Mental Health effect of Coronavirus outbreak (COVID–19) in Health Region 5 Thailand
dc.contributor.author | อัมพร เบญจพลพิทักษ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Amporn Benjapolpitak | th_TH |
dc.contributor.author | ธิติ แสวงธรรม | th_TH |
dc.contributor.author | Thiti Sawangtham | th_TH |
dc.contributor.author | ศรุตพันธุ์ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา | th_TH |
dc.contributor.author | Sarutphan Chakkraphan na Ayutthaya | th_TH |
dc.contributor.author | รุจิรา เข็มเพ็ชร | th_TH |
dc.contributor.author | Rujira Kemphet | th_TH |
dc.contributor.author | รักษ์พงศ์ เวียงเจริญ | th_TH |
dc.contributor.author | Rakpong Wiangcharoen | th_TH |
dc.contributor.author | จิรภัทร กัลยาณพจน์พร | th_TH |
dc.contributor.author | Jiraphat Kanlayanaphotporn | th_TH |
dc.contributor.author | ณัฐพงศ์ กาญจนะโกมล | th_TH |
dc.contributor.author | Nattapong Kanchanakomala | th_TH |
dc.contributor.author | อัญญา ปลดเปลื้อง | th_TH |
dc.contributor.author | Unya Plodpluang | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-02-07T03:00:58Z | |
dc.date.available | 2022-02-07T03:00:58Z | |
dc.date.issued | 2565 | |
dc.identifier.other | hs2747 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5481 | |
dc.description.abstract | การศึกษาเรื่อง ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) เขตสุขภาพที่ 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเชิงลึกผลกระทบต่อสุขภาพจิตและปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพจิตของประชาชนในเขตสุขภาพที่ 5 จากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ศึกษาด้วยวิจัยเชิงคุณภาพ จากผู้ให้ข้อมูล 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วย กลุ่มญาติของผู้ป่วย กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในเขตสุขภาพที่ 5 ได้แก่ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 183 คน ผลการศึกษา มีดังนี้ 1. ผลกระทบต่อสุขภาพจิตต่อสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 กลุ่มผู้ติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 และญาติ พบว่า ด้านการรู้คิด (Cognitive) รู้สึกตกใจ กลัวและมีความเชื่อว่าเมื่อติดเชื้อโคโรน่าไวรัสแล้วจะต้องเสียชีวิต ส่วนญาติของผู้ป่วยไม่ตำหนิผู้ป่วย แต่จะให้กำลังใจและอยากใช้ชีวิตให้ถูกต้อง ด้านอารมณ์ (Emotion) ผู้ป่วยและญาติรู้สึกเครียด กังวลต่อสภาพร่างกายจิตใจของตนเอง คนในครอบครัวและสังคมรอบข้าง รู้สึกด้อยค่า ถูกสังคมรังเกียจและตีตรา ซึ่งผู้ป่วยใช้วิธีปิดช่องทางการสื่อสารเพื่อลดการรับรู้ ด้านพฤติกรรม (Behavior) ผู้ป่วยและญาติมีการปรับตัวด้วยการออกกำลังกายเพื่อให้ตนเองมีสุขภาพที่ดี ด้านความสัมพันธ์ (Relationship) พบว่า ปฏิสัมพันธ์ของคนในครอบครัวลดลง ด้านความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางจิตเวช ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้า ญาติมีอาการนอนไม่หลับต้องรับประทานยาและรู้สึกว่าอยากตาย กลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พบว่า ด้านการรู้คิด (Cognitive) มีความเชื่อว่าเมื่อติดเชื้อแล้วมีโอกาสเสียชีวิต มีโรคประจำตัวแล้วติดง่ายกว่าปกติ การออกนอกบ้านจะทำให้ติดเชื้อและจะถูกรังเกียจจากสังคมรอบข้าง ด้านอารมณ์ (Emotion) รู้สึกหดหู่ ที่เห็นผู้ป่วยโควิดต้องกักตัวเป็นเหมือนคนไร้ญาติขาดมิตร อนาถา รู้สึกโกรธและตำหนิผู้ที่นำเชื้อเข้ามาในหมู่บ้านและถูกตีตราจากกลุ่มคนอื่น ด้านพฤติกรรม (Behavior) มีการปรับตัวในชีวิตประจำวัน ได้แก่ การใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย การรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะและการล้างมือ ด้านความสัมพันธ์ (Relationship) พบว่า การพบปะสังสรรค์น้อยลง ไม่สามารถไปมาหาสู่ได้ตามปกติ แต่สำหรับกับบุคลากรด้านสาธารณสุข มีความสัมพันธ์กันดี ด้านความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางจิตเวช กลุ่มนี้ปรับตัวได้ดีและมีพลังใจที่เข้มแข็ง แต่มีบางรายที่มีปัญหาทางจิตเวชอยู่ก่อนหน้านี้ เกิดปัญหาด้านจิตเวชเพิ่มขึ้น เช่น เครียด มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ด้านการรู้คิด (Cognitive) มีความกังวล เนื่องจากเป็นโรคอุบัติใหม่ที่ระบาดรวดเร็ว รุนแรง ต้องระมัดระวังในการดูแลคนไข้และดูแลตนเองมากขึ้น รูปแบบการทำงานเปลี่ยนไป อาทิ การใส่อุปกรณ์ป้องกันที่ร้อน การทำงานในภาระที่หนักกว่าปกติและมีบุคลากรจำกัด ทำให้รู้สึกเหนื่อยล้า ด้านอารมณ์ (Emotion) รู้สึกที่ทั้งกลัว วิตกกังวล เครียด หวาดระแวง แปลกแยกจากสังคม ถูกแสดงพฤติกรรมรังเกียจ ถูกตีตราทั้งต่อตนเองและครอบครัว ด้านพฤติกรรม (Behavior) พฤติกรรมการทำงานเปลี่ยนไปต้องระมัดระวังเพิ่มขึ้น เพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่และป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ด้านความสัมพันธ์ (Relationship) พบว่า ต้องแยกกันกับครอบครัว เช่น ไม่สามารถเดินทางกลับบ้านได้ แต่ยังมีความเข้าใจมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จากการศึกษานี้ไม่พบประเด็นความเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางจิตเวชในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ 2. ปัจจัยที่กระทบต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพจิตของสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 1. ปัจจัยด้านการช่วยเหลือ ในกลุ่มผู้ติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 พบว่า การช่วยเหลือมีการแสดงออกด้วยท่าทีรังเกียจ ขาดความเป็นกันเองและมีการสื่อสารที่ไม่เหมาะสม โดยผู้ป่วยประสงค์ความช่วยเหลือ อาทิ ข้อปฏิบัติขณะต้องแยกพื้นที่เฉพาะของผู้ป่วย การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน แนวทางการรักษาของแพทย์ ช่องทางการติดต่อสื่อสารกับครอบครัว ในกลุ่มญาติ ได้รับการช่วยเหลือจากคนในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน เพื่อนบ้าน อาสาสมัครสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ที่ให้กำลังใจกัน ทำให้มีจิตใจที่เข้มแข็งขึ้น ในกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้รับพระราชทานความช่วยเหลือจากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ สร้างความปลื้มปิติแก่ประชาชน รัฐบาลมีนโยบายให้เงินช่วยเหลือ ชดเชยที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ มีหน่วยงานสาธารณสุข อาสาสมัครให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ได้รับการช่วยเหลือจากคนในครอบครัว ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอและองค์กรต่างๆ มีการบริจาคเครื่องป้องกันในขณะปฏิบัติหน้าที่ 2. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางสังคม ในกลุ่มผู้ติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 พบว่า ในสังคมชุมชนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและแนวทางการรักษา จึงหวาดระแวงและกลัวจะติดโรคและได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการติดเชื้อผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ ขาดการไตร่ตรอง ในกลุ่มญาติ ได้รับท่าทีที่รังเกียจจากเพื่อนบ้าน สื่อออนไลน์ทางสังคมเป็นช่องทางของข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ในกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พบว่า ชุมชนในสังคมยังมีความเอื้ออาทรต่อกัน โดยเฉพาะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่ให้ความช่วยเหลือต่อประชาชน ให้คำแนะนำการป้องกันโรค การใช้หน้ากาก การล้างมือ แจกหน้ากากกับแอลกอฮอล์ ทำให้ประชาชนรู้สึกไม่ถูกทอดทิ้ง ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์มีครอบครัวและผู้ร่วมงานที่ให้กำลังใจ มีเครือข่ายสื่อมวลชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) แต่ก็ยังมีประชาชนที่ยังไม่เข้าใจแสดงท่าทีรังเกียจ 3. ปัจจัยด้านการประกอบอาชีพ/เศรษฐกิจ ทั้ง 4 กลุ่ม ได้รับผลกระทบด้านรายได้ พบว่า มีรายได้ลดลง ในกลุ่มผู้ติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 และญาติถูกให้ออกจากงาน ปิดร้าน ไม่มีรายได้ 4. ปัจจัยด้านการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ ด้วยมาตรการรับยาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล การรับยาทางไปรษณีย์ ในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและจัดให้มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดูแลอย่างใกล้ชิด ทำให้ได้รับยาอย่างต่อเนื่องและสะดวกมากขึ้น 5. ปัจจัยด้านการศึกษา เป็นปัจจัยทางอ้อมที่เกิดจากการเรียนหนังสือออนไลน์ของบุตรหลาน ทำให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ต้องดูแลเอง จึงมีความลำบากเพิ่มขึ้น 6. ด้านกฎหมายและระเบียบ ภาครัฐหรือหน่วยงานมีความห่วงใยและเห็นคุณค่าในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ด้วยการจัดให้ทำประกันภัยโควิดให้บุคลากรทางการแพทย์ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | COVID-19 (Disease) | th_TH |
dc.subject | โควิด-19 (โรค) | th_TH |
dc.subject | Coronaviruses | th_TH |
dc.subject | ไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.subject | Coronavirus Infections | th_TH |
dc.subject | การติดเชื้อไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.subject | Mental Health | th_TH |
dc.subject | สุขภาพจิต | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | ผลกระทบด้านสุขภาพจิตของประชาชนต่อสถานการณ์ การแพร่ระบาดเชื้อโคโรนาไวรัส (โควิด-19) เขตสุขภาพที่ 5 | th_TH |
dc.title.alternative | Mental Health effect of Coronavirus outbreak (COVID–19) in Health Region 5 Thailand | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The 5th Health District's coronavirus (COVID-19) study aims to study the impact on mental health and factors affecting the mental health of people in the 5th health district from the covid-19 pandemic. Qualitative research studies from 4 groups of informants: patient groups, relatives of patients, Medical profession and Non-Communicable diseases patients The 5th health district is Kanchanaburi, Suphan Buri, Nakhon Pathom, Ratchaburi, Samut Sakhon, Samut Songkhram, Phetchaburi and Prachuap Khiri Khan. The results of the study were as follows: 1. Impact on mental health on covid-19 pandemic Coronavirus 2019 patients and relatives was found in the cognitive to be shocked, scared and believed that when infected with coronavirus, it would die. The patient's relatives do not blame the patient, but they are encouraged and want the patient to go with the flow of life. In the emotion part, both patient and relatives are worry about their physical and mental state as they feel undervalued, disgusted and stigmatized by family members and surrounding society, which patients choose to switch off their communication channel to avoid the shame that could be received. Moreover, in the part of behavior: patients and relatives adapt their daily life with exercise to keep themselves healthy. In the part of relationship, the result showed a decrease in family interaction. There has been an increase in the risk of developing psychiatric disorders. Patients are at risk of depression, relatives have insomnia and need to take medication, and feel like dying. A Non-Communicable diseases patient found that in the cognitive part, they believe that once infected, they are more likely to die. Having a congenital disease is easier to get infected. When they are going out, they will get infected and will be disgusted by the surrounding society. In the emotional part, they were depressed when they see COVID-19 patients detained as people who have no kith and kin. They felt angry and blamed those who bring the infection into the village, and being stigmatized by others. In the part of behaviors, the reforming of daily life has been adjusted by wearing a face mask, eating healthy food and washing their hand regularly. In the part of relationship, there was a decrease in meeting in person. It is not possible to come to visit normally. However, for healthcare worker, they are still in the relationship. This group of patients are well adapted and stay strong. Nevertheless, there were some patients who already got mental health. Therefore, being stressed and thought of suicide were obtained by those patients. For medical profession, in the part of cognitive, they are concerned because this virus is a new incidence that has spread rapidly and terribly. They need to be more careful when taking care of patients and take care of themselves. The working patterns has been changed, such as wearing hot protective equipment. By working harder than normal and having limited human resources during the pandemic, they emotionally feel exhausted, fear, anxiety, stress, paranoia and alienation from society, being shown to behave disgusted, stigmatized both to themselves and their families. In the part of behavior, their behavior has been changed to ensure safety and prevent themselves to get infected. In the part of relationship, the study found that they need to live separately with their families. For example, they could not return to their home. However, they still got help and understanding from their families. From this study, there is no sign of metal health in this group of people. 2. Factors affecting mental health changes in the situation of the spreading of COVID-19 1. Assistive factors among people infected with coronavirus 2019 were found to be expressed with disgust with the assistance, lack of intimateness and inappropriate communication. Patients are requiring assistance, such as the practice when they are quarantine and when they are back to normal lifestyles also treatment guidelines and effective communication channels with patient’s families and relative in groups. In the group of relative, the patient receives help of their colleague neighbors, public health volunteers, local administrations. They are encouraging each other so they got cheer up among themselves. Among patients with chronic non-communicable diseases, they received the help from King Vajiralongkorn, creating the delight from people. The government has a policy of grants. Compensation for the people who are not able to work. There's a health authority, volunteers are assisting in various areas of healthcare workers, supported by family members, government. An organization has donated protective items during the duty. 2. Social environmental factors among people infected with coronavirus 2019, there was a lack of understanding of the disease and treatment guidelines. Therefore, people are anxious and afraid of getting the disease, and received information online that create the lack of understanding about the diseases. In a group of relatives, they get a disgusting stance from neighbors. Social media is a funnel of misinformation. Among patients with chronic non-communicable diseases. It found that communities in society are also generous to each other, especially volunteer in the village. They provide help to the public, provides useful advices of how to use face masks, washes hands, gives out masks and alcohol. Hence, it makes people feel that they are not abandoned. In the medical profession group, there are families and associates who are supportive. There's a media network, headman, but there are still people who do not understand to act disgusted. 3. Occupational/economic factors, all 4 groups are affected in income. There was a decrease in income among people infected with coronavirus 2019 and relatives were left out of work, closing down the business and there is no income. 4. Access factors to the health service system, receiving the medicine by mail has been introduced and at the general practice for the non-communicable diseases patient and providing the staffs from NHS to take care the patient closely with continuous receiving of medicine and more convenience. 5. Educational factors are indirect factors caused children to study online, causing patients with non-communicable diseases to take care of themselves, thus increasing difficulties to everyone. 6. Legal and Order The government or institute are concerned and value the work of healthcare workers by providing COVID-19 insurance to healthcare workers. | th_TH |
dc.identifier.callno | WC503 อ555ผ 2565 | |
dc.identifier.contactno | 63-167 | |
dc.subject.keyword | เขตสุขภาพที่ 5 | th_TH |
dc.subject.keyword | Regional Health Area 5 | th_TH |
dc.subject.keyword | โรคทางจิตเวช | th_TH |
.custom.citation | อัมพร เบญจพลพิทักษ์, Amporn Benjapolpitak, ธิติ แสวงธรรม, Thiti Sawangtham, ศรุตพันธุ์ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา, Sarutphan Chakkraphan na Ayutthaya, รุจิรา เข็มเพ็ชร, Rujira Kemphet, รักษ์พงศ์ เวียงเจริญ, Rakpong Wiangcharoen, จิรภัทร กัลยาณพจน์พร, Jiraphat Kanlayanaphotporn, ณัฐพงศ์ กาญจนะโกมล, Nattapong Kanchanakomala, อัญญา ปลดเปลื้อง and Unya Plodpluang. "ผลกระทบด้านสุขภาพจิตของประชาชนต่อสถานการณ์ การแพร่ระบาดเชื้อโคโรนาไวรัส (โควิด-19) เขตสุขภาพที่ 5." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5481">http://hdl.handle.net/11228/5481</a>. | |
.custom.total_download | 369 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 18 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Research Reports [2424]
งานวิจัย