บทคัดย่อ
โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของประชากรไทย การรักษาโรคมะเร็งแบบจำเพาะต่อบุคคล (personalized cancer medicine) ด้วยยารักษาแบบมุ่งเป้า (targeted therapy) เป็นแนวทางการรักษาแนวใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงในการทำลายเซลล์มะเร็งอย่างจำเพาะ โดยการตรวจวิเคราะห์ระดับโมเลกุลจะมีบทบาทในการคัดกรองผู้ป่วยก่อนได้รับยารักษาแบบมุ่งเป้าให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสม ทันเวลาและแยกผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่จำเป็นต้องได้รับยารักษาแบบมุ่งเป้าซึ่งยังมีราคาแพง สำหรับการรักษาโรคมะเร็งปอดปฐมภูมิชนิดต่อม (primary lung adenocarcinoma) ในประเทศไทยมียารักษาในกลุ่ม EGFR Tyrosine Kinase Inhibitor (EGFR-TKI) ผู้ป่วยกลุ่มที่ตรวจพบการกลายพันธุ์ของยีน EGFR จะตอบสนองต่อการรักษาด้วยยากลุ่มนี้ได้ดี ซึ่งการกลายพันธุ์ของยีนนี้พบในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดปฐมภูมิชนิดต่อมชาวไทยได้บ่อยกว่าชาวตะวันตกมาก โดยพบได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยทั้งหมด ทั้งนี้ยังมีผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่ตรวจพบการกลายพันธุ์ของยีน EGFR แต่ไม่ตอบสนองต่อยา EGFR-TKI ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงได้รับยาที่มีราคาแพงโดยไม่จำเป็น ในขณะที่ผู้ป่วยอีกส่วนหนึ่งที่ไม่มีการกลายพันธุ์ของยีน EGFR แต่มีการกลายพันธุ์ของยีนอื่นที่สามารถตอบสนองต่อยารักษาด้วยยาแบบมุ่งเป้าชนิดอื่นๆ ผู้วิจัยซึ่งประกอบด้วยบุคลากรทางการแพทย์สหสาขา จึงประสงค์จะพัฒนาชุดการตรวจวิเคราะห์ระดับโมเลกุลซึ่งอาศัยปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส polymerase chain reaction (PCR) เพื่อบ่งชี้การตอบสนองต่อยารักษาแบบมุ่งเป้าชนิดต่างๆ สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดที่มีการกลายพันธุ์ชนิดที่มีการรายงานมาก่อนและส่วนผลการศึกษาเพิ่มเติมด้วยเทคโนโลยี next generation sequencing ในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดปฐมภูมิชนิดต่อมชาวไทยที่ไม่ตอบสนองต่อยา EGFR-TKI นั้นจะทำให้ได้องค์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการกลายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับการไม่ตอบสนองต่อยา EGFR-TKI ในผู้ป่วยชาวไทยเพื่อนำไปสู่การศึกษาถึงชนิดของการกลายพันธุ์ที่ไม่เคยมีการรายงานมาก่อนในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด ซึ่งอาจจะนำไปใช้ได้ในการพิจารณาการรักษาให้ผู้ป่วยต่อไปได้ โดยผลงานวิจัยนี้ทำให้ได้ต้นแบบการตรวจวิเคราะห์ระดับโมเลกุลที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถตรวจหาการกลายพันธุ์ได้หลายชนิดในครั้งเดียวกัน ทำได้ง่าย ขั้นตอนน้อย ใช้ตรวจวิเคราะห์สิ่งส่งตรวจได้หลากหลาย มีต้นทุนลดลง ไม่จำเป็นต้องนำเข้าชุดตรวจสำเร็จรูปจากต่างประเทศ มีความเหมาะสมกับผู้ป่วยไทยและสามารถต่อยอดนำไปใช้ประโยชน์กับโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ ได้อีกด้วย
บทคัดย่อ
Cancers are still the major cause of death in Thai population. Personalized treatment that targets specific genes or proteins is efficacious in cancer patients. Various molecular analyses of patients' tumors are used to determine whether they contain somatic mutations that could be used as reliable predictive biomarkers for tailoring therapy. Patients with primary lung adenocarcinomarcinoma harboring activating EGFR gene mutations respond well to targeted treatment by EGFR Tyrosine Kinase Inhibitors (EGFR-TKIs). Approximately 50 percent of Thai lung Adenocarcinomarcinoma patients have these mutated variants of EGFR gene in their tumors. Some patients who do not have EGFR mutation harbor mutations of other genes, such as ALK fusions and BRAF mutations that may benefit from treatment with other targeted therapy. However clinical samples yield nucleic acids in limited quantity and often of low quality. Sensitive molecular assays are therefore crucial to detect these somatic mutations. We engage in the development of new polymerase chain reaction (PCR)-based assays for determination of predictive molecular biomarkers for targeted medications. We have developed assays that efficiently detect clinically important mutant alleles, including mutations in EGFR, BRAF and ALK genes, presented in ultrashort nucleic acid sequences. These simple, highly sensitive and cost-effective mutation detection assays will be useful tools to enhance precision medicine in oncology.