2 การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพ จำนวน 1 ตัวชี้วัด กลุ่มที่ 3 การเข้าสู่ตลาดแรงงาน จำนวน 9 ตัวชี้วัด ทั้งในเรื่องจำนวนการกระจาย การคงอยู่และการสูญเสีย และกลุ่มที่ 4 ต้นทุนการผลิตบุคลากรด้านสุขภาพ (Unit cost) การประเมินสถานะความพร้อมของข้อมูลที่เป็นองค์ประกอบของตัวชี้วัดในแต่ละตัว พบว่า มีตัวชี้วัดจำนวนทั้งสิ้น 5 ตัวที่มีความสมบูรณ์ของข้อมูลในการรายงานผลได้ทันที ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตัวชี้วัดในระบบการผลิตและการสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพของแต่ละสภาวิชาชีพ ได้แก่ 1. จำนวนสถาบันและจำนวนการผลิตต่อปี 2. อัตรานักศึกษาที่จบการศึกษา 3. มีกลไกระดับประเทศในการรับรองคุณภาพสถาบันการศึกษาและสถาบันฝึกอบรมบุคลากรด้านสุขภาพ 4. มีระบบสำหรับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องของวิชาชีพ และ 5.ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพที่สอบขึ้นทะเบียนผ่านในปีแรกหลังจบการศึกษา ในขณะที่ตัวชี้วัดอื่นๆ ยังมีความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลที่บันทึกอยู่ในหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังขาดระบบการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานในการรายงานตัวชี้วัดต่างๆ ดังนั้น ทางคณะผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอในเชิงการจัดกลไกการจัดการ 3 กลไก ดังนี้ กลไกที่ 1 การพัฒนาระบบฐานข้อมูลวิชาชีพ (Health workforce registry) กลไกที่ 2 การจัดทำระบบเชื่อมโยงข้อมูลหลักระหว่างหน่วยงาน (Data sharing platform) และกลไกที่ 3 การจัดทำการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบ (Systematic research) เพื่อพัฒนาให้เกิดการนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์และส่งผลให้การบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพของประเทศไทยมีประสิทธิภาพสูงสุด
บทคัดย่อ
The objectives of this study are to develop Thai Human resources for health (HRH) core indicators including the data standardization and related organizations and to propose policy recommendations to establish these indicators. Indicators engage comprehensive health labour market framework; such as education and labour market dynamics. Study’s method includes literature reviews and key informant interview. Multi-stake holders committee under Ministry of Public Health is established to be a policy platform to implement this indicators. The result shows there are 17 HRH core indicators for Thailand categoried into 4 groups, 6 indicators for HRH production, 1 indicator related HRH professional registration, 9 indicators related to health labour market including distribution, retirement and retention and 1 indicator for unit cost on the health workforce production. In term of data completion of each indicator, this study shows that only 7 indicators, namely number of faculties and production capacity, graduation rate, rate of passing licensing examination, number of foreign-trained and foreign-born, accreditation system and continuous professional development system, are completed and ready to report. Data completeness and the linkage system between data source are the main problems to report the rest indicators. Three important measures recommended for policy makers to implement Thai HRH core indicators are 1) Strengthening HRH registry 2) Establishment HRH data platform among related sources and 3) Conducting systematic researches on HRH loss rate and unit cost of production.