บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพดีวิถีพุทธเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ออกแบบการวิจัยสองกลุ่มเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ จำนวน 99 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ใช้รูปแบบ 50 คน และกลุ่มที่ไม่ใช้รูปแบบ 49 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผสานวิธีทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพดีวิถีพุทธด้วยการปฏิบัติตนตาม 3ส.3อ.1น. หรือโปรแกรม 3ส.3อ.1น. หมายถึง สวดมนต์ สมาธิ สนทนาธรรม อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์-วิถีพุทธ และนาฬิกาชีวิต-วิถีพุทธ 2) แบบประเมินภาวะสุขภาพการเข้าร่วมโปรแกรม 3) สมุดคู่มือการรายงานตนเองในการปฏิบัติตนตามโปรแกรม 4) แบบวัดความรู้ 5) แบบวัดความสุข 6) แบบประเมินความพึงพอใจของการปฏิบัติตามโปรแกรม และ 7) แนวทางการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อประเมินผลรูปแบบ เครื่องมือทุกชนิดตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ได้ค่า CVI > 0.5 และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความรู้ด้วย KR 20 ได้ 0.8 แบบวัดความสุขและแบบประเมินความพึงพอใจ ด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ 0.85, 0.84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test, Independent t-test และวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพดีวิถีพุทธเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 1) โปรแกรม 3ส.3อ.1น. 2) การรายงานตนเองในการปฏิบัติตนตามโปรแกรม และ 3) การติดตามสนับสนุน ส่งเสริม และเสริมพลังโดยทีมสุขภาพ ด้านประสิทธิผลของรูปแบบ พบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบภาวะสุขภาพของกลุ่มที่ใช้รูปแบบ ภายหลังการใช้รูปแบบ พบว่า ภาวะสุขภาพ ได้แก่ ค่าน้ำหนัก รอบเอว ดัชนีมวลกาย ความดันโลหิต และค่าระดับน้ำตาลในเลือด มีค่าเฉลี่ยลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะสุขภาพระหว่างกลุ่มที่ใช้รูปแบบและกลุ่มที่ไม่ใช้รูปแบบ ก่อนการใช้รูปแบบ พบว่า ภาวะสุขภาพมีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และหลังการใช้รูปแบบ พบว่า ภาวะสุขภาพของกลุ่มที่ใช้รูปแบบมีค่าเฉลี่ยลดลงกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ผลการเปรียบเทียบก่อนและหลังการใช้รูปแบบในกลุ่มที่ใช้รูปแบบ พบว่า หลังการใช้รูปแบบ มีคะแนนความรู้เฉลี่ยและคะแนนความสุขเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยในระดับมากที่สุด แสดงให้เห็นว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ มีภาวะสุขภาพดีขึ้น มีความรู้ ความสุข และความพึงพอใจมากขึ้น จึงควรขยายผลรูปแบบไปใช้ในพื้นที่อื่น และในกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่นๆ ต่อไป
บทคัดย่อ
The objectives of this research were to develop a model, and to study the effectiveness of a good health promotion integrated with Buddhist ways model for prevention and control of non-communicable diseases. It was designed as two group pretest-posttest design. The samples were 99 patients with uncontrolled diabetes and or hypertension, divided into two groups: 50-person group; the study group who were managed by the model, and 49-person group: the control group managed by routine care. Data were collected using mixed method, both quantitative and qualitative approach. The research tools were: 1) the good health promotion program integrated with Buddhist ways was named in Thai as 3 Sor, 3 Orr, 1 Nor from which comprised: pray, meditation, Buddhist dialogue, nutrition, exercise, emotion, biological clockwise daily activities with Buddhist integration. 2) health assessment form 3) self-report manual 4) the knowledge test 5) the happiness test 6) the satisfaction questionnaire 7) group discussion and in-depth interview guidelines. The KR 20 of the data collecting tools no. 4 was 0.8. The Cronbach's alpha coefficients of the data collecting tools no. 5, 6 were 0.85, 0.84 respectively. The quantitative data were analyzed using descriptive statistics, paired t-test and independent t-test. The qualitative data were analyzed using content analysis. The results of the model development found 3 components: 1) the good health promotion program integrated with Buddhist ways 2) self-reporting towards the program and 3) monitoring, supporting, and empowering by the health team. The findings on the effectiveness of the model found that 1) After try-out the model, the study group had lower average in health status namely weight, waist circumference, BMI, blood pressure and blood sugar levels were significantly decreased. 2) Before try-out the model, the study group had average in health status not different with those of the control group while after try-out the model, the average of health status in study group were significantly lower than those of the control group. 3) After try-out the model, the study group had significantly higher average in the knowledge scores and higher average in happiness score towards the activities of the program. And they were satisfied with the activities of the program at a high level.