แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การพัฒนาความปลอดภัยทางถนนโดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย 6 อำเภอนำร่อง จังหวัดน่าน

dc.contributor.authorฉลองชัย สิทธิวังth_TH
dc.contributor.authorChalongchai Sitthiwangth_TH
dc.contributor.authorนิยม สุนทรth_TH
dc.contributor.authorNiyom Sunthornth_TH
dc.contributor.authorกรภัทร ขันไชยth_TH
dc.contributor.authorKhooraphat Kanchaith_TH
dc.contributor.authorชาญชัย มหาวันth_TH
dc.contributor.authorChanchai Mahawanth_TH
dc.contributor.authorนิคม อุทุมพรth_TH
dc.contributor.authorNikom Utoompornth_TH
dc.contributor.authorเกษร ไชยวุฒิth_TH
dc.contributor.authorKesorn Chaivudth_TH
dc.contributor.authorกันจน เตชนันท์th_TH
dc.contributor.authorKanchon Techananth_TH
dc.date.accessioned2021-08-31T04:45:41Z
dc.date.available2021-08-31T04:45:41Z
dc.date.issued2564-03-31
dc.identifier.otherhs2698
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5397
dc.description.abstractคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) เป็นกลไกที่สามารถพัฒนาระบบความปลอดภัยทางถนนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการพัฒนาความปลอดภัยทางถนน โดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นศึกษาบริบทชุมชน 2) ขั้นพัฒนาชุดข้อมูลการบาดเจ็บ การเสียชีวิตทางถนนและกำหนดปัญหา 3) ขั้นวางแผนพัฒนาโดยคืนข้อมูลให้กับภาคีเครือข่ายผ่านเวทีคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยบนท้องถนน พื้นที่เป้าหมาย 6 อำเภอ ในจังหวัดน่าน ที่มีสถิติการบาดเจ็บทางถนนสูงและสมัครใจเข้าร่วมโครงการ คือ อำเภอทุ่งช้าง อำเภอท่าวังผา อำเภอเมือง อำเภอเวียงสา อำเภอสองแคว อำเภอสันติสุข และ 4) ขั้นติดตามตรวจสอบประเมินผล และปรับมาตรการแก้ไขปัญหาต่อเนื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ฐานข้อมูลและระบบรายงานการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการบาดเจ็บทางถนนของห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมชน และเครื่องมือ 5 ชิ้น ตามกระบวนการวางแผนแบบ Logical Model ประกอบด้วย 1) สามเหลี่ยมปัจจัยกำหนดสุขภาพและแผนที่จุดเสี่ยงการบาดเจ็บทางถนน 2) แผนภูมิต้นไม้ปัญหา 3) บันไดผลลัพธ์ 4) การวิเคราะห์แรงเสริม-แรงต้าน และ 5) การรวบรวมข้อมูลสะท้อนผลลัพธ์ ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย 1) การประเมินต้นน้ำ คือ มีการวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุและนำมาสู่การกำหนดมาตรการ หรือการจัดทำแผนงานโครงการ/นโยบายสาธารณะที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหา โดยใช้เครื่องมือการวางแผนแบบ Logical Model 2) การประเมินกลางน้ำ คือ บทบาท/กลไกการทำงานของคณะกรรมการ พชอ.ในการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการความปลอดภัยทางถนน จำนวนจุดเสี่ยงการบาดเจ็บทางถนนที่ได้รับการแก้ไขและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยตาม 10 ข้อหาหลัก หรือ “10 รสขม” ที่เป็นประเด็นปัญหาของแต่ละพื้นที่ และ 3) การประเมินปลายน้ำ คือ การประเมินข้อมูลจากการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการบาดเจ็บทางถนนต่อแสนประชากร เปรียบเทียบก่อนกับหลังดำเนินโครงการ และผลลัพธ์ในเชิงคุณภาพหลังดำเนินโครงการ ได้แก่ จำนวนภาคีเครือข่ายที่เข้ามามีส่วนร่วมและรูปแบบการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ผลการวิจัยพบว่า คณะทำงานในพื้นที่วิจัยมีการใช้เครื่องมือ 5 ชิ้นและการวางแผนแบบ Logical Model ในการแก้ไขปัญหาร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกอำเภอ โดยมีนายอำเภอเป็นประธานคณะทำงานและกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) มีประสิทธิผลในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนตลอดจนภาคีเครือข่ายและการพัฒนาความปลอดภัยทางถนน คือ 1) สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากการบาดเจ็บทางถนนลง 2) สามารถลดจำนวนครั้งการบาดเจ็บทางถนน 3) สามารถลดจุดเสี่ยงการบาดเจ็บทางถนนลดได้ด้วยความร่วมมือของชุมชนและภาคีเครือข่าย และ 4) เกิดรูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน โดยกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอสามารถผลักดันให้เกิดการแก้ไขจุดเสี่ยงทางถนน มาตรการทางสังคม การเขย่าสาธารณะและการจัดการเชิงกลไกของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องผ่านการสั่งการและการประสานงานของภาคราชการ ซึ่งเป็นการจัดการกับปัจจัยด้านถนนและสิ่งแวดล้อม ยังมีข้อจำกัด คือ ยังไม่สามารถจัดการกับพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลได้อย่างยั่งยืน ซึ่งควรกำหนดโจทย์วิจัยสู่การพัฒนากลไกการทำงานของภาคประชาชนในชุมชนหมู่บ้านในลักษณะของชุมชนนำร่องขับขี่ปลอดภัย หรือตำบลขับขี่ปลอดภัยด้วยกลวิธีด่านครอบครัว หรือด่านชุมชนth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectความปลอดภัยในท้องถนนth_TH
dc.subjectอุบัติเหตุทางถนนth_TH
dc.subjectอุบัติเหตุทางถนน--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectอุบัติเหตุจราจรth_TH
dc.subjectอุบัติเหตุจราจร--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectAccidents, Trafficth_TH
dc.subjectAccidents, Traffic--Prevention & Controlth_TH
dc.subjectชุมชน--การมีส่วนร่วมของประชาชนth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณะth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณะ--การมีส่วนร่วมของประชาชนth_TH
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการพัฒนาความปลอดภัยทางถนนโดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย 6 อำเภอนำร่อง จังหวัดน่านth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of Road traffic safety by District quality of life committee to promote the Participation of community and partnership networks. The 6 pilot study in Nan province.th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoWA275 ฉ153ก 2564
dc.identifier.contactno63-002
dc.subject.keywordความปลอดภัยทางถนนth_TH
dc.subject.keywordความปลอดภัยบนท้องถนนth_TH
dc.subject.keywordRoad Traffic Safetyth_TH
.custom.citationฉลองชัย สิทธิวัง, Chalongchai Sitthiwang, นิยม สุนทร, Niyom Sunthorn, กรภัทร ขันไชย, Khooraphat Kanchai, ชาญชัย มหาวัน, Chanchai Mahawan, นิคม อุทุมพร, Nikom Utoomporn, เกษร ไชยวุฒิ, Kesorn Chaivud, กันจน เตชนันท์ and Kanchon Techanan. "การพัฒนาความปลอดภัยทางถนนโดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย 6 อำเภอนำร่อง จังหวัดน่าน." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5397">http://hdl.handle.net/11228/5397</a>.
.custom.total_download383
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month6
.custom.downloaded_this_year109
.custom.downloaded_fiscal_year15

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2698.pdf
ขนาด: 11.88Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย