บทคัดย่อ
ข้อมูลประสิทธิผลของวัคซีนในสถานการณ์จริงในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ช่วงการระบาดด้วยสายพันธุ์เดลต้าและโอไมครอนด้วยวัคซีนโควิด-19 มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ได้ทำการศึกษาแบบ test-negative case-control study เพื่อประเมินประสิทธิผลของสูตรวัคซีนต่างๆ สำหรับป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงเวลาที่มีการระบาดด้วยสายพันธุ์เดลต้าและโอไมครอนในประเทศไทย ผู้เข้าแกณฑ์การสอบสวนการติดเชื้อ (PUI) ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ที่รับการตรวจสวอปจมูกด้วย RT-PCR เพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อทุกรายได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมติดตามในโครงการวิจัย เพื่อประเมินประสิทธิผลของวัคซีนด้วยควบคุมปัจจัยลักษณะทางประชากรศาสตร์และทางคลินิกของแต่ละบุคคล ในช่วงการระบาดด้วยสายพันธุ์เดลต้านั้น มีผู้ติดเชื้อจำนวน 1,871 ราย จากจำนวน PUI 4,589 ราย ประสิทธิผลการป้องกันการติดเชื้อของการได้รับวัคซีน CoronaVac สองเข็มและกระตุ้นด้วย BNT162b2 นั้นสูงที่สุด (98%; 95% ช่วงความเชื่อมั่น [CI] 87 ถึง 100) ตามด้วยการได้รับวัคซีน CoronaVac สองเข็มและกระตุ้นด้วย ChAdOx1 nCoV-19 r (86%; 95% CI 74 ถึง 93), การได้รับวัคซีน ChAdOx1 nCoV-19 สองเข็ม (83%; 95% CI 70 ถึง 90), การได้รับวัคซีน CoronaVac 1 เข็มและ ChAdOx1 nCoV-19 1 เข็ม (74%; 95% CI 43 ถึง 88) และการได้รับวัคซีน CoronaVac 2 เข็ม (60%; 95 % CI 49 ถึง 69) ตามลำดับ ส่วนในช่วงระยะเวลาของการระบาดด้วยสายพันธุ์โอไมครอนนั้น มีผู้ติดเชื้อจำนวน 471 ราย จากจำนวน PUI 1,975 ราย ความรุนแรงของโรคลดลงอย่างมากในขณะที่ประสิทธิผลการป้องกันโรคของวัคซีนลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงการระบาดด้วยสายพันธุ์เดลต้า การศึกษาของเราแสดงให้เห็น Vaccine Effectiveness (VE) ที่เพิ่มขึ้นด้วยการเพิ่มจำนวนโดสวัคซีนที่ได้รับ CoronaVac สองขนาดบวกหนึ่งสูตรเสริม BNT162b2 หรือ ChAdOx1 nCoV-19 นั้นมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกัน COVID-19 ในช่วงที่ตัวแปรเดลต้าเพิ่มขึ้น การศึกษานี้แสดงถึงประสิทธิผลการป้องกันการติดเชื้อของวัคซีนที่เพิ่มขึ้นจากการได้รับเข็มกระตุ้นด้วย BNT162b2 หรือ ChAdOx1 nCoV-19 เพิ่มจากการได้รับวัคซีนCoronaVac 2 เข็มในช่วงการระบาดของสายพันธุ์เดลต้า
บทคัดย่อ
Data on real-life vaccine effectiveness (VE) against the delta and omicron variant of COVID-19 infection among COVID-19 vaccine regimens are urgently needed to impede the COVID-19 pandemic. We conducted a test-negative case-control study to assess the VE of various vaccine regimens for preventing COVID-19 during the period when the delta variant and omicron was the dominant causative virus in Thailand. All individuals (age ≥18 years) at-risk for COVID-19 who presented for nasopharyngeal real-time polymerase chain reaction (RT-PCR) testing were prospectively enrolled and followed-up for disease development. Vaccine effectiveness was estimated with adjustment for individual demographic and clinical characteristics. Concerning the period of delta variant, there were 1,871 cases of the total of 4,589. The adjusted VE among persons receiving two-dose CoronaVac plus one BNT162b2 booster was highest (98%; 95% confidence interval [CI] 87 to 100), followed by those receiving two-dose CoronaVac plus one ChAdOx1 nCoV-19 booster (86%; 95% CI 74 to 93), two-dose ChAdOx1 nCoV-19 (83%; 95% CI 70 to 90), one CoronaVac dose and one ChAdOx1 nCoV-19 dose (74%; 95% CI 43 to 88) and two-dose CoronaVac (60%; 95% CI 49 to 69). Concerning the period of omicron variant, there were 471 cases of the total of 1,975. The diseases severity markly decreased while the vaccine effectiveness aso markly decreased, compared to the period of delta variant. Our study demonstrated the incremental VE with the increase in number of vaccine doses received. The two-dose CoronaVac plus one BNT162b2 or ChAdOx1 nCoV-19 booster regimens were highly effective in preventing COVID-19 during the rise of delta variant.