แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวกับสถานะสุขภาพและข้อตกลงหรือกฎหมายของผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยในเขตเมืองในประเทศไทย

dc.contributor.authorพิกุลแก้ว ศรีนามth_TH
dc.contributor.authorPigunkaew Sinamth_TH
dc.contributor.authorวาทินี คุณเผือกth_TH
dc.contributor.authorWatinee Kunpeukth_TH
dc.contributor.authorสตพร จุลชูth_TH
dc.contributor.authorSataporn Julchooth_TH
dc.contributor.authorนารีรัตน์ ผุดผ่องth_TH
dc.contributor.authorNareerut Pudpongth_TH
dc.contributor.authorมธุดารา ไพยารมณ์th_TH
dc.contributor.authorMathudara Phaiyaromth_TH
dc.contributor.authorระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์th_TH
dc.contributor.authorRapeepong Suphanchaimatth_TH
dc.date.accessioned2021-12-30T07:07:55Z
dc.date.available2021-12-30T07:07:55Z
dc.date.issued2564-12
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 15,4 (ต.ค. - ธ.ค. 2564) : 511-524th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5457
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สำรวจข้อกฎหมายหรือข้อตกลงที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยในเขตเมืองในประเทศไทย ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการทบทวนวรรณกรรมซึ่งเป็นบทความวิชาการทั้งในและต่างประเทศ ข้อตกลงและอนุสัญญาระหว่างประเทศและกฎหมายของประเทศไทยที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและสุขภาพของผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ประเด็นสุขภาพที่ผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยมี 3 ประเด็นหลักคือ (1) การคัดกรองโรค (2) สุขภาพจิต และ (3) ประเด็นปัญหาสุขภาพอื่นๆ ทั้งนี้งานวิจัยในประเทศไทยมีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับคนต่างด้าวในบริบทอื่นๆ และการที่รัฐไทยไม่ได้เป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย พ.ศ. 2494 แต่เป็นภาคีในข้อตกลงระหว่างประเทศอื่นๆ ทำให้ไม่อาจเลี่ยงการดูแลผู้ลี้ภัยโดยตรงได้ และไม่นานมานี้ รัฐไทยได้ออก “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการคัดกรองคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรและไม่สามารถเดินทางกลับประเทศอันเป็นภูมิลำเนาได้ พ.ศ. 2562” ซึ่งไม่พบว่าระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมในเชิงนโยบาย ผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยยังมีข้อจำกัดในการขอใบอนุญาตทำงานและในหลักประกันสุขภาพ ข้อเสนอเชิงนโยบายที่สรุปได้จากการศึกษานี้ เช่น โดยอาศัยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการคัดกรองคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรและไม่สามารถเดินทางกลับประเทศอันเป็นภูมิลำเนาได้ พ.ศ. 2562 ควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการอย่างเป็นรูปธรรมและควรเร่งออกประกาศหรือข้อสั่งการในระดับปฏิบัติการเพื่อให้มีแนวทางในการดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยโดยเร็วที่สุด และควรมีการศึกษาเพิ่มเติมว่า รัฐไทยควรแสดงจุดยืนให้ชัดเจนในการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยเพียงใด ซึ่งสามารถแสดงออกเป็นรูปธรรมได้หลายทางเลือก เช่น การเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย พ.ศ. 2494 และยกเลิกการสงวนต่อข้อ 22 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก แต่ทั้งนี้ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงข้อดี ข้อเสีย และข้อจำกัดของการเป็นภาคีในข้อตกลงหรืออนุสัญญาต่างๆที่นอกเหนือจากมุมมองทางสาธารณสุขด้วยth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectผู้ลี้ภัยth_TH
dc.subjectRefugeesth_TH
dc.subjectAsylumth_TH
dc.subjectAsylum Seekersth_TH
dc.subjectนโยบายของรัฐth_TH
dc.titleการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวกับสถานะสุขภาพและข้อตกลงหรือกฎหมายของผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยในเขตเมืองในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeA Literature Review of Health Status and Agreements or Laws for Urban Refugees and Asylum Seekersth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study was to review policies related to the health care and well-being of urban refugees and asylum seekers in Thailand (URAS). The qualitative approach was exercised. Data collection comprised a review of academic documents from both domestic and international sources, multi-lateral agreements or international covenants, and domestic laws related to human rights and health of URAS. The acquired data were analyzed by means of content analysis. The findings revealed that there were three main health issues faced by URASs in Thailand: (i) disease screening, (ii) mental health, and (iii) other health issues. In terms of international covenants, Thailand has not yet been a signatory of the 1951 Refugee Convention. However, in 2019, the Government endorsed the ‘Regulation of the Office of the Prime Minister: Screening Process for Aliens Entering the Kingdom of Thailand and Incapable of Returning to Their Home Country’. There have no tangible changes of healthcare policies for URASs after the Regulation was promulgated. The present study recommends that, the Regulation should be used to create a concrete set of committees to expedite the issuance of subordinate laws or orders that can be exercised at the local level. Moreover, there should be additional studies on the extent to which the Thai Government should become a party of the 1951 Refugee Convention and should withdraw a reservation to ratify Article 22 of the 1989 Convention on the Rights of the Child. A thorough investigation was recommended to estimate benefits and drawbacks of becoming a party of these international agreements.th_TH
dc.subject.keywordผู้ขอลี้ภัยth_TH
.custom.citationพิกุลแก้ว ศรีนาม, Pigunkaew Sinam, วาทินี คุณเผือก, Watinee Kunpeuk, สตพร จุลชู, Sataporn Julchoo, นารีรัตน์ ผุดผ่อง, Nareerut Pudpong, มธุดารา ไพยารมณ์, Mathudara Phaiyarom, ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์ and Rapeepong Suphanchaimat. "การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวกับสถานะสุขภาพและข้อตกลงหรือกฎหมายของผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยในเขตเมืองในประเทศไทย." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5457">http://hdl.handle.net/11228/5457</a>.
.custom.total_download619
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month24
.custom.downloaded_this_year278
.custom.downloaded_fiscal_year60

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v15n ...
ขนาด: 529.4Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย