บทคัดย่อ
การแพร่กระจายของโรคโควิด-19 ทำให้ประชาชนมีความวิตกกังวลและป้องกันการติดเชื้อโดยการสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างตามวิถีชีวิตใหม่ หากมียาที่สามารถทำลายเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ที่สะสมอยู่ในช่องปากและเยื่อบุจมูกได้รวดเร็วและออกฤทธิ์นานหลายชั่วโมง จะช่วยลดการแพร่เชื้อจากผู้ติดเชื้อหรือป้องกันบุคลากรทางการแพทย์จากการรับเชื้อ ด้วยการค้นคว้าข้อมูลของสารทำลายเชื้อไวรัส พบว่า สารโพวิโดน ไอโอดีน (Povidone Iodine; PVI) ทำลายเชื้อไวรัสหลายชนิดที่ก่อโรคในระบบการหายใจรวมทั้งเชื้อ SARS-CoV-2 ได้ประมาณ 100 เท่าภายใน 30 วินาที สาร PVI คงตัวนานหลายชั่วโมงและไม่ระคายเคืองเซลล์ในเยื่อบุโพรงจมูกและช่องปาก สารนี้มีขายในรูปแบบน้ำยา PVI ล้างแผลและเยื่อบุโพรงจมูกและช่องปาก และมีสเปรย์ PVI ที่ใช้พ่นช่องปากและคอหอย รูปแบบการใช้ดังกล่าวมีจำหน่ายในท้องตลาดมานานกว่า 20 ปีแล้ว ผู้วิจัยจึงได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพของสาร PVI ในการทำลายเชื้อ SARS-CoV-2 ในเยื่อบุโพรงจมูกและช่องปาก เป็นโครงการนำร่องเพื่อตรวจสอบฤทธิ์การทำลายเชื้อในผู้ติดเชื้อก่อนจะทำการศึกษาต่อไปในด้านการป้องกันและการรักษาโรคโควิด-19 ในกลุ่มผู้ป่วย ผู้ติดเชื้อและประชาชน โดยออกแบบการศึกษาให้มีการเปรียบเทียบด้วยตนเอง เช่น โพรงจมูกซ้ายกับโพรงจมูกขวา จำนวนเชื้อก่อนและหลังพ่นสาร PVI ในช่องปากซ้ายและขวาในคนเดียวกัน แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน โดยมีการปรับเก็บตัวอย่างจากตำแหน่งในการศึกษานำร่องแต่ละครั้งเพื่อให้สามารถเพาะเชื้อได้และแสดงผลการทำลายเชื้อของสาร PVI ได้ การศึกษานำร่องสามครั้งในผู้ติดเชื้อ จำนวนทั้งสิ้น 55 ราย พบว่า สามารถตรวจพบรหัสพันธุกรรมในตัวอย่างจากเยื่อบุโพรงจมูกและในช่องปากทั้งที่ลิ้นและคอหอยได้ แต่ขนาดของตัวอย่างที่ให้ผลบวกจะพบได้มากกว่าในตัวอย่างจากเยื่อบุโพรงจมูก การศึกษาครั้งนี้สามารถเพาะเชื้อได้ในเซลล์ vero-E6 จากตัวอย่างที่เก็บจากเยื่อบุโพรงจมูกเท่านั้น ไม่สามารถเพาะเชื้อได้จากตัวอย่างในช่องปากซึ่งเป็นตำแหน่งที่เก็บตัวอย่างได้ง่ายและการศึกษานำร่องตอนแรกจะใช้ตำแหน่งนี้เพื่อแสดงผลการทำลายเชื้อของ PVI แต่ไม่สามารถเพาะเชื้อที่มีชีวิตจากตำแหน่งนี้ได้ในการศึกษานำร่องทั้ง 3 ครั้ง การเพาะเชื้อได้จะพบได้จากตัวอย่างที่มีค่า Ct เท่ากับหรือต่ำกว่า 25 ในการตรวจแบบ RT-PCR และทำการเพาะเชื้อใน 24 ชั่วโมงแรกที่ตรวจพบเชื้อโดยวิธีดังกล่าว ส่วนการศึกษาครั้งที่ 4 ในผู้ติดเชื้อ 14 ราย พบว่า เพาะเชื้อได้ 12 ราย จากตัวอย่างในเยื่อบุจมูก สาร PVI สามารถลดจำนวนเชื้อได้ 1.1 log (median, IQR: 0.6-1.7 log reduction) หรือลดได้ร้อยละ 90.7 (median, IQR: 75.0%-98.0%) ที่ 3 นาทีหลังพ่นยา PVI ในรูจมูก อีก 4 ชั่วโมงต่อมาหลังพ่นสารนี้เข้ารูจมูก ยังคงลดเชื้อได้ 0.8 log reduction (median, IQR: 0.4-1.8 log reduction) หรือลดได้ร้อยละ 81.3 (median, IQR: 56.3%-98.4%) อัตราการลดลงของเชื้อที่มีชีวิตในเยื่อบุโพรงจมูกไม่ได้มีจำนวนมากและไม่ลดรวดเร็วเหมือนที่รายงานจากการศึกษาในหลอดทดลอง การศึกษาครั้งนี้สรุปว่า ตรวจพบเชื้อ SARS-CoV-2 ที่มีชีวิตจากตัวอย่างในเยื่อบุโพรงจมูกด้วยวิธีการเพาะเชื้อโดยใช้เซลล์ vero-E6 ในผู้ที่เพิ่งติดเชื้อและมีค่า Ct น้อยกว่าหรือเท่ากับ 25 จากการตรวจด้วยวิธี RT-PCR เราไม่สามารถเพาะเชื้อจากตัวอย่างใดๆ ในช่องปากได้ สารละลาย PVI ความเข้มข้นร้อยละ 0.4 อาจจะลดจำนวนเชื้อใน 3 นาทีและใน 4 ชั่วโมงหลังการพ่น PVI เข้าไปในเยื่อบุโพรงจมูกได้บ้างแต่ไม่รวดเร็วเท่าผลการศึกษาในหลอดทดลอง จึงอาจจะไม่มีความสำคัญในการใช้ลดการแพร่เชื้อทางคลินิก การพ่นสาร PVI ในความเข้มข้นร้อยละ 0.4 ในเยื่อบุโพรงจมูกหรือช่องปากมีความปลอดภัยสูงและไม่เกิดผลข้างเคียงใดๆ
บทคัดย่อ
The COVID-19 pandemic causes sudden public panic and people take appropriate precautions by wearing masks, physical distancing in public according to new-normal life style. If an antiseptic can exert rapid virucidal effect with prolonged activity on SARS-CoV-2 that accumulate on nasal, buccal and pharyngeal epithelia, it can help prevent the spread of the virus from infected persons to healthy people including medical personnel during resuscitation, treatment or transportation. Numerous existing in vitro data have confirmed that povidone-iodine (PVI) inactivates many common respiratory viruses, including SARS-CoV-2 approximaltely 100 folds in less than one minute of PVI exposure. Povidone-iodine also has good profile for mucosal tolerance in upper aerodigestive tract. Thus, we propose a pilot study to demonstrate its virucidal efficacy of SARS-CoV-2 by the application of topical PVI or diluted solution of PVI to the upper aerodigestive tract in infected patients using the self comparison study design method. The first three serial pilot studies recruited 55 infected patients and illustrated that SARS-CoV-2 could be detected by the RT-PCR in both specimens of nasopharyngeal and throat swabs but the Ct values of throat specimens were usually higher compared to the nasal specimens in the same patient and at the same time of specimen collection. Viable SARS-CoV-2 was detected only from nasopharyngeal specimens with Ct values equal or less than 25 using vero-E6 cells for tissue culture. Viable SARS-CoV-2 cannot be cultured from throat or tongue samples which made oral samples inappropriate for the demonstration of virucidal effect of PVI. The fourth study in 14 patients revealed viable culture was obtained from 12 patients and involved only nasopharyngeal specimens. After 3 minutes of contact time with nasal spray of PVI or 0.4% PVI solution, a median value of 1.1 log reduction of viable viruses (IQR: 0.6-1.7 log reduction) or 90.7% virus reduction (median; IQR: 75.0%-98.0%) were found. After 4 hours of contact, a median value of 0.8 log reduction (IQR: 0.4-1.8 log reduction) or 81.3% virus reduction (IQR: 56.3%-98.4%) were found. The amount of virus reduction after PVI contact and speed of virucidal activity were much less impressive than the results from the in vitro study. In conclusion, we were able to consistently culture viable SARS-CoV-2 in vero-E6 cells only from nasopharyngeal specimens in newly infected patients who had Ct value equal or less than 25 from RT-PCR testing. Viable SARS-CoV-2 can not be cultured from any oropharyngeal samples. Commercial PVI nasal spray or 0.4% PVI solution have minimally, if there is any, virucidal activity in nasal cavities of infected patients after PVI exposure for three minutes and four hours. This level of virucidal activity from the study may not be significant to prevent the spread of COVID-19. The PVI nasal spray and 0.4% PVI solution were very safe, very tolerable without any side effect.