dc.contributor.author | ธัญพร ชื่นกลิ่น | th_TH |
dc.contributor.author | Thunyaporn Chuenklin | th_TH |
dc.contributor.author | นงณภัทร รุ่งเนย | th_TH |
dc.contributor.author | Nongnaphat Rungnoei | th_TH |
dc.contributor.author | นภัส แก้ววิเชียร | th_TH |
dc.contributor.author | Naphas Kaeowichian | th_TH |
dc.contributor.author | เบญจพร สุธรรมชัย | th_TH |
dc.contributor.author | Benjaporn Suthamchai | th_TH |
dc.contributor.author | กฤติกา โคตรทอง | th_TH |
dc.contributor.author | Krittika Khotthong | th_TH |
dc.contributor.author | วิชาญ เกิดวิชัย | th_TH |
dc.contributor.author | Wicharn Girdwichai | th_TH |
dc.contributor.author | ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย | th_TH |
dc.contributor.author | Supasit Pannarunothai | th_TH |
dc.date.accessioned | 2021-06-30T02:36:16Z | |
dc.date.available | 2021-06-30T02:36:16Z | |
dc.date.issued | 2564-06 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 15,2 (เม.ย. - มิ.ย. 2564) : 183-199 | th_TH |
dc.identifier.issn | 2672-9415 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5373 | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดำเนินงานการดูแลสุขภาพระยะกลางตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข หน่วยบริการสุขภาพที่ดูแลสุขภาพระยะกลางในผู้ป่วย 3 กลุ่มโรคได้แก่โรคหลอดเลือดสมอง สมองบาดเจ็บและไขสันหลังบาดเจ็บ จำนวน 897 แห่ง เป็นกรอบการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และเลือกหน่วยบริการ 17 แห่งที่มีผลงานบริการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามสถานการณ์ของการดำเนินงานการดูแลสุขภาพระยะกลางตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ที่มีค่าความเที่ยงรายข้อตั้งแต่ 0.6–1.00 เก็บข้อมูลระหว่างกันยายน พ.ศ. 2562 – มีนาคม พ.ศ. 2563 และวิเคราะห์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์รายบุคคลของผู้ป่วยในที่เกี่ยวข้องจากหน่วยบริการกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและอนุมาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน median test, paired t-test, t-test และ Pearson correlation ผลการศึกษา พบว่า หน่วยบริการที่ศึกษาแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม 1 มีการดำเนินงานแบบเข้ม กลุ่ม 2 มีการดำเนินงานแบบปานกลาง กลุ่ม 3 มีการดำเนินงานแบบปานกลางแต่ขาดหลักฐานเชิงปริมาณ ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลชุมชนลูกข่ายของกลุ่ม 1 มีจำนวนวันนอนเฉลี่ยของทั้ง 3 โรคนานกว่ากลุ่มอื่นๆ โดยมีค่าเฉลี่ยวันนอนของโรคหลอดเลือดสมอง สมองบาดเจ็บและไขสันหลังบาดเจ็บ เท่ากับ 9.2, 13.6 และ 26.8 วัน ตามลำดับ ค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยต่อรายผู้ป่วยนอกของผู้ป่วยโรคไขสันหลังบาดเจ็บของแม่ข่ายกลุ่ม 1 มีค่าสูงที่สุด เท่ากับ 30,458 บาท ค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยต่อรายของผู้ป่วยในโรคไขสันหลังบาดเจ็บของกลุ่มที่ 1 มีค่าสูงที่สุด เท่ากับ 57,254 บาท ผู้ป่วยโรคไขสันหลังบาดเจ็บของลูกข่ายกลุ่ม 1 มีค่าเฉลี่ยอัตราการกลับเข้ารักษาซ้ำสูงที่สุด เท่ากับร้อยละ 38.1 ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย (Barthel index: BI) ในวันที่จำหน่ายสูงกว่าในวันที่เข้ารักษาทั้งโรคหลอดเลือดสมอง (paired t- test(3,423) = 30.82, p < .01) สมองบาดเจ็บ (paired t-test(88) = 3.64, p < 0.01) และไขสันหลังบาดเจ็บ (paired t-test(104) = 3.05, p < .01) ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันที่เพิ่มขึ้น (improvement in Barthel Index: IBI) ของโรคหลอดเลือดสมองของสถานบริการกลุ่ม 1 มากกว่าของสถานบริการกลุ่ม 2 (4.0 vs 1.8, independent t-test 3,381 = 12.51, p < 0.01) และพบว่าค่ารักษาพยาบาลมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับวันนอนทั้ง 3 โรค (ไขสันหลังบาดเจ็บ r = 0.98, p < 0.01; สมองบาดเจ็บ r = 0.53, p < 0.01 และหลอดเลือดสมอง r = 0.17, p < 0.01) รวมทั้ง IBI ของหลอดเลือดสมองมีความสัมพันธ์เชิงลบกับวันนอน (r = -0.044, p< 0.05) และอายุ (r = -0.035, p < 0.05) การดูแลสุขภาพระยะกลางด้วยการฟื้นฟูแบบเข้มเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของการให้บริการควรได้รับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การวิเคราะห์เชิงปริมาณ | th_TH |
dc.subject | การดูแลสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | หลอดเลือดสมอง | th_TH |
dc.subject | สมองบาดเจ็บ | th_TH |
dc.subject | ไขสันหลังบาดเจ็บ | th_TH |
dc.subject | Health Policy | th_TH |
dc.title | ประเมินนโยบายการดูแลสุขภาพระยะกลางของกระทรวงสาธารณสุข: การวิเคราะห์เชิงปริมาณ | th_TH |
dc.title.alternative | An Assessment on the Ministry of Public Health’s Intermediate Care Policy: A Quantitative Analysis | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The present study aimed to 1) illustrate the situations of intermediate care according to the Ministry
of Public Health’s policy. Seventeen healthcare facilities providing acceptable intermediate care to
patients with stroke, traumatic brain injury (TBI), and spinal cord injury (SCI) were multi-stage sampled
from the Ministry of Public Health provider sampling frame of 897 hospitals. Questionnaire with item-objective
congruence index (IOC) of 0.6–1.00 was the tool used for data collection during September 2019
to March 2020. Electronic data related to inpatient intermediate care were alternative study data source.
The data were analyzed with descriptive (frequency, percentage, mean, standard deviation) and inferential
statistics (median test, paired t-test, t-test, Pearson correlation). The findings showed that the selected
hospitals were divided based on service data into 3 groups: 1) intensive intermediate care services,
2) moderate intermediate care services, and 3) moderate intermediate care services with limited evidence
from questionnaire and individual inpatient data. The majority of patients were stroke. Group 1 community
hospitals had longer length of stay (LOS) than other groups in all 3 conditions; stroke 9.2 days, TBI
13.6 days and SCI 26.8 days. The average medical expense per visit for out-patients with SCI in the provincial
hospitals from group 1 was the highest; 30,458 baht. The average medical expense per visit for
in-patients with SCI in the hospitals from group 1 was the highest; 57,254 baht. The patients with SCI
from community hospitals in group 1 had the highest re-admission rate of 38.1 per cent. The Barthel
index (BI) at discharge was higher than on admission date for stroke (paired t- test(3,423) = 30.82, p < 0.01),
TBI (paired t-test(88) = 3.64, p < 0.01), and SCI (paired t-test(104) = 3.05, p < 0.01). The stroke patients in
group 1 hospitals showed better patient functional improvement by higher improvement in Barthel index
(IBI) than in group 2 hospitals (4.0 vs 1.8, independent t-test 3,381 = 12.51, p < 0.01). The medical expense
had positive correlation with LOS of 3 conditions (CSI r = 0.98, p < 0.01; TBI r = 0.53, p < 0.01 and stroke
r = 0.17, p < 0.01). The IBI of stroke had negative correlation with LOS (r = -0.044, p < 0.05) and with age
(r = -0.035, p < 0.05). In conclusion, the intermediate care with intensive rehabilitation to enhance
clinical effectiveness should be continuously supported. | th_TH |
dc.subject.keyword | การดูแลสุขภาพระยะกลาง | th_TH |
.custom.citation | ธัญพร ชื่นกลิ่น, Thunyaporn Chuenklin, นงณภัทร รุ่งเนย, Nongnaphat Rungnoei, นภัส แก้ววิเชียร, Naphas Kaeowichian, เบญจพร สุธรรมชัย, Benjaporn Suthamchai, กฤติกา โคตรทอง, Krittika Khotthong, วิชาญ เกิดวิชัย, Wicharn Girdwichai, ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย and Supasit Pannarunothai. "ประเมินนโยบายการดูแลสุขภาพระยะกลางของกระทรวงสาธารณสุข: การวิเคราะห์เชิงปริมาณ." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5373">http://hdl.handle.net/11228/5373</a>. | |
.custom.total_download | 2630 | |
.custom.downloaded_today | 2 | |
.custom.downloaded_this_month | 63 | |
.custom.downloaded_this_year | 1010 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 161 | |