Show simple item record

Appropriate model for the management of drugs by community pharmacies under the pilot program on drug-dispensing services in pharmacies to reduce hospital overcrowding

dc.contributor.authorสุรสิทธิ์ ล้อจิตรอำนวยth_TH
dc.contributor.authorSurasit Lochid-amnuayth_TH
dc.contributor.authorดุรงค์กร พลทมth_TH
dc.contributor.authorDurongkorn Pontomth_TH
dc.date.accessioned2022-01-24T07:34:46Z
dc.date.available2022-01-24T07:34:46Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.otherhs2740
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5466
dc.description.abstractปัจจุบันประเทศไทยได้ดำเนินโครงการลดความแออัดของหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยร้านยาแผนปัจจุบันประเภท 1 โดยผลักดันให้เกิดรูปแบบการบริหารจัดการด้านยาที่ร้านยาเป็นผู้ดำเนินการเอง ซึ่งมีความคล่องตัว ลดภาระงานของโรงพยาบาลและสอดคล้องกับบทบาทของร้านยา จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องในต่างประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้และเยอรมนี พบว่าทั้ง 5 ประเทศ จัดทำบัญชีรายการยาเพื่อจ่ายชดเชยค่ายาให้แก่ร้านยา ร้านยาเป็นผู้จัดซื้อยาภายใต้ราคาชดเชยดังกล่าว มีการจ่ายค่าตอบแทนวิชาชีพให้แก่เภสัชกรร้านยาตามจำนวนรายการยาที่จ่ายและมีการร่วมจ่ายจากผู้ป่วยโดยมีวิธีการเหมาจ่ายหรือกำหนดเพดานร่วมจ่ายสูงสุด เพื่อจำกัดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วย ผู้วิจัยได้พัฒนารูปแบบที่เป็นไปได้ของการบริหารจัดการด้านยาที่ร้านยาเป็นผู้ดำเนินการ ได้จำนวนทั้งสิ้น 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ 1 กำหนดราคาชดเชย โดยประกาศเป็นราคาสำหรับจ่ายชดเชยค่ายาคืนให้แก่ร้านยาและร้านยาเป็นผู้ซื้อยาเองภายใต้ราคาดังกล่าว ร้านยาสามารถเลือกซื้อกับผู้ขายแต่ละรายได้โดยอิสระ รูปแบบที่ 2 หน่วยงานกลาง ใช้การกำหนดราคาสำหรับจ่ายชดเชยค่ายาคืน แต่ให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่รวบรวมคำสั่งซื้อ จัดซื้อยาภายใต้ราคาชดเชยและจัดส่งยาให้แก่ร้านยาในประเทศ และรูปแบบที่ 3 โรงพยาบาลแม่ข่าย โรงพยาบาลแต่ละแห่งกำหนดร้านยาเป็นหน่วยบริการในเครือข่าย ร้านยาเป็นผู้ซื้อยาในรายการยาเดียวกัน ผู้ขายเดียวกัน และในราคาเดียวกันกับที่โรงพยาบาลแม่ข่ายจัดซื้อได้ การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้กำหนดนโยบาย ผู้แทนวิชาชีพเภสัชกรรม ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลและผู้ปฏิบัติงานในร้านยา ได้ความเห็นว่ารูปแบบที่เหมาะสมที่สุดในบริบทปัจจุบัน คือรูปแบบที่ 2 หน่วยงานกลาง เนื่องจากการมีหน่วยงานกลางเข้ามาช่วยให้ไม่เป็นภาระต่อทั้งโรงพยาบาลและร้านยา จึงเหมาะกับการเริ่มต้นโครงการเพื่อพัฒนาไปสู่รูปแบบอื่นต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญคือการคัดเลือกหน่วยงานกลางที่มีประสิทธิภาพในการจัดซื้อและจัดส่งยาและมีความโปร่งใส ไม่ขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทยาอื่น กรณีที่มีการจ่ายชดเชยค่ายาคืนให้แก่ร้านยาโดยตรงนั้นควรบวกส่วนเพิ่มค่าบริหารและมีช่องทางให้ร้านยาสามารถต่อราคาเพื่อทำกำไรได้ ค่าตอบแทนวิชาชีพต้องเหมาะสมกับภาระงานของเภสัชกรในร้านยาที่เพิ่มขึ้น ค่าตอบแทนโรงพยาบาลต้องสะท้อนถึงผลลัพธ์ของการกระจายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลไปยังร้านยา ในขณะที่การเรียกเก็บค่าร่วมจ่ายจากผู้ป่วยยังไม่เหมาะสมในปัจจุบันที่ผู้ป่วยยังไม่รับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectร้านขายยาth_TH
dc.subjectDrugstoresth_TH
dc.subjectDrug Storageth_TH
dc.subjectเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Economicsth_TH
dc.subjectCost-Benefit Analysisth_TH
dc.subjectการประเมินคุณภาพth_TH
dc.subjectQuality Assessmentth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectHealth Policy--Evaluation Studiesth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectการบริหารโรงพยาบาลth_TH
dc.subjectHospital Administrationth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleรูปแบบที่เหมาะสมของการบริหารจัดการด้านยาโดยร้านยาเป็นผู้ดำเนินการภายใต้โครงการลดความแออัดของหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติโดยร้านยาแผนปัจจุบันประเภท 1th_TH
dc.title.alternativeAppropriate model for the management of drugs by community pharmacies under the pilot program on drug-dispensing services in pharmacies to reduce hospital overcrowdingth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoQV55 ส845ร 2563
dc.identifier.contactno63-031
dc.subject.keywordรับยาที่ร้านขายยาth_TH
dc.subject.keywordDrug-Dispensing Servicesth_TH
.custom.citationสุรสิทธิ์ ล้อจิตรอำนวย, Surasit Lochid-amnuay, ดุรงค์กร พลทม and Durongkorn Pontom. "รูปแบบที่เหมาะสมของการบริหารจัดการด้านยาโดยร้านยาเป็นผู้ดำเนินการภายใต้โครงการลดความแออัดของหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติโดยร้านยาแผนปัจจุบันประเภท 1." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5466">http://hdl.handle.net/11228/5466</a>.
.custom.total_download130
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year40
.custom.downloaded_fiscal_year3

Fulltext
Icon
Name: hs2740.pdf
Size: 2.108Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record