Show simple item record

Policy Recommendation for Primary Care Management among COVID-19 in the Public Health Region 11

dc.contributor.authorวรัญญา จิตรบรรทัดth_TH
dc.contributor.authorWaranya Jitbantadth_TH
dc.contributor.authorพิมพวรรณ เรืองพุทธth_TH
dc.contributor.authorPimpawan Rueangphutth_TH
dc.contributor.authorดลปภัฎ ทรงเลิศth_TH
dc.contributor.authorDolpaphat Songloedth_TH
dc.contributor.authorจิฑาภรณ์ ยกอิ่นth_TH
dc.contributor.authorJithaphon Yok-inth_TH
dc.contributor.authorวิเชียร ไทยเจริญth_TH
dc.contributor.authorWichian Thaicharoenth_TH
dc.contributor.authorสุรเชษฐ์ เชตุทองth_TH
dc.contributor.authorSurachet Chetthongth_TH
dc.contributor.authorรุจ เรื่องพุทธth_TH
dc.contributor.authorRuj Rueangphutth_TH
dc.date.accessioned2022-02-10T06:57:58Z
dc.date.available2022-02-10T06:57:58Z
dc.date.issued2564-12
dc.identifier.otherhs2752
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5485
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การจัดการปัญหาในสถานการณ์การการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ 2) วิเคราะห์ผลลัพธ์และผลกระทบของการจัดการในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ และ 3) เพื่อสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิที่เหมาะสมต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยศึกษาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิในส่วนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในเขตสุขภาพที่ 11 ในการรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19 ใช้แนวคิดบทบาทหน้าที่ของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิที่เชื่อมโยงกับระบบสุขภาพภาครัฐและเครือข่ายในชุมชน โดยบูรณาการแนวคิดหลัก 1A4C ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ สุ่มตัวอย่างแบบหลายชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึกโดยการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร/แนวปฏิบัติของพื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ การตรวจสอบข้อมูลมีทุกขั้นตอนของการวิเคราะห์ โดยใช้การตรวจสอบสามเส้า การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการตีความสร้างข้อสรุป ผลการศึกษาพบว่า สภาพภูมิศาสตร์ของเขตสุขภาพที่ 11 แบ่งเป็น 1) พื้นที่เกาะและการท่องเที่ยว 2) พื้นที่ชายแดน ชายขอบ และช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ 3) พื้นที่เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิมีส่วนในการจัดการปัญหาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีการสั่งการภายใต้คำสั่งของคณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัดไปยังระดับอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชน และมีการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขโรงแรม (อสร.) อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (อสต.) เพื่อให้การบริหารจัดการเป็นไปอย่างทั่วถึงและครอบคลุมทั้งประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่ นักท่องเที่ยว และแรงงานต่างด้าว แนวทางการบริหารจัดการของระบบสุขภาพปฐมภูมิมีการดำเนินการ ดังนี้ 1) การให้ความรู้แก่อสม. และประชาชนในพื้นที่ และพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 2) การให้บริการด้านสุขภาพ โดยยึดหลัก DMHTTA มีกระบวนการรักษาแบบ One stop service 3) การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (NCDs) ทั้งกลุ่มที่รับการรักษาที่โรงพยาบาลแม่ข่าย และกลุ่มที่รับการรักษาที่ รพ.สต. มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อดูแลผู้ป่วยและเพื่อการสื่อสาร ให้การดูแลและให้ข้อมูลความรู้เพิ่มเติมระหว่างการนัดหมาย การปรึกษาทางไกล การให้บริการถึงบ้าน (Health services delivery platforms) มาตรการการเฝ้าระวังในชุมชนนั้นมี 3 แบบด้วยกัน คือ 1) การตั้งจุดคัดกรองในพื้นที่ 2) การปิดพื้นที่ 3) การตรวจคัดกรองก่อนเข้าพื้นที่ในชุมชน ซึ่งการบริหารจัดการในพื้นที่มาจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชน การกักตัว มีทั้งแบบการกักตัวที่บ้าน (Home Quarantine) หรือการกักตัวในสถานที่ที่รัฐจัดให้ (Local quarantine) การกักตัวที่โรงแรม (Alternative Local Quarantine) และ 4) การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในพื้นที่ทั้งในภาคบริการ เกษตร ประมง และโรงงาน ข้อเสนอแนะในการจัดการของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ได้แก่ 1) ควรจัดให้มีการจัดการข้อมูลเชิงสารสนเทศโดยใช้รูปแบบและฐานข้อมูลการควบคุมการระบาดโรคร่วมกันที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลได้ทั้งระบบ 2) เพิ่มกรอบอัตรากำลังและแผนรับมือเพื่อรองรับการบริหารจัดการกรณีเกิดโรคอุบัติใหม่ 3) ควรมีผู้รับผิดชอบหลักในการสื่อสารแบบ 2 ทาง ในการประสานงานจากโรงพยาบาลแม่ข่ายกับ รพ.สต. เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีความต่อเนื่อง 4) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีระบบในการบริหารจัดการรถสำหรับรับส่งผู้ป่วยโควิด-19 และกลุ่มเสี่ยงที่ได้มาตรฐาน 5) ควรจัดให้มีระบบการคัดกรองข้อมูล ชุดความรู้ ก่อนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสู่ประชาชน และควรมีช่องทางการกระจายข้อมูล ชุดความรู้ที่หลากหลาย ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย 6) ในการบริหารจัดการเชิงระบบในชุมชน รพ.สต. ควรนำแนวปฏิบัติในการควบคุมโรคระบาดลงสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจน โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในชุมชน และควรเพิ่มทักษะการสื่อสารและทักษะการเป็นผู้นำให้กับทีมในการปฏิบัติงาน 7) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/เทศบาล ควรกำหนดระเบียบหมวดเงินฉุกเฉิน สำหรับการบริหารจัดการระบาดของโรคอุบัติใหม่ 8) ในการปฏิบัติงานควบคุมการระบาดของโรคอุบัติใหม่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ 9) ควรมีแอพพลิเคชั่นในการติดตามเยี่ยมบ้านที่เป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ดูแลอย่างสม่ำเสมอในการดูแลผู้ป่วย 10) พัฒนาความรู้ ความสามารถของผู้ดูแล ในการดูแลผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียง ผ่านคู่มือหรือสื่อความรู้ออนไลน์ และ 11) การพัฒนาเครือข่ายการทำงานในชุมชน การจัดการของภาคีเครือข่ายในการบริหารจัดการร่วมกับหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และบทบาทและการสนับสนุนของหน่วยงานต่างๆ ซึ่งหลายงานวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่าย เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิที่เหมาะสมต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ดังนี้ 1) สำนักงานเขตบริการสุขภาพที่ 11ควรสร้างและพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลสารสนเทศทางด้านสุขภาพที่เชื่อมโยงทั้ง 7 จังหวัด เข้าระบบได้ทั้งบุคลากรและประชาชนทุกภาคส่วน และประชาสัมพันธ์ให้ทราบโดยทั่วกัน 2) สำนักงานเขตบริการสุขภาพที่ 11 ควรมีนโยบายในการพัฒนาระบบแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ในการจัดการ ควบคุม ดูแลกลุ่มเสี่ยง ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง และผู้ป่วยโควิด-19 รวมถึงระบบการดูแลผู้ป่วยเรื้องรังในชุมชน 3) สำนักงานเขตบริการสุขภาพที่ 11 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดควรจัดอบรมหลักสูตรพัฒนาผู้นำทางด้านสุขภาพในพื้นที่ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเครือข่ายและจิตอาสาในชุมชน เพื่อพัฒนาสมรรถนะในการดำเนินงานในชุมชน 4) รัฐควรกำหนดนโยบายการทำงานที่ชัดเจนเพื่อคุ้มครองผู้ปฏิบัติงานในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม และดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ทั้งในด้านความเพียงพอของบุคลากร ระยะเวลา อุปกรณ์ป้องกัน และงบประมาณในการบริหารจัดการ 5) รัฐควรมีนโยบายให้ทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต./อปท.) มีกลุ่มงานสาธารณสุขที่รับผู้ที่สำเร็จการศึกษาด้านพยาบาลศาสตร์หรือสาธารณสุขศาสตร์โดยตรง เพื่อเชื่อมโยงการดำเนินงานด้านสุขภาพในชุมชนอย่างเข้าใจ เข้าถึง รวดเร็ว และตรงประเด็น 6) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพควรจัดอบรมและพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขด้วยหลักสูตรที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่อง โรคอุบัติใหม่ โรคเรื้อรัง โรคระบาด และการดูแลในทุกช่วงวัย ในรูปแบบออนไลน์พร้อมมีเกียรติบัตรรับรอง และ 7) รัฐควรจัดให้มีระบบและกลไกในการสร้างและพัฒนาความร่วมมือของเครือข่ายในระดับชุมชน อำเภอ จังหวัด และเขตสุขภาพ อย่างมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกระดับ ทุกภาคส่วน เพื่อความถูกต้อง ชัดเจนสะดวก รวดเร็ว ในการปฏิบัติ และส่งเสริมสนับสนุนจิตอาสาในพื้นที่ให้มีส่วนร่วมทั้งในมิติทางกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectPrimary Care (Medicine)th_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิ (การแพทย์)th_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectCOVID-19 (Disease)th_TH
dc.subjectCoronavirusesth_TH
dc.subjectCoronavirus Infectionsth_TH
dc.subjectการติดเชื้อไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)th_TH
dc.subjectไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectสาธารณสุขมูลฐานth_TH
dc.subjectPrimary Health Careth_TH
dc.subjectบริการทางการแพทย์th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิที่เหมาะสมต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในเขตสุขภาพที่ 11th_TH
dc.title.alternativePolicy Recommendation for Primary Care Management among COVID-19 in the Public Health Region 11th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe COVID-19 epidemic situation is affecting health and managing to cope with the global population crisis. The primary health care system is the key system that connects the people and the public sector in health management. This research aims to 1) explore the situation of problem management in the COVID-19 epidemic in the primary health service system. 2) investigate the outcomes and consequences of COVID-19 epidemic management in primary health care systems; and 3) synthesize COVID-19 epidemic management policy proposals in primary health care systems. The study was conducted on the primary health service system at the subdistrict health promotion hospital in the Public Health Region 11 to cope with the COVID-19 epidemic. The concept of primary health care roles and functions in relation to the public health systems and community networks, integrating the core concepts of 1A4C and utilizing qualitative research methodologies, was implemented in this research. Researchers used multi-stage sampling and in-depth interviews by group discussion, structured in-depth interviews, participant observation, and study information from documents/guidelines of the area. Qualitative content analysis was used to examine the data. Data triangulation allows for data validation at every stage of the study. Conclusions are reached through content analysis and interpretation. According to the findings, The geography of the 11th Health Area is divided into 1) island areas and tourism. 2) Border areas, border borders, and international entry and exit channels 3) Agricultural and industrial areas Primary health care systems play a part in managing problems in the COVID-19 epidemic situation. It was ordered under the order of the provincial disease control committee. to the district level, sub-district level, and village level by participation of all sectors in the community and to develop additional relevant personnel, such as Hotel Public Health Volunteers and Foreign Public Health Volunteers in order to provide thorough and comprehensive management for both people both inside and outside the area. tourist and foreign workers Management approach of primary health systems The actions were as follows: 1) Educating the public Health Volunteers and people in the area and develop the potential of related personnel 2) Health care services based on the DMHTTA principle with a one stop service treatment process 3) Taking care of chronic disease patients (NCDs) in the whole group receiving treatment at the host hospital and those who received treatment at the STD hospital used technology to care for the patients and for communication. Provide care and provide additional educational information during appointments. remote consultation Health services delivery platforms Community surveillance measures are 1) setting up screening points in the area 2) closing the area 3) screening before entering the community. Local administration is based on participation from all sectors in the community. Quarantine can be either home quarantine or local quarantine. Hotel quarantine (Alternative Local Quarantine) and 4) management of migrant workers in the area in the service sector, agriculture, fishery and factories. Recommendations for the management of the primary health care system include: 1) Information management should be provided by using an epidemic control model and database that can be linked across the entire system. 2) Strengthen the manpower framework and response plan to assist in the management of emerging disease cases. 3) For patients to receive continuity of treatment, there should be a person who is primarily responsible for 2-way communication coordination between the referral hospital and the subdistrict health promotion hospital. 4) Local government organizations should have a standard system to manage vehicles for the pick-up and delivery of COVID-19 patients and risk groups. 5) Before disseminating information to the public, there should be a system for screening information and knowledge sets should be a channel for distributing information from various knowledge sets to make it easily accessible to the public. 6) As part of community systematic management, subdistrict health promotion hospital should implement the guidelines for controlling the epidemic in a tangible and explicit way. This should be enhanced by participation from all sectors of the community and should enhance communication and leadership skills for the team to perform. 7) Regulations in the category of emergency money for the control of developing disease epidemics should be established by local government/municipal organizations. 8) In the operation of epidemic control operations, the relevant authorities should consider the safety of workers at high risk of infection. 9) A home visit tracking app with two-way communication should be available to provide caregivers with confidence in their ability to care for patients consistently. 10) Caregivers' knowledge and skills in caring for the disabled, the underprivileged, the elderly, and bedridden patients can be enhanced through manuals or online learning resources. And 11) Numerous studies have revealed many agencies' engagement and help in the management of network partners in co - management with primary health care units in the COVID-19 outbreak. Participation with network partners is a major driving factor. Policy Recommendation: 1) The Public Health Region 11 should create and develop a health information platform that connects all 7 provinces to be able to access the system for both personnel and people from all sectors. and publicize them all around. 2) The Public Health Region 11 should have a policy to develop a telemedicine system to manage, control and supervise vulnerable groups. high-risk exposure and COVID-19 patients including the care system for chronic patients in the community. 3) The Public Health Region 11 or the Provincial Public Health Office should organize a training course for developing health leaders in the area with the target group being a network and volunteering in the community to develop competency in community operations 4) The state should establish a clear working policy to protect workers in surveillance, prevention, control and care for COVID-19 patients. both in terms of the adequacy of personnel, duration, protective equipment and budget for management. 5) The state should have a policy for every local government organization to have a public health work group that directly accepts those who have graduated in nursing or public health. To link health operations in the community with understanding, access, speed and pertinence. 6) The Department of Health Service Support should organize training and develop public health volunteers with a curriculum that keeps pace with changes in both subject matters. Emerging diseases, chronic diseases, epidemics and care at all ages 7) The state should establish a system and mechanism for creating and developing network cooperation at the community, district, province and health zone levels with participation of people in all levels and sectors in order to Accuracy, clarity, convenience, speed in practice and encourage volunteers in the area to participate in physical, mental, social and spiritual dimensions.th_TH
dc.identifier.callnoWC503 ว293ข 2564
dc.identifier.contactno64-008
dc.subject.keywordRegional Health Area 11th_TH
dc.subject.keywordเขตสุขภาพที่ 11th_TH
.custom.citationวรัญญา จิตรบรรทัด, Waranya Jitbantad, พิมพวรรณ เรืองพุทธ, Pimpawan Rueangphut, ดลปภัฎ ทรงเลิศ, Dolpaphat Songloed, จิฑาภรณ์ ยกอิ่น, Jithaphon Yok-in, วิเชียร ไทยเจริญ, Wichian Thaicharoen, สุรเชษฐ์ เชตุทอง, Surachet Chetthong, รุจ เรื่องพุทธ and Ruj Rueangphut. "ข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิที่เหมาะสมต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในเขตสุขภาพที่ 11." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5485">http://hdl.handle.net/11228/5485</a>.
.custom.total_download310
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year16
.custom.downloaded_fiscal_year27

Fulltext
Icon
Name: hs2752.pdf
Size: 3.492Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record