dc.contributor.author | สุรศักดิ์ ไชยสงค์ | th_TH |
dc.contributor.author | Surasak Chaiyasong | th_TH |
dc.contributor.author | จุฬารัตน์ ฮาดวิเศษ | th_TH |
dc.contributor.author | Jularat Hadwiset | th_TH |
dc.contributor.author | กาญจนาภรณ์ ตาราไต | th_TH |
dc.contributor.author | Kanjanaporn Taratai | th_TH |
dc.contributor.author | เพียงขวัญ ศรีมงคล | th_TH |
dc.contributor.author | Piangkwan Srimongkhol | th_TH |
dc.contributor.author | ร่มตะวัน กาลพัฒน์ | th_TH |
dc.contributor.author | Romtawan Kalapat | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-01-24T06:38:48Z | |
dc.date.available | 2022-01-24T06:38:48Z | |
dc.date.issued | 2564-06 | |
dc.identifier.other | hs2744 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5462 | |
dc.description.abstract | ในปี 2562 รัฐบาลมีนโยบายโครงการนำร่องให้ผู้ป่วยรับยาที่ร้านขายยาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินโครงการฯ ในจังหวัดมหาสารคาม วิธีการวิจัย: วิธีวิจัยแบบผสมผสาน ศึกษารูปแบบการจัดบริการจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการดำเนินโครงการ (n=14) ผลการดำเนินงานจากฐานข้อมูลของโรงพยาบาล และสัมภาษณ์ความพึงพอใจและความคิดเห็นของผู้ป่วยทั้งที่เข้าร่วม (n=11) และไม่เข้าร่วมโครงการฯ (n=10) ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือน ตุลาคม 2562 – กันยายน 2563 ผลการวิจัย: โรงพยาบาลจังหวัดมหาสารคามจัดบริการรูปแบบที่ 1 และ 2 มีร้านขายยาเข้าร่วมโครงการ 13 ร้าน และมีการพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับการส่งต่อข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลและร้านยา ระหว่างเดือนตุลาคม 2562 - พฤษภาคม 2564 มีผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 832 คน ใน 14 กลุ่มโรค โรคที่มีจำนวนมากที่สุดคือ หอบหืด 529 คน (63.6%) รองลงมาคือ เบาหวาน 146 คน (17.5%) และต่อมลูกหมากโต 36 คน (4.3%) จำนวนผู้ป่วยที่รับยาที่ร้านยาคิดเป็น 1.58% ของผู้ป่วยทั้งหมด เหตุผลสำคัญที่ผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการคือ ความสะดวกสบายไม่ต้องรอรับยานาน ผู้ป่วยมีความพึงพอใจมากที่สุดคือ เภสัชกรใช้คำพูดและมีกิริยามารยาทที่เหมาะสม เภสัชกรแต่งกายสุภาพเหมาะสม เภสัชกรจ่ายยาที่ถูกต้องกับตัวผู้ป่วยและการได้รับบริการตรวจร่างกาย เช่น วัดความดันโลหิตและวัดระดับน้ำตาลในเลือด ปัญหาอุปสรรคที่พบในช่วงแรกคือ จำนวนผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการน้อยและปัญหาช่วงการแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้มีการจัดส่งยาทางไปรษณีย์แทน การมีระบบติดตามกำกับและการทบทวนการทำงานเป็นประจำและต่อเนื่องทำให้มีการพัฒนาระบบงานได้อย่างเหมาะสม สรุปผลการวิจัย: ข้อค้นพบของการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงรูปแบบการจัดบริการ การกำหนดขั้นตอนและระบบการจัดบริการและส่งต่อข้อมูลผ่านแอพพลิเคชั่นทำให้ผู้ดำเนินโครงการทำงานได้ง่าย ส่งผลให้มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนมากและความคิดเห็นต่อการจัดบริการในจังหวัดจะเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาระบบและการพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ร้านขายยา | th_TH |
dc.subject | Drugstores | th_TH |
dc.subject | Drug Storage | th_TH |
dc.subject | เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Economics | th_TH |
dc.subject | Cost-Benefit Analysis | th_TH |
dc.subject | การประเมินคุณภาพ | th_TH |
dc.subject | Quality Assessment | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Policy | th_TH |
dc.subject | Health Policy--Evaluation Studies | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | การบริหารโรงพยาบาล | th_TH |
dc.subject | Hospital Administration | th_TH |
dc.subject | Application Software | th_TH |
dc.subject | โปรแกรมประยุกต์ | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การประเมินผลเชิงพัฒนาของโรงพยาบาลมหาสารคาม ภายใต้การประเมินผลโครงการนำร่องให้ผู้ป่วยรับยาที่ร้านขายยาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล ระยะที่ 2 | th_TH |
dc.title.alternative | Developmental evaluation of the pilot program on drug-dispensing services in pharmacies to reduce hospital overcrowding phase II, Mahasarakham Province | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.identifier.callno | QV55 ส854ก 2564 | |
dc.identifier.contactno | 63-031 | |
dc.subject.keyword | รับยาที่ร้านขายยา | th_TH |
dc.subject.keyword | Drug-Dispensing Services | th_TH |
.custom.citation | สุรศักดิ์ ไชยสงค์, Surasak Chaiyasong, จุฬารัตน์ ฮาดวิเศษ, Jularat Hadwiset, กาญจนาภรณ์ ตาราไต, Kanjanaporn Taratai, เพียงขวัญ ศรีมงคล, Piangkwan Srimongkhol, ร่มตะวัน กาลพัฒน์ and Romtawan Kalapat. "การประเมินผลเชิงพัฒนาของโรงพยาบาลมหาสารคาม ภายใต้การประเมินผลโครงการนำร่องให้ผู้ป่วยรับยาที่ร้านขายยาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล ระยะที่ 2." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5462">http://hdl.handle.net/11228/5462</a>. | |
.custom.total_download | 90 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 30 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 1 | |