แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ผลลัพธ์ของการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคจิตเภทโดยทีมสหสาขาวิชาชีพเครือข่ายบริการสุขภาพ อ.ดอนมดแดง จ.อุบลราชธานี

dc.contributor.authorอาริยา ตั้งมโนกุลth_TH
dc.contributor.authorAriya Tangmanokunth_TH
dc.contributor.authorสุรศักดิ์ ไชยสงค์th_TH
dc.contributor.authorSurasak Chaiyasongth_TH
dc.date.accessioned2021-12-30T06:43:12Z
dc.date.available2021-12-30T06:43:12Z
dc.date.issued2564-12
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 15,4 (ต.ค. - ธ.ค. 2564) : 436-455th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5453
dc.description.abstractภูมิหลังและเหตุผล: ปัญหาสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทคือผู้ป่วยไม่มารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ขาดยาจนเกิดอาการจิตเภทกำเริบซ้ำ ทีมสหสาขาวิชาชีพในอำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี จึงพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทแบบเชิงรุกอย่างเป็นระบบ โดยการออกเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคจิตเภทโดยทีมสหสาขาวิชาชีพในอำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี ระเบียบวิธีศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial) ในผู้ป่วยโรคจิตเภท 60 คน (กลุ่มศึกษา 30 คน กลุ่มควบคุม 30 คน) ทั้งสองกลุ่มได้รับการดูแลที่โรงพยาบาลตามปกติ กลุ่มศึกษาได้รับการเยี่ยมบ้านโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ จำนวน 3 ครั้ง และการให้คำปรึกษาในการสร้างแรงจูงใจแบบสั้นโดยเภสัชกรในขณะเยี่ยมบ้าน ดำเนินการวิจัยเป็นเวลา 6 เดือน ในช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2562 วัดผลลัพธ์ทางคลินิก พิจารณาคุณภาพชีวิตและผลของการแก้ไขปัญหาและความพึงพอใจต่อการเยี่ยมบ้าน ผลการศึกษา: ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (กลุ่มศึกษาร้อยละ 60 vs. กลุ่มควบคุมร้อยละ 63) ส่วนใหญ่อายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป (กลุ่มศึกษาร้อยละ 93 vs. กลุ่มควบคุมร้อยละ 67) มีสถานภาพโสดร้อยละ 47 vs. กลุ่มควบคุมร้อยละ 63 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา (กลุ่มศึกษาร้อยละ 67 vs. กลุ่มควบคุมร้อยละ 53) ส่วนใหญ่มีการประกอบอาชีพ (กลุ่มศึกษาร้อยละ 57 vs. กลุ่มควบคุมร้อยละ 57) ส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่กับครอบครัว (กลุ่มศึกษาร้อยละ 77 vs. กลุ่มควบคุมร้อยละ 90) ส่วนใหญ่เป็นโรคจิตเภทมากกว่า 5 ปี (กลุ่มศึกษาร้อยละ 73 vs. กลุ่มควบคุมร้อยละ 53) ในกลุ่มศึกษาที่ได้รับการสร้างแรงจูงใจแบบสั้น พบว่า อัตราการมาพบแพทย์ตามนัดเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 87 ก่อนเข้าการศึกษา เป็นร้อยละ 100 ในเดือนที่ 1 และ 2 (p=0.043) และอัตราการรับประทานยาตามแพทย์เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 87 ก่อนเข้าการศึกษา เป็นร้อยละ 100 ในเดือนที่ 1 และ 2 (p=0.043) ผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อการเยี่ยมบ้านในระดับมาก (4.37 ± 0.49) เมื่อติดตามผลลัพธ์ในเดือนที่ 6 พบว่า กลุ่มศึกษามีการเกิดอาการจิตเภทกำเริบร้อยละ 0 vs. กลุ่มควบคุมมีการเกิดอาการจิตเภทกำเริบร้อยละ 17 (p=0.020) กลุ่มศึกษามีการนอนโรงพยาบาลจากอาการจิตเภทกำเริบร้อยละ 0 vs. กลุ่มควบคุมมีการนอนโรงพยาบาลจากอาการจิตเภทกำเริบร้อยละ 13 (p=0.038) และกลุ่มศึกษามีค่าเฉลี่ยจำนวนวันที่มานอนโรงพยาบาลเท่ากับ 0 วัน vs. กลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยจำนวนวันที่มานอนโรงพยาบาลเท่ากับ 0.60±1.85 วัน (p=0.040) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มีคุณภาพชีวิตที่เพิ่มขึ้นไม่แตกต่างกัน (กลุ่มศึกษา 11.00±10.86 คะแนน vs. กลุ่มควบคุม 9.50±9.13 คะแนน, p=0.7) สรุปผลการศึกษา: การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคจิตเภทโดยทีมสหสาขาวิชาชีพมีประสิทธิผล ดังนั้นหน่วยบริการสุขภาพควรสนับสนุนการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคจิตเภทโดยทีมสหสาขาวิชาชีพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดูแลผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectโรคจิตเภทth_TH
dc.subjectโรคจิตเภท--ผู้ป่วยth_TH
dc.subjectการเยี่ยมบ้านth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิ (การแพทย์)th_TH
dc.subjectPrimary Care (Medicine)th_TH
dc.titleผลลัพธ์ของการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคจิตเภทโดยทีมสหสาขาวิชาชีพเครือข่ายบริการสุขภาพ อ.ดอนมดแดง จ.อุบลราชธานีth_TH
dc.title.alternativeOutcomes of Home Health Care in Patients with Schizophrenia by Multidisciplinary Team of Donmoddaeng District Health Service Network in Ubonratchathanith_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground and Rationale: Treatment discontinuation and medication non-adherence are critical problems in caring patients with schizophrenia; this could cause recurrence and serious consequences of schizophrenia. A multidisciplinary team in Donmoddaeng district, Ubonratchathani province developed a home health care, proactive approach, to promote patient care and treatment continuity. This study aimed to determine outcomes of home health care in patients with schizophrenia provided by a multidisciplinary team in Donmoddaeng district, Ubonratchathani province. Methodology: A randomized controlled trial was conducted in 60 schizophrenia patients (30 in study group and 30 in control group). All patients received usual care at the hospital. The patients in the study group received three visits of home health care by a multidisciplinary team and brief motivation counseling by a pharmacist. This study was a 6-month trial, run during July – December 2019. Clinical outcomes and quality of life were measured together with problem-solving results and patients’ satisfaction pertaining to home health care. Results: Most patients were male (study group 60% vs. control group 63%), aged above 30 years (93% vs. 67%), single (47% vs. 63%), with primary school education (67% vs. 53%), employed (57% vs. 57%), living with family (77% vs. 90%) and had disease longer than 5 years (73% vs. 53%). After brief motivation counseling, the follow up rate with doctor increased from 87% to 100% in month 1 and 2 (p = 0.043), the medication compliance rate also increased from 87% to 100% in month 1 and 2 (p = 0.043). Patients were very satisfied with home health care (4.37±0.49). At month 6, the recurrence rate of schizophrenia in the home health care group was 0% vs. 17% in control group (p = 0.020), and hospitalization due to the recurrence was 0% in the home health care group vs. 13% in the control group (p = 0.038), with average length of stay of 0 day vs. 0.60 ± 1.85 day (p = 0.040). No significant difference in quality of life scores was found (11.00 ± 10.86 vs. 9.50 ± 9.13, p = 0.7). Conclusion: Home health care by multidisciplinary team in patients with schizophrenia was effective. Healthcare facilities should support this proactive approach in order to improve efficiency and effectiveness of schizophrenia patient care.th_TH
.custom.citationอาริยา ตั้งมโนกุล, Ariya Tangmanokun, สุรศักดิ์ ไชยสงค์ and Surasak Chaiyasong. "ผลลัพธ์ของการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคจิตเภทโดยทีมสหสาขาวิชาชีพเครือข่ายบริการสุขภาพ อ.ดอนมดแดง จ.อุบลราชธานี." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5453">http://hdl.handle.net/11228/5453</a>.
.custom.total_download4019
.custom.downloaded_today2
.custom.downloaded_this_month142
.custom.downloaded_this_year1565
.custom.downloaded_fiscal_year320

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v15n ...
ขนาด: 480.8Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย