dc.contributor.author | พัชร์วลีย์ นวลละออง | th_TH |
dc.contributor.author | Pachawalee Nuallaong | th_TH |
dc.contributor.author | สุนีย์ วรรธนโกมล | th_TH |
dc.contributor.author | Sunee Wantanakomol | th_TH |
dc.contributor.author | ศิรินภา สันติภานุโสภณ | th_TH |
dc.contributor.author | Sirinapa Santipanusopon | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-03-11T03:24:42Z | |
dc.date.available | 2022-03-11T03:24:42Z | |
dc.date.issued | 2565-01 | |
dc.identifier.other | hs2770 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5503 | |
dc.description.abstract | โควิด-19 แพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง พบผู้ติดเชื้อสูงขึ้นโดยเฉพาะพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor; EEC) เป็นเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุด กลายเป็นมหาวิกฤติทางสาธารณสุข ซึ่งแพทย์และพยาบาลห้องฉุกเฉินเป็นด่านหน้าที่เกิดความเสี่ยงที่ต้องสัมผัสกับเชื้อโรคได้ง่าย ขั้นตอนและกระบวนการทำงานเพิ่มขึ้น เกิดชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน เหนื่อยล้าและเกิดภาวะความบีบคั้นทางใจจนกลายเป็นความเครียด ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตแพทย์และพยาบาลห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในเขตพื้นที่ EEC ประชากรในการศึกษา คือ กลุ่มประชากรเฉพาะเจาะจง ทำการศึกษาจากประชากร จำนวน 400 คน โดยกำหนดเป้าหมายแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) แพทย์ห้องฉุกเฉิน 2) พยาบาลห้องฉุกเฉิน ปฏิบัติงานทั้งประจำและสัญญาจ้างชั่วคราวในห้องฉุกเฉินในช่วงโควิด-19 ในโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนในเขตพื้นที่ EEC วิเคราะห์ข้อมูล ดำเนินการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณโดยเครื่องมือความคิดเห็นต่อปัจจัยต่างๆ ในสถานการณ์ปัจจุบัน (WRQoL) ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตแพทย์และพยาบาลห้องฉุกเฉิน เป็นแบบสอบถามที่ใช้สำหรับประเมินปัจจัยหลักในการวัดคุณภาพชีวิต เก็บข้อมูลจริงได้ จำนวน 472 ราย โดยใช้ทั้งสถิติเชิงพรรณาและสถิติอ้างอิง ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตแพทย์และพยาบาลห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในเขตพื้นที่ EEC ที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ปัจจัยความสัมพันธ์ทางสังคม ได้แก่ ทีมงานที่ช่วยเหลือผู้ป่วยเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ปัจจัยทางจิตวิทยา ได้แก่ มีความภูมิใจในตนเองทุกครั้งที่ดูแลและรักษาผู้ป่วยให้พ้นขีดอันตราย ปัจจัยด้านกายภาพ ได้แก่ งานที่ปฏิบัติมีความเสี่ยงเป็นอันตรายต่อสุขภาพมากเกินไป และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ได้รับค่าตอบแทนความเสี่ยงภัยในช่วงโควิด-19 ล่าช้า และตกเบิกนาน สำหรับผลการวิเคราะห์ระดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตจากสมมติฐาน พบว่า โรงพยาบาลภาครัฐและภาคเอกชนมีปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตแพทย์และพยาบาลห้องฉุกเฉินโดยภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันเพื่อสร้างต้นแบบแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผ่านตามเกณฑ์การประเมินมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าระดับความน่าจะเป็นของไคสแควร์ เท่ากับ .170 ค่าไคสแควร์สัมพัทธ์ เท่ากับ 1.189 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง เท่ากับ .979 และค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของการประมาณค่าความคลาดเคลื่อน เท่ากับ .020 ข้อเสนอแนะ ผลจากการวิจัยนี้ผู้บริหารโรงพยาบาลและหน่วยงานที่ใช้ประโยชน์จากการวิจัยสามารถนำปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตแพทย์และพยาบาลไปปรับใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อสร้างต้นแบบและแนวทางตามบริบทของแต่ละองค์กรให้สอดคล้องกับนโยบายและวัฒนธรรม อีกทั้งสามารถปรับใช้กับหน่วยงานอื่นที่ต้องรับผู้ป่วยวิกฤตและควรศึกษาต่อยอดการพัฒนารูปแบบเสริมสร้างคุณคุณภาพชีวิตของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในแผนกห้องฉุกเฉินภายใต้การระบาดของโควิด-19 | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | COVID-19 (Disease) | th_TH |
dc.subject | โควิด-19 (โรค) | th_TH |
dc.subject | Coronaviruses | th_TH |
dc.subject | ไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.subject | Coronavirus Infections | th_TH |
dc.subject | การติดเชื้อไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.subject | บุคลากรทางการแพทย์ | th_TH |
dc.subject | Medical Personnel | th_TH |
dc.subject | Emergency Room | th_TH |
dc.subject | ความปลอดภัยในการทำงาน | th_TH |
dc.subject | การทำงาน--ความเสี่ยง | th_TH |
dc.subject | Occupational Safety | th_TH |
dc.subject | Quality of Life | th_TH |
dc.subject | คุณภาพชีวิตการทำงาน | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตแพทย์และพยาบาลห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในเขตพื้นที่ EEC | th_TH |
dc.title.alternative | A Study of Factors Affecting Quality of Life of Emergency Room Doctors and Nurses in Public and Private Hospitals Affected by COVID-19 in the EEC Area | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | COVID-19 The epidemic continues to find more infected people, especially in the Eastern Economic Corridor (EEC) area, which is the highest controlled area. There became a public health crisis which doctors, nurses and emergency room are the front line at the risk of being exposed to germs easily. It increased workflows and processes resulting in long working hours. The fatigue and mental stress became stressful. It affects the body and mind both in the short and long term. The purpose of this research was to study the factors affecting the quality of life of emergency room physicians and nurses in public and private hospitals affected by COVID-19 in the EEC area. It is a specific population. The study was conducted from a population of 400 people. The targets were divided into 2 groups: 1) emergency room physicians 2) emergency room nurses. There perform both full-time and temporary contract work in emergency rooms during COVID-19 in public and private hospitals in the EEC area. The analyze data conducting both qualitative and quantitative research. It is a tool to perceive an opinion piece on current situation factors (WRQoL) that affect the quality of work life to measure quality of work life. A total of 472 real data were collected using both descriptive and reference statistics. The study found that the factors affecting the quality of life of doctors and emergency room nurses in public and private hospitals affected by COVID-19 in the EEC area with the highest mean were social relativity factors, including the team that support patients are part of the success. The psychological factors include that I have pride in myself every time and I take care of and keep patients out of danger. The physical factors include work performed with too much risk of harm to health and environmental factors such as receiving compensation for risks during COVID-19 delayed and overwhelmed. The results of the analysis of the importance of factors affecting the quality of life from the hypothesis. It found that there were no significant differences between public and private hospitals in the overall quality of life of physicians and emergency room nurses at the .05 level. There are improving the quality of life passed the assessment criteria were consistent with the empirical data. The probability chi-squared was .170, the relative chi-squared was 1.189, the concordance index was .979, and the mean squared root index of the error estimation was .020. The recommendations were as a result of this research, hospital administrators and agencies that utilize the research can apply factors affecting the quality of life of physicians and nurses to improve quality of life in order to create models and contextual guidelines which on each organization in accordance with the policy and culture. It can also be adapted to other agencies that need to receive critically ill patients and should be studied further developing a model to enhance the quality of life of personnel working in emergency room departments under the COVID-19 outbreak. | th_TH |
dc.identifier.callno | WC503 พ524ก 2565 | |
dc.identifier.contactno | 64-070 | |
dc.subject.keyword | Healthcare Workers | th_TH |
dc.subject.keyword | เขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก | th_TH |
dc.subject.keyword | Eastern Economic Corridor | th_TH |
dc.subject.keyword | ผลกระทบต่อสุขภาพ | th_TH |
dc.subject.keyword | Health Effects | th_TH |
.custom.citation | พัชร์วลีย์ นวลละออง, Pachawalee Nuallaong, สุนีย์ วรรธนโกมล, Sunee Wantanakomol, ศิรินภา สันติภานุโสภณ and Sirinapa Santipanusopon. "การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตแพทย์และพยาบาลห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในเขตพื้นที่ EEC." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5503">http://hdl.handle.net/11228/5503</a>. | |
.custom.total_download | 158 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 0 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 | |