แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การพัฒนาประสิทธิภาพทางการคลังที่ยั่งยืนสำหรับระบบหลักประกันสุขภาพ และแบบจำลองการจัดสรรทรัพยากรกำลังคนด้านสุขภาพ

dc.contributor.authorทีปกร จิร์ฐิติกุลชัยth_TH
dc.contributor.authorTheepakorn Jithitikulchaith_TH
dc.date.accessioned2021-06-09T04:28:16Z
dc.date.available2021-06-09T04:28:16Z
dc.date.issued2564-06
dc.identifier.otherhs2671
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5359
dc.description.abstractโครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) พื้นที่การคลังสาธารณสุข: ประมาณการช่องว่างในการกำหนดงบประมาณ (Fiscal Space) ของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและระบบสาธารณสุข และ 2) การจัดสรรบุคลากร: ศึกษาช่องว่างอุปสงค์-อุปทานของบุคลากรทางการแพทย์เชิงพื้นที่และพัฒนาแบบจำลองในการจัดสรรทรัพยากรบุคคล เพื่อลดปัญหาความขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ ผลการวิจัยเรื่องพื้นที่การคลัง หรือ ช่องว่างในการกำหนดงบประมาณ (Fiscal Space) ของค่าใช้จ่ายสุขภาพประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งงบประมาณจากภาครัฐ โดยเน้นระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (Universal Coverage Scheme (UCS)) เพื่อประเมินตัวชี้วัดตามกรอบ Sustainability, Adequacy, Fairness and Efficiency (SAFE) พบว่า ความยั่งยืนและความเพียงพอเป็นเรื่องที่น่ากังวลสำหรับประเทศไทยในอีกอย่างน้อย 10 ข้างหน้า ซึ่งงานวิจัยนี้ได้วิเคราะห์เชิงปริมาณสำหรับความเป็นไปได้ของ 3 รูปแบบ แนวทางบูรณาการ 3 กองทุนหลัก โดยสามารถลดงบประมาณรัฐและค่าใช้จ่ายสุขภาพรวม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการคลัง ทั้งนี้ การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์การเมือง (political economy analysis) พบว่า มีความเป็นไปได้ที่จะหาแหล่งรายได้ เช่น การเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อนำมาใช้ทางด้านสวัสดิการ (earmarked VAT) และ การปฏิรูปภาษีทั้งระบบ ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการผลักดันทางการเมือง จึงจะเกิดขึ้นเป็นจริงได้ ผลการวิจัยเรื่องการจัดเครือข่ายสุขภาพเชิงพื้นที่ โดยศึกษาการจัดสรรทรัพยากรกำลังคนสุขภาพของโรงพยาบาล สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) ภายในเขตพื้นที่เดียวกัน รวมทั้งวิเคราะห์การจัดสรรในรูปแบบ Public-Private Partnership พบว่า การจัดเครือข่ายระดับบริการใกล้เคียงกัน เช่น รวมระดับปฐมภูมิ ระดับทุติยภูมิระดับต้นและระดับกลาง จะสามารถช่วยลดการขาดแคลนกำลังคนสุขภาพได้ นอกจากนี้ การจัดสรรบุคลากรโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิและระดับตติยภูมิสังกัด สป.สธ. ร่วมกับโรงพยาบาลเอกชน ภายในจังหวัดเดียวกัน จะลดภาระงานเฉลี่ยต่อหัวของโรงพยาบาลสังกัด สป.สธ. เพียงเล็กน้อยเมื่อพิจารณาในระดับประเทศ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณารายจังหวัด จะลดภาระงานเฉลี่ยต่อหัวลงได้ประมาณร้อยละ 10 หรือมากกว่า สำหรับหลายจังหวัดใหญ่th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการคลังสาธารณสุขth_TH
dc.subjectเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Economicsth_TH
dc.subjectบุคลากรทางการแพทย์th_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Manpowerth_TH
dc.subjectHealth Workerth_TH
dc.subjectHealth Workforceth_TH
dc.subjectหลักประกันสุขภาพแห่งชาติth_TH
dc.subjectUniversal Health Coverageth_TH
dc.subjectUniversal Coverage Schemeth_TH
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectHealth Manpower--Organization & Administrationth_TH
dc.subjectHealth Planning--Organization & Administrationth_TH
dc.subjectHuman Resourcesth_TH
dc.subjectMedical Economicsth_TH
dc.titleการพัฒนาประสิทธิภาพทางการคลังที่ยั่งยืนสำหรับระบบหลักประกันสุขภาพ และแบบจำลองการจัดสรรทรัพยากรกำลังคนด้านสุขภาพth_TH
dc.title.alternativeQuesting for Sustainable Fiscal Space of Universal Health Coverage and Simulation of Health Worker Network Redistributionth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeObjectives of this study are to (1) estimate fiscal space for universal health coverage (UHC) in Thailand, and (2) investigate the demand-supply gaps in health workers and develop microsimulation models to examine how to improve the allocation of health workers in the same areas. The study on health fiscal space found that the public budget for the Universal Coverage Scheme (UCS), when compared with the national goals of Sustainability, Adequacy, Fairness, and Efficiency (SAFE), tends to be neither sustainable nor adequate in the next ten years. This study also conducted quantitative analysis on three options to integrate the three schemes of UHC, which could reduce public budgets and improving fiscal efficiency. In addition, the political economy analysis indicates that there are possibilities to expand sources of funds such as earmarked VAT and tax reform for universal social welfare. The political movement is necessary to actualize the revenue and budget expansion. The study of area-based network allocation focuses on the hospitals under the Office of Permanent Secretary of the Ministry of Public Health and extends to the public-private partnership analysis. The basic results show that healthcare networking combined the primary hospitals and the first--secondary and middle-secondary hospitals within each district could alleviate workforce shortage. Furthermore, the provincial networking of the secondary and tertiary hospitals with the private hospitals which provide inpatient service could not significantly reduce workload per worker at the national average. However, when considered by province, the public-private partnership could reduce workload per worker by 10% or more in major provinces.th_TH
dc.identifier.callnoW74 ท533ก 2564
dc.identifier.contactno63-014
dc.subject.keywordค่าใช้จ่ายสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordFiscal Spaceth_TH
dc.subject.keywordกำลังคนด้านสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordพื้นที่การคลังth_TH
.custom.citationทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย and Theepakorn Jithitikulchai. "การพัฒนาประสิทธิภาพทางการคลังที่ยั่งยืนสำหรับระบบหลักประกันสุขภาพ และแบบจำลองการจัดสรรทรัพยากรกำลังคนด้านสุขภาพ." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5359">http://hdl.handle.net/11228/5359</a>.
.custom.total_download322
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year36
.custom.downloaded_fiscal_year8

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2671.pdf
ขนาด: 5.216Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย