Show simple item record

Trends in Financial Management of the Hospital under the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health: A Qualitative Study

dc.contributor.authorพิทักษ์พล บุณยมาลิกth_TH
dc.contributor.authorPitakpol Boonyamalikth_TH
dc.contributor.authorธิดาจิต มณีวัตth_TH
dc.contributor.authorThidajit Maneewatth_TH
dc.date.accessioned2021-12-30T06:57:02Z
dc.date.available2021-12-30T06:57:02Z
dc.date.issued2564-12
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 15,4 (ต.ค. - ธ.ค. 2564) : 477-489th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5455
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสาเหตุและปัจจัยในความสำเร็จ/การขาดทุน การขาดสภาพคล่องของการบริหารการเงินของโรงพยาบาล และ 2) เสนอแนวทางในการบริหารการเงินสำหรับโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารด้านการเงินระดับเขตสุขภาพ และกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 8 ราย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า สาเหตุและปัจจัยความสำเร็จในการบริหารการเงิน ประกอบด้วย 8 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) ในระดับประเทศ มีการกันเงินเพื่อการบริหารจัดการไม่เกินร้อยละ 10 2) การปรับตัว 3) ผู้นำ 4) การจัดหารายได้เพิ่มเพื่อลดรายจ่าย 5) การใช้ระบบสารสนเทศสำหรับข้อมูลทางบัญชี 6) การลดต้นทุนค่าแรงโดยนำระบบสารสนเทศมาใช้ 7) การใช้ระบบจัดซื้อจัดจ้างแบบอิเล็กทรอนิกส์ และ 8) การจัดทำแผนการเงิน สาเหตุและปัจจัยความล้มเหลวในการบริหารการเงิน ประกอบด้วย 10 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอ 2) วิธีการจัดสรรเงินเป็นรายหัว 3) การจัดสรรงบประมาณหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าขาลง 4) การกระจายเงินในระบบบริหารจัดการไม่ดี 5) ศักยภาพของผู้บริหารแต่ละโรงพยาบาล 6) โรงพยาบาลใช้ศักยภาพไม่เต็มที่ 7) ต้นทุนค่าแรง 8) ต้นทุนวัสดุ 9) ระบบการลงข้อมูลทางบัญชีไม่ถูกต้อง และ 10) มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ไม่เป็นไปตามแผนการเงินการคลัง ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับแนวทางการบริหารการเงิน คือ ควรมีการกระจายอำนาจการบริหารการเงินให้เขตสุขภาพและจังหวัดให้มากขึ้น เปลี่ยนวิธีการจัดสรรเงินโดยการแยกเงินเดือนออกจากงบเหมาจ่ายรายหัว การกันเงินเพื่อช่วยโรงพยาบาลที่มีปัญหา การเพิ่มงบประมาณให้เขตสุขภาพ การกันเงินไว้บริหารร่วมโดยใช้บัญชีเสมือน และการเพิ่มการบริหารเงินร่วมกันในเขตสุขภาพth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการบริหารการเงินth_TH
dc.subjectFinancial Managementth_TH
dc.subjectการบริหารการเงิน, โรงพยาบาลth_TH
dc.subjectการบริหารโรงพยาบาลth_TH
dc.subjectHospital Administrationth_TH
dc.titleแนวโน้มการบริหารการเงินของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข: การศึกษาเชิงคุณภาพth_TH
dc.title.alternativeTrends in Financial Management of the Hospital under the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health: A Qualitative Studyth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were to: 1) studying the causes and factors of success/loss, lack of financial liquidity of the hospitals management, and 2) proposing financial management guidelines for the hospitals. The sample comprised 8 financial managers, working at the health region level and ministerial level. Data collection were collected by in-depth interviews, using structured interview forms. Data analyses was carried out using content analysis. The results found 8 themes of causes and success factors in hospital financial management: 1) nationally, set aside 10 percent of the money for management 2) adaption 3) leadership 4) provide additional income, reduce expenses 5) accounting software 6) reduce labor costs and adopt information systems 7) e-bidding procurement system and 8) Planfin preparation. There were found 10 themes of causes and factors of financial management failure: 1) inadequate budget allocation 2) capitation 3) allocation of the universal health coverage scheme budget downturn 5) incapability of hospital administrators 6) lack of leadership 7) labor cost 8) material cost 9) incorrect accounting information system and 10) operating expenses do not meet the fiscal plan. The policy recommendations for financial management guidelines are as follows: financial administration should be more decentralized to health regions and provinces; changing the method of budget allocating by excluding salary from the health capitation; setting a sharing fund to help hospitals with problems; increasing budgets for health regions; joint management using virtual accounts; and increasing joint financial management within health regions.th_TH
.custom.citationพิทักษ์พล บุณยมาลิก, Pitakpol Boonyamalik, ธิดาจิต มณีวัต and Thidajit Maneewat. "แนวโน้มการบริหารการเงินของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข: การศึกษาเชิงคุณภาพ." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5455">http://hdl.handle.net/11228/5455</a>.
.custom.total_download4740
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month189
.custom.downloaded_this_year1942
.custom.downloaded_fiscal_year420

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v15n ...
Size: 279.5Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

Show simple item record