การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อจัดการสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะเบาหวานและความดันโลหิตสูงในบริบทคลินิกหมอครอบครัว: กรณีศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี
dc.contributor.author | อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Atcharawadee Sriyasak | th_TH |
dc.contributor.author | อติญาณ์ ศรเกษตริน | th_TH |
dc.contributor.author | Atiya Sarakshetrin | th_TH |
dc.contributor.author | จินตนา ทองเพชร | th_TH |
dc.contributor.author | Jintana Tongphet | th_TH |
dc.contributor.author | วารุณี เกตุอินทร์ | th_TH |
dc.contributor.author | Varunee Ket-in | th_TH |
dc.contributor.author | ณัฐพร อุทัยธรรม | th_TH |
dc.contributor.author | Nattaporn Utaitum | th_TH |
dc.contributor.author | สุปราณี หมู่คุ่ย | th_TH |
dc.contributor.author | Supranee Mookui | th_TH |
dc.contributor.author | ทิพวัลย์ มีทรัพย์ | th_TH |
dc.contributor.author | Thipawan Meesub | th_TH |
dc.date.accessioned | 2021-06-29T08:35:39Z | |
dc.date.available | 2021-06-29T08:35:39Z | |
dc.date.issued | 2564-06 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 15,2 (เม.ย. - มิ.ย. 2564) : 155-173 | th_TH |
dc.identifier.issn | 2672-9415 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5371 | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2) พัฒนาโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อผู้สูงอายุที่มีภาวะเบาหวานและความดันโลหิตสูง 3) ประเมินประสิทธิผลโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อผู้สูงอายุที่มีภาวะเบาหวานและความดันโลหิตสูงและ 4) พัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อผู้สูงอายุที่มีภาวะเบาหวานและความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60-69 ปีจำนวน 140 คน กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพในการสนทนากลุ่มเป็นผู้สูงอายุจำนวน 15 รายและผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 18 ราย ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาลที่ทำงานในคลินิกหมอครอบครัว ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ กลุ่มตัวอย่างในการประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมฯ เป็นผู้สูงอายุตอนต้นจำนวน 140 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 70 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ เปรียบเทียบความแตกต่างค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมด้านสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ระดับ A1c และความดันโลหิตของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการทดลอง ใช้ค่าสถิติ paired t-test เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมใช้สถิติ independent t-test ผลการศึกษา พบว่า ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างก่อนเข้าโปรแกรมในภาพรวมอยู่ในระดับไม่เพียงพอคิดเป็นร้อยละ 52.7 (n=78) เพียงพอร้อยละ 44.3 (n = 62) การจัดการสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะเบาหวานและความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับปานกลาง (x ̅ = 2.15) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการดูแลต่อเนื่องมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( x ̅ = 2.53) รองลงมาในระดับปานกลางคือ ด้านการจัดการความเครียด ( x ̅ = 2.22) ด้านการใช้ยา ( x ̅ = 2.13) ด้านการบริโภค ( x ̅ = 2.12) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการออกกำลังกาย ( x ̅ = 2.01) ส่วนในด้านประสิทธิผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพฯ นั้น พบว่า ค่าเฉลี่ย A1c ของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ค่าเฉลี่ยคะแนนการจัดการสุขภาพของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) หน่วยบริการปฐมภูมิควรพิจารณานำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ เพื่อให้ผู้สูงอายุและครอบครัวสามารถควบคุมระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม A1c และความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนลดลง | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | th_TH |
dc.subject | Aging | th_TH |
dc.subject | Elderly | th_TH |
dc.subject | Health Literacy | th_TH |
dc.subject | ความรอบรู้ด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | เบาหวาน | th_TH |
dc.subject | Diabetes Mellitus | th_TH |
dc.subject | ความดันโลหิตสูง | th_TH |
dc.subject | Hypertension | th_TH |
dc.subject | บริการทางการแพทย์ | th_TH |
dc.subject | Medical Service | th_TH |
dc.title | การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อจัดการสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะเบาหวานและความดันโลหิตสูงในบริบทคลินิกหมอครอบครัว: กรณีศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี | th_TH |
dc.title.alternative | The Development of Health Literacy for Health Management of Older Persons with Diabetes and Hypertension in Primary Care Cluster Context: Case Study in Phetchaburi Province | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This research and development aimed: 1) to examine health literacy and health management situation of older people with diabetic and hypertension; 2) to develop health literacy and health management program for older people with diabetic and hypertension; 3) to assess the effectiveness of health literacy and health management program for older people with diabetic and hypertension; and 4) to develop policy recommendations on health literacy and health management of older people with diabetic and hypertension. The samples were 140 early older people for quantitative study, and 18 healthcare providers such as family medicine doctors, nurses in primary care cluster (PCC), province and district public health offices. The 140 early older people were divided into 70 for experimental group and 70 for control group to assess effectiveness of the program. Data on health literacy, health management, A1c, and blood pressure were analyzed by using descriptive statistic. Paired t-test was used to compare between pre and post intervention. Independent t-test was used to compare mean between experimental and control group. Results: 1) The overall health literacy of the older people with diabetes and hypertension at the PCC was found to be insufficient at 52.7% (n = 78) and sufficient at 44.3% (n = 62), respectively. The health management scores were at moderate level (x ̅ = 2.15). The highest score was the ‘continuing care’ (x ̅ = 2.53), followed by a moderate level of ‘stress management’ (x ̅ = 2.22), ‘drug use pattern’ (x ̅ = 2.13) and ‘food consumption behavior’ (x ̅ = 2.12). The ‘exercise’ had the lowest mean score (x ̅ = 2.01). Regarding the effectiveness of health literacy program, the average A1c in the experimental group was lower than the control group (p < 0.01). The average systolic blood pressure (SBP) of the experimental group was lower than the control group (p < 0.001). Likewise, the health management scores of the experimental group were higher than the control group (p < 0.001), as well as the health literacy score (p < 0.001). The PCC should consider applying this program in order to help older people and family to better control A1c and blood pressure to reduce the risk of complications. | th_TH |
dc.subject.keyword | Primary Care Cluster | th_TH |
dc.subject.keyword | คลินิกหมอครอบครัว | th_TH |
.custom.citation | อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์, Atcharawadee Sriyasak, อติญาณ์ ศรเกษตริน, Atiya Sarakshetrin, จินตนา ทองเพชร, Jintana Tongphet, วารุณี เกตุอินทร์, Varunee Ket-in, ณัฐพร อุทัยธรรม, Nattaporn Utaitum, สุปราณี หมู่คุ่ย, Supranee Mookui, ทิพวัลย์ มีทรัพย์ and Thipawan Meesub. "การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อจัดการสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะเบาหวานและความดันโลหิตสูงในบริบทคลินิกหมอครอบครัว: กรณีศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5371">http://hdl.handle.net/11228/5371</a>. | |
.custom.total_download | 9219 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 280 | |
.custom.downloaded_this_year | 3725 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 741 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ